วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก

หน่วยที่ 1 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจกับประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

1. การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ทำให้รู้ถึงการดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจว่ามีพัฒนาการอย่างไร
2. การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ ทำให้มราบถึงความเป็นมาของแนวคิดหรือหลักการทั้งหมดที่บรรดานักคิดเศรษฐศาสตร์ได้คิดขึ้นมา สำหรับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย
3. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ จะทำให้เข้าใจลัทธิเศรษฐกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาได้ ขณะที่ประวัติลัทธิเศรษฐกิจ จะชี้ให้เห็นว่า การแก้ปัญหาเศรษฐกิจแต่ละยุคสมัยนั้นมีแนวคิดหรือหลักการอะไรบ้าง

1.1. การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
1. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ หมายถึง การศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ จะทำให้เราทราบถึงการเปลี่ยนแปลงวิ๔ชีวิตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านความเจริญก้าวหน้าและความเสื่อมถอย อันทำให้สามารถหาข้อสรุปอย่างกว้างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งอาจสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจปัจจุบันอีกด้วย
2. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ เป็นการศึกษาเรื่องราวเศรษฐกิจในอดีต ในขณะที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จะศึกษาและวิเคราะห์เครื่องมือและเทคนิคในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ จะใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงด้านรูปธรรม มากกว่าการศึกษาประวัติศาสตร์โดยทั่วไป
3. การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ประกอบกับการพิจารณาปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่น
4. การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 5 แบบ ได้แก่ แบบทฤษฎีขั้นตอน แบบสถาบันทางเศรษฐกิจ แบบประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแนวใหม่ แบบเปรียบเทียบ และแบบที่เน้นปัจจัยเศรษฐกิจมากเป็นพิเศษ

1.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจทำให้เข้าใจถึงชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมในอดีต และสามารถหาข้อสรุปอย่างกว้าง ๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ตลอดจนสามารถวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันได้อีกด้วย
1.1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และประวัติศาสตร์
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์และสร้างข้อสรุปทั่วไปในการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ขณะที่วิชาประวัติศาสตร์จะให้หลักฐานอื่น ๆ ที่เป็นบริบททางสังคมสำหรับการเข้าใจประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
1.1.3 ขอบเขตและวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจมี 5 แบบ ได้แก่ แบบทฤษฎีขั้นตอน แบบสถาบันทางเศรษฐกิจ แบบประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแนวใหม่ แบบเปรียบเทียบ และแบบที่เน้นปัจจัยเศรษฐกิจมากเป็นพิเศษ

1.2. การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
1. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจหมายถึง การศึกษาความเป็นมาของแนวคิด หรือหลักการทั้งหมดที่บรรดานักคิดทางเศรษฐศาสตร์ได้คิดขึ้นมา เพื่อใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอันใดอันหนึ่ง หรือเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน และการแจกจ่ายแบ่งปันแห่งผลผลิตที่สังคมผลิตขึ้นมาได้ นอกจากนี้การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจจะช่วยชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นั้นมีการเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และยังมีส่วนทำให้เข้าใจแนวคิดหรือทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบันดียิ่งขึ้น
2. ประวัติลัทธิเศรษฐกิจ เป็นการศึกษาถึงบทบาท ความจำเริญก้าวหน้าของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ ตลอดจนบรรดาทฤษฎีและข้อเสนอทางนโยบายของแต่ละ "สำนักคิด" และคุณูปการที่สำคัญของนักคิดแต่ละคนภายใต้บริบทของสำนักเศรษฐกิจ ขณะที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จะเน้นที่การสร้างเครื่องมือและเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่ง
3. การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ จะต้องมีความรู้พื้นฐานของบริบททางสังคมเศรษฐกิจที่เกิดแนวคิดนั้นๆ ขึ้น
4. การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 3 แบบได้แก่ แบบเลือกศึกษาเฉพาะลัทธิเศรษฐกิจการเมืองที่สำคัญๆ แบ่งเป็นแบบ "สำนักคิด" ตามลำดับเวลาของการพัฒนาและแบบยึดตัวบุคคลเป็นหลัก

1.2.1 แนวคิดเกี่ยวกับวิชาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจทำให้มองเห็นว่าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นั้น มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจากยุคหนึ่งสู่อีกยุคหนึ่ง และยังทำให้เกิดความเข้าใจต่อแนวคิดหรือทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบันดีขึ้น

1.2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
ประวัติลัทธิเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่ศึกษาถึงคุณูปการที่สำคัญของนักคิดแต่ละคน ตลอดจนทฤษฎี และข้อเสนอแนะทางนโยบายของแต่ละสำนักคิด ยังศึกษาถึงบทบาท และความเจริญก้าวหน้าของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญอีกด้วย

1.2.3 วิธีการศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจมี 3 แบบ ได้แก่ แบบเลือกศึกษาเฉพาะลัทธิเศรษฐกิจการเมืองที่สำคัญ แบบแบ่งเป็นสำนักคิด ตามลำดับเวลาของการพัฒนาการ และ แบบยึดตัวบุคคลเป็นหลัก

1.3. ความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์เศรษฐกิจกับประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
1. สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจของสังคมในอดีต เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการค้นคิดแนวคิดหรือหลักการทางเศรษฐกิจ
2. แนวคิดหรือหลักการทางเศรษฐกิจ ช่วยให้เราเข้าใจถึงปัญหาทางเศรษฐกิจที่สังคมเผชิญหน้าในแต่ละช่วงที่ผ่านมา และนำไปสู่ประเด็นใหม่ๆ ในการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจด้วย

1.3.1 บทบาทของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่มีต่อประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจซึ่งเป็นการอธิบายสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในอดีตนั้น เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดแนวคิด หรือหลักการทางเศรษฐกิจ ที่มุ่งวิเคราะห์ และแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

1.3.2 บทบาทของประวัติลัทธิเศรษฐกิจที่มีต่อประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
นอกจากแนวคิดหรือประวัติลัทธิเศรษฐกิจ จะช่วยอธิบายถึงความเป็นไป และปัญหาของชีวิตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอดีต ยังนำไปสู่ประเด็นใหม่ ๆ ในการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอีกด้วย

หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

1. สังคมในสมัยกลางได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์มาก โดยมีการเกษตรเป็นอาชีพหลักและใช้ระบบการปรกครองระบบศักดินาหรือแบบเจ้าขุนมูลนาย
2. ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ประกอบด้วยหมู่บ้าน ปราสาท คฤหาสน์และวัง โดยมีการเพราะปลูก การปศุสัตว์ และการป่าไม้เป็นอาชีพสำคัญ ระบบดังกล่าวได้เสื่อมสลายลงในเวลาต่อมา เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ
3. ระบบเศรษฐกิจสมัยกลางได้สลายตัวลงเนื่องจากเกิดเหตุการณ์หลายอย่างที่สำคัญ ได้แก่ การค้นพบดินแดนใหม่ๆ และการเกิดระบบนายทุนซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการฟื้นฟูทางการค้าและลัทธิพาณิชยนิยมที่เป็นต้นเหตุของการเกิดระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ในเวลาต่อมา

2.1. สังคม เศรษฐกิจและการเมืองในสมัยกลาง
1. สภาพทางสังคมในสมัยกลางนั้นความเชื่อและความนึกคิดต่างๆ ได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์มาก โดยสอนศาสนาให้คนไม่มุ่งหวังกำไร ไม่สะสมทรัพย์ และให้ปฏิบัติตามกฏระเบียบของศาสนาอย่างเคร่งคัด
2. ลักษณะทางเศรษฐกิจสมัยกลาง ส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรที่มีขนาดต่างๆกัน แต่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ การค้าขายมักจะกระทำในบริเวณไม่ห่างไกลนัก และการหัตถกรรมเริ่มมากขึ้นในระยะปลายของสมัยกลาง
3. การปกครองตามระบบศักดินาหรือแบบเจ้าขุนมูลนายโดยมีกษัตริย์เป็นเจ้าปกครองเป็นลักษณะสำคัญของการเมืองการปกครองในสมัยกลาง

2.1.1 สภาพทางสังคมในสมัยกลาง
สภาพทางสังคมในสมัยกลางนั้นความเชื่อและแนวคิดต่าง ๆ ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากศาสนาคริสต์ซึ่งสอนให้คนไม่มุ่งหวังกำไร ไม่สะสมทรัพย์สินและปฏิบัติตามกฎระเบียบของศาสนาอย่างเคร่งครัด

2.1.2 ลักษณะทางเศรษฐกิจในสมัยกลาง
ระบบเศรษฐกิจในสมัยกลางมักจะมีสภาพเป็นสังคมการเกษตรที่มีขนาดต่าง ๆ กัน ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้
การอุตสาหกรรมมักจะมีการรวมตัวกันเป็นสมาคมอาชีพเพื่อควบคุมการผลิตสินค้า และทำการผูกขาดการขายสินค้าในตลาดท้องถิ่น
การค้าในดินแดนที่ห่างไกลยังมีน้อยมากและมักจะมีเฉพาะเมืองที่การค้าเป็นอาชีพหลัก เช่น เมือง เวนิช
การเก็บออมและสะสมทรัพย์ในยุคต้น ๆ ถือว่าเป็นข้อห้ามของศาสนาและการเรียกเก็บดอกเบี้ยก็ไม่ควรทำ แต่ความเชื่อเช่นนี้ได้เปลี่ยนไปในปลายสมัยกลาง

2.1.3 การเมืองการปกครองในสมัยกลาง
การปกครองระบบศักดินา หมายถึงการปกครองโดยที่กษัตริย์มอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันกว้างใหญ่ไพศาลให้แก่ขุนนาง และบริวารของขุนนาง เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์

2.2. ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
1. แมนเนอร์มีมาตั้งแต่สมัยโรมันเรืองอำนาจเรื่อยมาจนถึงยุค แองโกล - แซกซอน ในอังกฤษและแพรหลายไปอย่างกว้างขวางในตอนปลายของสมัยกลาง โดยในแมนเนอร์หนึ่งๆ ประกอบด้วย หมู่บ้านมีปราสาทคฤหาสน์และวังสำหรับขุนนางและกษัตริย์ และมีที่ดินเพื่อการเพาะปลูก ปศุสัตว์ และป่าไม้ การเกษตรถือว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด และผู้ที่อาศัยในแมนเนอร์ประกอบด้วยชนชั้นขุนนาง ชนชั้นไพร่ ชนชั้นทาส และชนชั้นอื่น
2. การเพาะปลูกในแมนเนอร์มักใช้วิธีการเพาะปลูกแบบระบบนา 2 ทุ่ง หรือนา 3 ทุ่ง โดยการเพาะปลูกพืชต่างๆ ในทุ่งนาหนึ่งหรือสองทุ่ง และปล่อยที่นาที่เหลือให้ว่างไว้เสมอ เพื่อเป็นการเตรียมไว้เพราะปลูกในปีต่อไป แล้วสลับกันไปเรื่อยๆ สำหรับปีต่อไป
3. วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจในแมนเนอร์ขึ้นอยู่กับการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลักโดยมีการค้าบ้างตามเมืองต่างๆ ส่วนสังคมในแมนเนอร์ขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียมและประเพณีตลอดจนสถานภาพของแต่ละคนที่ถูกกำหนดโดยชั้นของบุคคลที่เขาได้ถือกำเนิดมาในชุมชนนั้น
4. การเสื่อมสลายของแมนเนอร์เกิดจากเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การฟื้นฟูทางการค้าและอุตสาหกรรม การเกิดโรคระบาดใหญ่ การเรียกร้องค่าจ้างสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านการเกษตร การกั้นรั้วเพื่อเลี้ยงแกะ และการเคลื่อนย้ายของพลเมือง เป็นต้น

2.2.1 ลักษณะทั่วไปของแมนเนอร์
ระบบแมนเนอร์ถ้าจะนับแล้วมีมาแต่สมัยจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจในยุโรป และได้เจริญเติบโตและขยายไปยังที่อื่น ๆ ในเวลาต่อมา เช่นไปยังประเทศอังกฤษในสมัยแองโกล-แซกซอน และสมัยกษัตริย์นอร์แมนในกลางศตวรรษที่ 11
ในระบบแมนเนอร์ถือว่าการเกษตรเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญที่สุด เพราะต้องอาศัยผลิตผลจากการเกษตรเพื่อเป็นอาหารของทุกคนในแมนเนอร์
ผู้ที่อาศัยอยู่ในแมนเนอร์หนึ่ง ๆ มักประกอบด้วย
1. ชนชั้นขุนนางหรือเจ้าของแมนเนอร์
2. ชนชั้นไพร่ซึ่งแยกออกเป็น ชนชั้นวิเลนส์และชนชั้นคอททาร์
3. ชนชั้นทาส
4. ชนชั้นอื่น ๆ เช่น เสรีชน ทาส ชาวเมือง และเจ้าหน้าที่บ้านเมือง มักเป็นผู้ที่เข้ามาอาศัยอยู่เป็นครั้งคราวในแมนเนอร์นั้น ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน
ชนชั้นขุนนางเป็นเจ้าของที่ดิน และมอบที่ดินให้ชนชั้นอื่นนำไปเพราะปลูกโดยต้องจ่ายค่าตอบแทน ชนชั้นวิเลนส์ต้องรับใช้คนชั้นขุนนาง ชนชั้นคอททาร์รับจ้างทำงานทั่วไป เสรีชนมีที่ดินของตนเองแต่มีขนาดไม่ใหญ่นัก และมักทำหน้าที่ทำงานรับจ้างทั่วไป ส่วนพวกทาสนั้นเป็นทรัพย์สินของขุนนางและเจ้าของทาสนั้น สำหรับชนชั้นอื่น ๆ มักมีภาระกิจเฉพาะที่อาจต้องเกี่ยวข้องสำพันธ์กับชนชั้นอื่นในแมนเนอร์

2.2.2 การเพาะปลูกในแมนเนอร์
วิธีการเพราะปลูกในระบบแมนเนอร์มักแบ่งออกเป็น 2 วิธี
1. วิธีระบบนา 2 ทุ่ง โดยแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ทุ่ง ปีแรกทำการเพราะปลูกเพียงทุ่งเดียวส่วนอีกทุ่งหนึ่งพักไว้และใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ปีต่อไปก็สลับกัน
2. วิธีระบบนา 3 ทุ่ง โดยแบ่งที่ดินออกเป็น 3 ทุ่ง ทำการเพราะปลูกที่ดินเพียง 2 ทุ่ง แล้วปล่อยพักไว้ 1 ทุ่ง ปลูกพืชต่างชนิดกันแล้วสลับกันไปทุกปี

2.2.3 วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมในแมนเนอร์
วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจในแมนเนอร์ส่วนใหญ่ผูกพันกับการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ โดยอาจมีการค้าบ้างตามเมืองต่าง ๆ การเกษตรกรรมมักกระทำเพื่อการเลี้ยงชีพมากกว่าเพื่อการค้า แต่ก็ได้มีการนำผลิตผลที่เหลือแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นๆ ที่พ่อค้าเร่นำมาขาย
สังคมในแมนเนอร์เป็นไปในลักษณะว่าประชาชนถูกพลังแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีผูกบังคับไว้อย่างมาก ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในชุมชนขึ้นอยู่กับสถานภาพของแต่ละคน ซึ่งกำหนดโดยชั้นของบุคคลที่เขาได้ถือกำเนิดมาในชุมชนนั้น สิทธิและหน้าที่ของแต่ละคนในแมนเนอร์จะเป็นอย่างไรย่อมแล้วแต่ขนบธรรมเนียมในแมนเนอร์ที่กำหนดไว้

2.2.4 การเสื่อมสลาของแมนเนอร์
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบแมนเนอร์ต้องเสื่อมและสลายตัวไปมี
1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชาการ
2. การฟื้นฟูทางการค้า การขยายตัวของอุตสาหกรรมและการตลาด
3. การเกิดโรคระบาดใหญ่
4. การเรียกร้องค่าจ้างสูงขึ้น
5. การเกษตรเพื่อตลาด
6. การล้อมรั้วที่ดิน
7. การเคลื่อนย้ายของประชากร

2.3. การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง
1. สาเหตุการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลางเกิดจาก เหตุการณ์ต่างๆ ได้แก่ การปฏิรูปทางศาสนา การค้นพบดินแดนใหม่ การเกิดระบบนายทุน การเปลี่ยนแปลงระบบการเงิน การฟื้นฟูศิลปะวิยาการ และการเกิดรัฐประชาชาติใหม่ๆ
2. ในระยะต้นของสมัยกลาง การค้าได้เสื่อมลงเนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก การขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนและการรุกรานของพวกป่าเถื่อน แต่ต่อมาการค้าได้ฟื้นฟูขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 เนื่องจากปัญหาและอุปสรรคที่เคยมีอยู่ได้รับการแก้ไข
3. ลัทธิพาณิชยนิยมเป็นระบบหรือลัทธิที่ดำเนินหนักไปไปในด้านการค้าอุตสาหกรรม และการเดินเรือให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ และเกิดขึ้นในทวีปยุโรปหลายประเทศ เช่น สเปน โปรตุเกส และอังกฤษ

2.3.1 การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจสมัยกลาง
เหตุการสำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจสมัยเสื่อมสลายไปในตอนปลายศตวรรษที่ 15 มีดังนี้
1. การปฏิรูปทางศาสนา
2. การค้นพบดินแดนใหม่
3. การเกิดระบบทุนนิยม
4. การเปลี่ยนแปลงระบบการเงิน
5. การฟื้นฟู ศิลป วิทยาการ
6. การเกิดรัฐชาติ

2.3.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านการค้า
การฟุบตัวทางการค้าในสมัยกลางเกิดจากสาเหตุสำคัญของการรุกรานโดยคนป่าเถื่อน และพวกมุสลิม และทำให้ส่งผลกระทบกระเทือนอุตสาหกรรมการเงินของประเทศ
การฟื้นฟูทางการค้าสมัยกลางเกิดขึ้นในอณาจักรไบแซนไทน์ ณ เมือง ไบแซนติอุม หรือกรุงคอนสแตนติโนเปิลหรือปัจจุบันเรียกว่า เมืองอิสตัลบูล เมืองต่าง ๆ ของอิตาลีในทะเลเอเดรียติก แลอิตาลีตอนไต้ตลอดจนในย่านทะเลบอลติก และทะเลเหนือ

2.3.3 การก่อตัวของเศรษฐกิจพาณิชยนิยม
ลัทธิพานิชนิยมเป็นแนวคิดที่เน้นทางด้านการค้าโดยส่งเสริมให้รัฐสร้างเศรษฐกิจขึ้นเพื่อให้ขุมกำลังของชาติมีความแข็งแกร่งทั้งททางด้านเศรษฐกิจและการเมือง การดำเนินการเน้นหนักไปในด้านการค้า อุตสาหกรรม และการเดินเรือเพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้
ลัทธิพาณิชนิยมเกิดขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 16-18 และเกิดขึ้นในหลายประเทศในทวีปยุโรป ได้แก่ สเปน โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษและฝรั่งเศษ


หน่วยที่ 3 การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

1. การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการผลิตในภาคเกษตรกรรมในช่วงปลายสมัยกลางที่สำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการผลิต ระหว่างชนชั้นเจ้าของที่ดินกับไพร่ติดที่ดินในระบบแมนเนอร์ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบทุนนิยมมากขึ้นในรูปของ มีการใช้แรงงานรับจ้างเพื่อการผลิตสู่ตลาด การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และการขยายตัวของเมืองและการค้า
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในช่วงปลายสมัยกลางก่อให้เกิดชุมชนเมือง และเมืองทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าโดยเฉพาะเมืองท่า มีการก่อตัวของชนชั้นกระฎุมพี ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางสังคมเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบทุนนิยม
3. เศรษฐกิจของเมือง มีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับนับแต่ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา เศรษฐกิจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชนบท ชนชั้นกระฎุมพี การผลิตในระบบโรงงาน ผู้ปกครองและสมาคมช่างฝีมือ
4. การวิเคราะห์ความวุ่นวายก่อนการเข้าสู่ระบบทุนนิยม คือ การค้าระหว่างประเทศชะลอตัวลง การเพิ่มประชากรหยุดชะงัก

3.1. การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการผลิตภาคเกษตรกรรมในช่วงปลายสมัยกลาง
1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตตลอดจนเป็นการเพิ่มอุปทานของแรงงานซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการผลิต
2. การเติบโตของเมืองและการค้า นับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 10 เป็นเหตุให้อุปสงค์ต่อแรงงานรับจ้างขยายตัวตามมา จำนวนแรงงานรับจ้างในเมืองเพิ่มขึ้น และ / หรือจำนวนแรงงานในแมนเนอร์ลดลง
3. การขยายตัวของแรงงานรับจ้างในเมือง เกิดจากการเคลื่อนย้ายเข้าสู่เมืองของชาวนา ซึ่งมีแรงดึงดูดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต เช่น การจัดองค์กรการผลิตแบบตลาด การทำหน้าที่ในการโยกย้ายการผลิต เป็นต้น

3.1.1 การเพิ่มประชากรกับโครงสร้างแบบแมนเนอร์
การเพิ่มขึ้นของประชากรมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งในแง่ อุปสงค์ และอุปทาน ในแง่อุปสงค์ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเพิ่มแรงกดดันต่อการเพิ่มผลผลิต และก็เพิ่มอุปทานของแรงงานด้วย

3.1.2 การใช้แรงงานรับจ้างกับความสัมพันธ์ในระบบแมนเนอร์
การเจริญเติบโตของเมืองและกาค้านับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 10 มีผลทำให้อุปสงค์ต่อแรงงานรับจ้างขยายตัวตามมา จำนวนแรงงานรับจ้างในเมืองเพิ่มขึ้นและ/หรือจำนวนแรงงานในแมนเนอร์ลดลง
3.1.3. การขยายตัวของแรงงานรับจ้างในเมือง
การเจริญเติบโตของเมืองและการค้านับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 10 มีผลทำให้อุปสงค์ต่อแรงงานรับจ้างขยายตัวตามมา จำนวนแรงงานรับจ้างในเมืองเพิ่มขึ้นและ / หรือจำนวนแรงงานในแมนเนอร์ลดลง

3.2. การก่อตัวทางการค้า การเปลี่ยนแปลงทางสถาบันทางสังคม และชนชั้นกระฎุมพี
1. การขยายตัวของการค้ามีผลให้เกิดเมืองใหญ่ โดยเฉพาะเมืองต่างๆ และบทบาทของเมืองเริ่มเปลี่ยนแปลงจากการเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและการศาสนากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า
2. การเจริญเติบโตของชนชั้นกระฎุมพี ซึ่งเป็นเสรีชนเป็นภาพสะท้อนของการเจริญเติบโตในระบบทุนนิยม ในระยะแรกชนชั้นกระฎุมพียังไม่มีความเป็นอิสสระเพราะต้องขึ้นอยู่กับชนชั้นศักดินา
3. การเติบโตทางการค้าของระบบทุนนิยม มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถาบันทางสังคม อาทิเช่น การปฏิรูปกฏหมายในระบบศักดินาที่มีลักษณะล้าหลังไปสู่กฏหมายที่เอื้ออำนวยต่อการค้าและลงทุน

3.2.1 การฟื้นตัวทางการค้ากับการเกิดเมืองใหม่และอุตสาหกรรม
การขยายตัวของการค้ามีผลให้เกิดเมืองใหม่และเมืองท่าที่สำคัญ บทบาทของเมืองได้เปลี่ยนจากการเป็นศูนย์กลางทางการศาสนาและการปกครองกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจ

3.2.2 ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา
ชนชั้นกระฎุมพี ได้แก่อิสสระชน อาทิเช่น พ่อค้า ช่างฝีมือที่อยู่ในเมือง ในระยะแรกชนชั้นกระฎุมพียังไม่มี อิสสระเพราะต้องขึ้นต่อชนชั้นศักดินา ต่อมาคือเมื่อการค้าขยายตัว จึงสถาปนาเป็นชนชั้นอิสสระได้

3.2.3 การเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางสังคม เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของระบบทุนนิยม
การก่อตัวของระบบทุนนิยมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสถาบันทางสังคม อาทิเช่น การปฏิรูปกฏหมาย ในระบบศักดินาที่มีลักษณะล้าหลังไปสู่กฏหมายที่เอื้ออำนวยต่อการค้าขายและการลงทุน

3.3. เมือง อุตสาหกรรม และสมาคมช่างฝีมือ
1. การผลิตในยุโรปได้มีการแบ่งแยกกันเด็ดขาดระหว่างเมืองกับชนบท เมืองกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและอุตสากรรมโดยเฉพาะ ในขณะที่ชนบทผลิตแต่เพียงอาหารและวัตถุดิบ ชาวเมืองจะได้รับการปกป้องผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
2. กิจกรรมทางเศรษบกิจที่แสดงลักษณะจำเพาะของเมืองและวิวัฒนาการเข้าสู่ระบบทุนนิยม คือการผลิตทาง อุตสาหกรรม สมาคมช่างฝีมือ มีหน้าที่ในการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้บริโภค
3. สมาคมช่างฝีมือ เป็นองค์กรของผู้ผลิตทางอุตสาหกรรมเพื่อสร้างอำนาจผูกขาดขึ้น และพยายามเข้าควบคุมอำนาจทางการเมืองให้พ้นจากอิทธิพลของเจ้านายในระบบศักดินา นับได้ว่าสมาคมช่างฝีมือเป็นจุดเริ่มต้นของระบบทุนนิยมและเป็นองค์กรที่ทำลายอิทธิพลของระบบศักดินาในยุโรป

3.3.1 ฐานะทางเศรษฐกิจของเมือง
3.3.2 อุตสาหกรรมของเมือง
เศรษฐกิจของเมืองที่มีการแบ่งแยกการผลิตอย่างเด็ดขาดกับชนบท เมืองกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะในขณะที่ชนบทผลิตแต่อาหารและวัตถุดิบ ชาวเมืองจะได้รับการปกป้องผลประโยชน์ในรูป ต่าง ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แสดงลักษณะเฉพาะของเมือง คือ การผลิตทางอุตสาหกรรม

3.3.3 สมาคมช่างฝีมือ
สมาคมช่างฝีมือ เป็นองค์การของผู้ผลิตทางอุตสาหกรรม เพื่อสร้างอำนาจผูกขาด โดยคุ้มครองผลประโยชน์ทางธุรกิจ คือกันการเข้ามาของคู่แข่งขันหน้าใหม่

3.4. วิกฤตการณ์และการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบทุนนิยม
1. ปัจจัยที่มีผลต่อวิกฤติการณ์การเข้าสู่ระบบทุนนิยมในช่วงศตวรรษที่ 14 คือ การค้าระหว่างประเทศชะลอตัว การสำรวจทางทะเลหยุดกับที่ การเพิ่มของประชากรหยุดชะงัก ธนาคารหลายแห่งล้มละลาย ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง
2. การผูกขาดของพวกช่างฝีมือทำให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้น ขอบข่ายการผลิตเพื่อการค้าขยายออกไปยังเมืองใกล้เคียง ขณะเดียวกันสมาคมช่างฝีมือก็มีบทบาทในการควบคุมผู้ปกครองเมืองด้วย และเพื่อรักษาอัตรากำไรไม่ให้ลดลง พวกอุตสาหกรรมได้ขยายตลาดไปยังโพ้นทะเลเพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีราคาถูก และตลาดที่กว้างกว่า

3.4.1 ภันพิบัติและความวุ่นวาย
ปัจจัยที่มีผลต่อวิกฤตการณ์เข้าสู่ระบบทุนนิยมในช่วงศตวรรษที่ 14 คือ การเพิ่มขึ้นของประชากรหยุดชะงัก ธนาคารหลายแห่งล้มละลาย การค้าระหว่างประเทศและผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัว

3.4.2 การผูกขาดของช่างฝีมือ และการเติบโตของทุนนิยม
พ่อค้าร่ำรวยในเมืองได้หลีกเลี่ยงระเบียบการควบคุมของเมืองโดยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับพ่อค้าต่างเมือง ตั้งบริษัทการค้า สาขาตัวแทน และโรงงานในส่วนต่าง ๆ ของยุโรป ซึ่งเป็นคนต่างชาติ ทำให้ไม่ต้องถูกบังคับด้วยกฏระเบียบที่เคร่งครัดที่ใช้กับพ่อค้าในเมือง


หน่วยที่ 4 การปฏิวัติอุตสาหกรรม

1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในอังกฤษ แล้วจึงขยายไปสู่ประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันตก สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยที่เงื่อนไขและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ คือ การเพิ่มขึ้นของการใช้ถ่านหินและเหล็ก บทบาทของรัฐและเอกชน การสร้างทางรถไฟ การสะสมทุน และการเพิ่มขึ้นของประชากร
2. การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีผลกระทบที่สำคัญคือ การเพิ่มของจำนวนประชากรและการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง การเกิดชนชั้นกระฎุมพีอุตสาหกรรมและชนชั้นกรรมาชีพ

4.1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษและในยุโรปตะวันตก
1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในอังกฤษแห่งแรกในโลก โดยแบ่งระยะเวลาออกเป็น 2 ช่วงคือ ประมาณทศวรรษ 1780 จนถึง ค.ศ. 1830 และจาก ค.ศ. 1830 จนถึงประมาณ ๕.ศ. 1910 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรมาเป็นภาคอุตสาหกรรมและจากชนบทสู่เมือง
2. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ คือ การเพิ่มขึ้นของการใช้ถ่านหินและเหล็ก การที่รัฐสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่สนับสนุนให้เอกชนประกอบวิสาหกิจโดยใช้ระบบตลาด ในขณะที่การล่าอาณานิคมสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศของอังกฤษ การสร้างทางรถไปเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ของประเทศสนับสนุนการพัฒนา อุตสาหกรรมเพราะต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยต่ำลง เพราะขนได้ทีละมากๆ อังกฤษมีระดับการสะสมทุนอยู่ในระดับสูงเพราะการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศ และ การเพิ่มขึ้นของประชากรมีผลให้จำนวนอุปทานแรงงานเพิ่มขึ้นและตลาดใหญ่ขึ้น
3. ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้าและขยายเข้าไปในยุโรปและส่วนอื่นๆของโลก ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเยอรมนีคือ ความต้องการใช้ถ่านหินและเหล็กกล้า การพัฒนาคมนาคมภายในประเทศ รวมทั้งบทบาทของทุนและผู้ประกอบการ

4.1.1 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษเริ่มขึ้นประมาณ ศตวรรษที่ 1780 โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ระหว่าง ค.ศ.1780-1830 และ ในช่วงที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1830-1910 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษมีผลสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรมและจากชนบทสู่เมือง ซึ่งมีผลอย่างชัดเจนหลัง ค.ศ. 1850

4.1.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษคือ
1. การขยายตัวของการใช้ถ่านหินและเหล็ก
2. รัฐมีบทบาทน้อยในกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่มีบทบาทมากในกิจการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการค้าระหว่างประเทศ การล่าอาณานิคมและการเดินเรือ
3. การพัฒนาการขนส่งในประเทศโดยสร้างทางรถไฟเชื่อมเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่าต่าง ๆ
4. การสะสมทุนเนื่องจากการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
5. การเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศซึ่งมีผลต่อตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และการเพิ่มขึ้นของอุปทานและแรงงาน
4.1.3 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปตะวันตก
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในเยอรมันนีเกิดจากสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. มีการผลิตถ่านหินและเหล็กกล้าเพิ่มขึ้น
2. มีการสร้างเครือข่ายรถไฟทั่วประเทศ มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในแง่ที่กระตุ้นให้ตลาดภายในประเทศขยายตัวตลอดจนการเชื่อมโยงการขนส่งกับท่าเรือ ซึ่งสนับสนุนการขยายตัวการส่งออกและนำเข้าทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าทุน
3. บทบาทของทุนของผู้ประกอบการ กล่าวคือ มีการระดมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยการตั้งธนาคารหลายแหล่งตลอดจนบทบาทของผู้ประกอบการที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม
4. บทบาทของการศึกษาที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม

4.2. ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป
1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีผลกระทบสำคัญทางเศรษฐกิจคือ มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมากขึ้น เพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้อัตราการตายลดลงและอัตราเกิดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม จากชนบทสู่ความเป็นเมืองมากยิ่งขึ้นเพราะการย้ายถิ่น ทำให้เกิดเมืองใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งบางเมืองกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และแออัด
2. การปฏิวัติอุตสาหกรรม มีผลก่อให้เกิดชนชั้นกระฎุมพี ชนชั้นกระฎุมพีมีอยู่หลายกลุ่มอาทิเช่น นักธุรกิจ กระฎุมพีอุตสาหกรรม กระฎุมพีพ่อค้า ช่างฝีมือ และเจ้าของร้านทั่วไป ชนชั้นกระฎุมพีแต่ละกลุ่มมีบทบาทในการพัฒนาทางเศรษฐกิจแตกต่างกันไป
3. ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ กำเนิดชนชั้นกรรมาชีพในระยะแรกขแงการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีฐานะความเป็นอยู่ยากลำบาก ค่าจ้างต่ำ มีการใช้แรงงานเด็กและสตรี ชั่วโมงการทำงานมาก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 สภาพการดำรงชีวิตของประชาชนและมาตรการความเป็นอยู่ดีขึ้น ชนชั้นกรรมาชีพได้เริ่มมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานมากขึ้น เพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ และชนชั้นกรรมาชีพกลายเป็นชนชั้นที่มีความสำคัญทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ

4.2.1 การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง
การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดผลกระทบดังนี้คือ มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม จากชนบทมาสู่ความเป็นเมืองขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเมืองใหม่ขึ้นมา ซึ่งบางเมืองกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และแออัด

4.2.2 การเกิดชนชั้นกระฎุมพี
ชนชั้นกระฎุมพีพอจะจำแนกได้หลายกลุ่ม อาทิเช่น พวกกระฎุมพีนักธุรกิจ กระฎุมพีอุตสาหกรรม กระฎุมพีพ่อค้า ช่างฝีมือ และเจ้าของร้านค้าทั่วไป ชนชั้นกระฎุมพีแต่ละกลุ่มมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจแตกต่างกันไป

4.2.3 การก่อตัวของชนชั้นกรรมาชีพ
ในระยะแรก ๆ ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมสถานภาพความเป็นอยู่ของชนชั้นกรรมาชีพไม่ถูกสุขลักษณะ คุณภาพชีวิตเสื่อมโทรม ค่าจ้างและรายได้ต่ำ ชั่วโมงการทำงานมากมีการใช้แรงงานเด็กและสตรีในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีมาตรฐานความเป็นอยู่ดีขึ้น สุขภาพพลานามัยความสะดวกสบายจากการปรับปรุงด้านคมนาคม และอัตราการตายลดลง ชนชั้นกรรมาชีพได้เริ่มมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานมากขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ และชนชั้นกรรมาชีพกลายเป็นชนชั้นที่มีความสำคัญทางการเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ


หน่วยที่ 5 สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

1. การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้หลายประเทศแข่งขันกันล่าอาณานิคม มีการกีดกันทางการค้า และการเสาะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและตลาด เพื่อระบายสินค้าทำให้เกิดกรณีพิพาทขึ้น จนทำให้เป็นชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างมากทางเศรษบกิจและปัญหาทางสังคมที่ติดตามมา
2. การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มาจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญได้แก่ การขาดกำลังซื้อ การจำกัดสินเชื่อ การที่ระดับราคาสินค้าพืชผลโดยทั่วไปลดต่ำลง และความยุ่งยากทางการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐบาลได้เข้าแทรกแซงเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
3. ปัญหาความไม่สมดุลของการมีทรัพยากร การขาดแคลนวัตถุดิบและแหล่งตลาดสำหรับสินค้าของบางประเทศ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ จนเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างมากแก้ประเทศทั้งที่ชนะและแพ้สงคราม โดยเฉพาะการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
4. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายประเทศได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น มีการก่อตั้งองค์การหรือสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้นหลายแห่ง และมีการโอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐในหลายๆประเทศ มีการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาการเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ช่วยให้หลายประเทศประสบความสำเร็จในด้านการผลิต

5.1. สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
1. การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในหลายประเทศ ทำให้ประเทศเหล่านั้นหาทางเอาตัวรอด มีการแข่งขันกันล่าอาณานิคมการกีดกันทางการค้า การเสาะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบที่มีราคาถูกและการหาตลาดเพื่อขายสินค้าที่ผลิตได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศขึ้น จนในที่สุดเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในเวลาต่อมา
2. สงครางโลกครั้งที่ 1 ทำให้เกิดผลเสียหายอย่างมากทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่แพ้และที่ชนะสงคราม ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน และทรัพยากรของประเทศไปเป็นจำนวนมาก เกิดปัญหาความยากจนและปัญหาสังคมที่ติดตามมาหลายประการ

5.1.1 วิกฤติการณ์ทางเศราฐกิจของประเทศตะวันตกก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1
การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่ในอังกฤษและประเทศตะวันตกอื่น ๆ และการชิงดีชิงเด่นทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเหล่านั้น ถือได้ว่าเป็นสาเหตุสำคัญก่อให้เกิดวิกฤ๖การณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตก

5.1.2 ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่ ความเสียหายทางทรัพย์สิน กำลังคน กำลังการผลิต ทรัพยากร ผลกระทบทางสังคม ได้แก่ทางด้านจิตใจ ภาวะการว่างงานและการเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้สึก

5.2. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
1. การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดจากสาเหตุสำคัญที่ได้รับความช่วยเหลือจากบางประเทศ และความก้าวหน้าทางด้านต่างๆ
2. การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดจากหลายสาเหตุที่สำคัญได้แก่การที่ประชาชนขาดกำลังซื้อ การจำกัดสินเชื่อของสถาบันการเงิน การที่ระดับราคาพืชผลโดยทั่วไปได้ลดต่ำลง และความยุ่งยากทางการเงินของสหรัฐอเมริกา
3. การแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่ การลดค่าเงินตรา และการเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

5.2.1 การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้หลายประเทศสามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่ (1) ความช่วยเหลือจากบางประเทศที่ไม่ได้รับผลเสียหายจากสงคราม
(2) ความก้าวหน้าในการผลิตของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ
(3) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี

5.2.2 การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีดังนี้ คือ
(1) ประชาชนขาดกำลังซื้อ ทำให้ธุรกิจไม่สามารถขยายการลงทุนได้
(2) สถาบันการเงินได้จำกัดสินเชื่อ ทำให้การลงทุนชะงักงัน
(3) ระดับราคาพืชผลโดยทั่วไปได้ลดต่ำลง ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเดือดร้อน มีหนี้สินมากและไม่สามารถบริโภคสินค้าได้มากพอ
(4) ความยุ่งยากทางการเงินของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ มาก

5.2.3 การแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
วิธีการแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศต่าง ๆ ได้แก่ การใช้มาตรการทางการคลังในรูปของเงินช่วยเหลือ การให้กู้ยืมแก่กิจการต่าง ๆ การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือ การให้กู้ยืมเงินแก่กิจการต่าง ๆ การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือคนว่างงาน การช่วยเหลือเกษตรกรจากภาวะราคาพืชผลตกต่ำ การลดค่าเงินตราเพื่อให้ราคาสินค้าออกถูกลง ราคาสินค้าเข้าแพงขึ้น การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น เช่น มีการวางแผนเศรษฐกิจในหลายประเทศ มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศฝรั่งเศษ

5.3. สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
1. ปัญหาความไม่สมดุลของการมีทรัพยากรของแต่ละประเทศ การขาดแคลนวัตถุดิบของบางประเทศ ตลอดจนความต้องการที่จะหาแหล่งป้อนวัตถุดิบและแหล่งระบายสินค้า ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศจนทำให้เกิดเป็นชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น
2. ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีมากมาย ได้แก่ การเสียชีวิตของทหารและพลเรือน โรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือนถูกทำลายไป การขาดแคลนสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ความอดอยากหิวโหย การเกิดปัญหาเงินเฟ้อ และการว่างงานในเวลาต่อมา

5.3.1 วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในสงครามโลกครั้งที่ 2
ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่นำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ความไม่สมดุลของการมีทรัพยากร การขาดแคลนวัตถุดิบ ตลอดจนความต้องการที่จะหาแหล่งป้อนวัตถุดิบและแหล่งระบายสินค้า สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศจนทำให้เกิดเป็นชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น

5.3.2 ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ผลทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มี
1. การสูญเสียชีวิตทำให้แรงงานลดลง
2. การสูญเสียแหล่งผลิตต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากร
3. การเกิดภาวะเงินเฟ้อทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
(2) ภาวะเงินเฟ้อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ คือ มีผลกระทบต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต คนงาน ผู้มีเงินเดือนประจำ และมีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศมากเพราะระดับราคาสินค้าสูงเกินไป ทำให้ประชาชนไม่สามารถจะหาซื้อสินค้าที่ต้องการได้ ทำให้สินค้าออกมีราคาสูง และอาจไม่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศได้
(3) ค่าปฏิกรรมสงครามมีผลทางเศรษฐกิจต่อประเทศที่ต้องจ่ายคือ ค่าปฏิกรรมสงครามทำให้ต้องเร่งรัดการผลิต ซึ่งถ้าไม่มากเกินไปย่อมเป็นผลดีเพราะช่วยเพิ่มงาน เพิ่มการผลิต ถ้าต้องจ่ายในปริมาณมาก อาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ประเทศยากจนและเศรษฐกิจซบเซาได้

5.4. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
1. ประเทศที่ได้รับความเสียหายอย่างมากจากสงครามได้มีการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ โดยมีการปรับตัวจนฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นมาก มีการเพิ่มขึ้นทั้งรายได้ประชาชาติ ผลิตผลและเงินทุน และฐานะทางด้านตุลาการชำระเงินก็ดีขึ้นจากเดิมมาก
2. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการจัดตั้งสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้นหลายแห่ง เพื่อร่วมมือช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิก และขจัดปัญหาอุปสรรคทางการค้าและความแตกต่างทางด้านอัตราภาษีศุลกากร
3. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่การโอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐในหลายๆประเทศ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาการเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในด้านผลผลิต

5.4.1 การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่ได้รับความเสียหายจากสงครามมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลิตผลเพิ่มขึ้น มีการใช้นโยบาย การบังคับให้ออม ทำให้ทุนเพิ่มขึ้น มีการปรับปรุงมูลค่าของเงินตราใหม่ เพื่อแก้ไขการขาดแคลนดุลการชำระเงินของประเทศ และมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากการแสวงหาอาณานิคม หรือการล่าเมืองขึ้นมาเป็นการแสวงหามิตรประเทศ โดยการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจตลอดจนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ

5.4.2 การกำเนิดสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
สถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งยุโรป [OEEC] เพื่อทำหน้าที่ประมาณการเกี่ยวกับความต้องการต่าง ๆ เป็นแหล่งรวบรวม และเป็นหน่วยวางแผนเศรษฐกิจระดับประเทศสำหรับประเทศสมาชิก และเป็นที่จัดสรรแบ่งปันความช่วยเหลือของประเทศสหรัฐอเมริกา ให้แก่ประเทศสมาชิกต่างๆ องค์การค้าระหว่างประเทศ [ITO] ทำหน้าที่ในการขจัดสิ่งกีดขวางทางการค้าระหว่างประเทศ สหพันธ์การชำระเงินแห่งทวีปยุโรป [EPU] ทำหน้าที่จัดโควตาสำหรับประเทศสมาชิกในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ สมาคมเหล็กกล้าและถ่านหินแห่งยุโรป เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและถ่านหินสำหรับประเทศสมาชิก ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป [EEC] หรือตลาดร่วมยุโรป สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป [EFTA] ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลดอัตราภาษีศุลกากร และการร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก

5.4.3 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศต่างๆ
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ การโอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐในหลาย ๆ ประเทศ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาการ เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ประสพความสำเร็จในด้านการผลิตในหลาย ๆ ประเทศ



หน่วยที่ 6 การเปลี่ยนแปลงและวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

1. หลังทศวรรษ 1960 ประเทศกำลังพัฒนามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น
2. วิกฤติการณ์เศรษฐกิจหลังทศวรรษ 1970 ที่สำคัญได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และผลกระทบอันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์น้ำมัน
3. วิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970 มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา 3 ด้านด้วยกัน คือ ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้มีมากขึ้น ปัญหาการว่างงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน และปัญหาภาระหนี้สินต่างประเทศ

6.1. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา
1. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวอย่างมาก โดยมีปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่การกีดกันทางการค้าอยู่ในระดับต่ำ การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และการสร้างถนนหนทางเพิ่มขึ้น
2. การพัฒนาอุตสาหกรรมมีผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาอย่างมากในด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต การเปลี่ยนแปลโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศ การพัฒนาความด้อยพัฒนา และการเกิดประเทศอุตสาหกรรม

6.1.1 ความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจทุนนิยมโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ การกีดกันทางการค้าอยู่ในระดับที่ต่ำ มีการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และมีการสร้างถนนหนทางต่างๆ มากมาย

6.1.2 การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนาและผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960 มีด้วยกัน 4 ด้าน คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศ การพัฒนาความด้อยพัฒนา การเกิดประเทศอุตสาหกรรมใหม่

6.2. วิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970
1. นับจากทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา เศรษฐกิจโลกเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยมีการลดลงในปริมาณการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม การลดลงในการจ้าง การเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้อ ตลอดจนความเสื่อมถอยของเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา
2. วิกฤติการณ์น้ำมันในทศวรรษ 1970 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงและหลายด้านด้วยกัน ได้แก่ ผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดุลการค้าและดุลการชำระเงินภาวะเงินเฟ้อ ภาวะหนี้ต่างประเทศ และหากกล่าวโดยรวมแล้ว อาจกล่าวได้ว่าเศรษกิจของประเทศกำลังพัฒนาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลกมากกว่าเดิม

6.2.1 แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังทศวรรษ 1970
ลักษณะสภาพเศรษฐกิจตกต่ำหลังทศวรรษ 1970 ได้แก่การลดลงในปริมาณการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม การลดลงในการจ้างงาน การเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้อ ตลอดจนความเสื่อมถอยของเศรษฐกิจอเมริกัน

6.2.2 วิกฤติการณ์น้ำมันในทศวรรษ 1970 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
ผลกระทบทางวิกฤติการณ์น้ำมันในทศวรรษ 1970 ที่มีต่อประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่ผลกระทบที่มีต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดุลการค้า และดุลการชำระเงิน ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะหนี้ต่างประเทศ และหากกล่าวโดยรวมแล้ว อาจกล่าวได้ว่า เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลกมากกว่าเดิม

6.3. วิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1970
1. วิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกทำให้ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนามีเพิ่มมากขึ้น เพราะผลของการจำเญเติบโตมิได้กระจายออกไปถึงสมาชิกของสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งอาจพิจารณาได้จากทั้งกลุ่มประชากรที่จนที่สุดกับรวยที่สุด หรือระหว่างประชากรในเขตชนบทกับเขตเมือง
2. ปัญหาภาวะว่างงาน
3. วิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกทำให้ภาวะหนี้ต่างประเทศ

6.3.1 ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ของประเทศกำลังพัฒนา
ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ได้เพิ่มสูงขึ้นนั้นอาจพิจารณาได้จากทั้งกลุ่มประชากรที่จนที่สุดเทียบกับที่รวยที่สุด หรือระหว่างประชากรในเขตชนบทกับประชากรในเขตเมือง

6.3.2 ปัญหาการว่างงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน
สาเหตุของภาวะการว่างงานเรื้อรังที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา เพราะว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นการผลิตด้านอุตสาหกรรมที่เน้นหนักทุนมากกว่าแรงงาน ไม่สามารถดูดซึมอุปทานแรงงานที่มีอยู่จำนวนมากกว่าในประเทศกำลังพัฒนาได้หมด ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศเหล่านี้บางประเทศยังคงอยู่ในอัตราที่สูง ภาวะการว่างงานย่อมพบเห็นได้เสมอ

6.3.3 ปัญหาภาระหนี้ต่างประเทศ
ปัญหาภาระหนี้ต่างประเทศ สาเหตุสำคัญที่ประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ ไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ได้ อาจเป็นเพราะการลดลงของราคาสินค้าในตลาดโลก การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ทำให้ภาวะเศรษฐกิจอยู่ในภาวะวิกฤติ


หน่วยที่ 7 ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

1. ประเทศสหรัฐอเมริกาพัฒนามาจากประเทศอาณานิคมจนเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจภายใต้ระบบทุนนิยม เริ่มเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรมก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้เป็นผู้นำทาง อุตสาหกรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
2. ประเทศสหภาพโซเวียตรุสเซียพัฒนามาจากประเทศเกษตรกรรมในระบบศักดินาค่อนข้างล้าหลังต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นระบบสังคมนิยมภายใต้เศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางจนถึงการล่มสลายไปในปี ค.ศ. 1991

7.1. สหรัฐอเมริกา
1. อเมริกาในสมัยอาณานิคม ต้องดำเนินการทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ของเมืองแม่ ดำเนินการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ และเป็นตลาดสินค้าอุตสาหกรรมของเมืองแม่
2. หลังสงครามกลางเมืองเป็นช่วงที่อัตราความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ต่อมามีปัญหาด้านแรงงานและการรวมตัวกันทางธุรกิจจนทำให้เกิดสหภาพแรงงาน และกฏหมายต่อต้านการผูกขาดขึ้น
3. หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปลาย ค.ศ. 1929 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่ รัฐบาลได้ใช้นโยบายการดำเนินการแบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจน้อยกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากมีการเตรียมการที่ดีกว่า นอกจากนี้อเมริกาได้ให้เงินช่วยเหลือแก่ต่างประเทศเป็นจำนวนมากภายใต้โครงการมาร์แชลและหน่วยงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ

7.1.1 สภาพเศรษฐกิจสมันอาณานิคมจนถึงสมันสงครามกลางเมือง
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ลักษณะทั่วไปของการเกษตรในสมัยอาณานิคม ส่วนมากเป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง โดยใช้เครื่องมือที่นำมาจากยุโรป และความรู้ที่ได้จากอินเดียนแดง ปลูกข้าว ข้าวโพด ยาสูบ ถั่ว แตงโม มีการผลิตเพื่อการค้าบ้างทางไต ทำการปลูกข้าว ยาสูบและคราม
ข้อแตกต่างระหว่างการค้าต่างประเทศของอาณานิคมตอนไต้กับอาณานิคมนิวอิงแลนด์ คือ ทางไต้ - ซื้อขายแลกเปลี่ยนกับอังกฤษ นิวอิงแลนด์ - ทำการค้ากับหลายประเทศ กับยุโรปตอนไต้และอาณานิคมอื่น ๆ และดำเนินการทางด้านการขนส่งสินค้า
หลักการสำคัญของ พ.ร.บ. ต่างๆ เป็น กฎหมาย ที่อังกฤษเรียกเก็บภาษีจากอาณานิคมอเมริกา
พ.ร.บ. น้ำตาล - เก็บภาษีเพิ่มขึ้นจาก น้ำตาล ผ้าลินิน ไวน์ และอื่น ๆ
พ.ร.บ. แสตมป์ - เก็บจากเอกสารต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์
พ.ร.บ. - เทาน์เซนด์ เก็บภาษีขาเข้าจากแก้ว สี กระดาษ และชา
สาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายไต้ คือ ความรู้สึกเป็นชาติ และเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ถูกเอาเปรียบจากประเทศอังกฤษ
ผลของสงครามกลางเมืองทำให้ ระบบทาสถูกทำลายไป เกิดเงินเฟ้อ และมีการพัฒนาอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมขนานใหญ่

7.1.2 สภาพเศรษฐกิจหลังสงครามกลางเมืองจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
พัฒนาการของเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของอเมริการะหว่างหลังสงครามกลางเมืองจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการใช้เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม อเมรกาในช่วงนี้ได้เปลี่ยนจากชาติเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม สำหรับเกษตรกรรมที่มีปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และควบคุมการผลิตสินค้าได้ยาก จึงได้มีความเคลื่อนไหวเป็นองค์การต่างๆ เพื่อเรียกร้องทางเศรษฐกิจ
การรวมกลุ่มของธุรกิจมีผลดี คือ ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหาร ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ ลดการแข่งขันลงได้ และสามารถให้เงินอุดหนุนวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้น ส่วนผลเสียได้แก่ การผูกขาดอาจทำให้ราคาสูงขึ้น เกิดการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม บริษัทใหญ่ทำลายบริษัทเล็ก การเก็งกำไรโดยการปั่นหุ้น
ความเคลื่อนไหวของกรรมกรในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการรวมตัวกันเรียกร้องเรื่อง ค่าจ้างแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน สวัสดิการ และสภาพการทำงาน ตัวอย่างเช่น สหภาพแรงงานแห่งชาติ อัศวินแรงงาน สหพันธ์แรงงานอเมริกัน

7.1.3 เศรษฐกิจสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงทศวรรษ 1980
สาเหตุของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เพราะรายได้เกษตรกรต่ำลง การลงทุนน้อยลง ความต้องการสินค้าและบริการมีน้อยลง
นโยบายนิวดีน เป็นนโยบายที่รัฐบาลเข้าไปมีบทบาทในทางเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งในด้านการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม การเงินและการธนาคาร การสร้างงาน การประกันสังคม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่ เนื่องจากเกิดปัญหาในการปรับตัวของเศรษฐกิจภายหลังสงคราม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะเงินเฟ้อแต่ไม่รุนแรงนัก

7.2. สหภาพโซเวียตรุสเซีย
1. สภาพเศรษฐกิจในสมัยแรกเริ่มส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม ซึ่งการผลิตค่อนข้างล้าหลังและการจัดระบบเศรษฐกิจเป็นรัฐทรราชย์ตะวันออก มีซาร์เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดในรัสเซียทำให้ชาวนาเป็นไพร่ของรัฐ แต่ในทางปฏิบัติ ชุมชนชาวนาจะเป็นผู้ครอบครองที่ดินและแบ่งปันให้ชาวนาไปใช้ประโยชน์
2. ใน ค.ศ. 1861 ได้มีการประกาศเลิกทาส และประเทศพัฒนาด้านอุตสาหกรรมทำให้เกิดชนชั้นนายทุน และชนชั้นแรงงานในขณะเดียวกันความคิดเสรีนิยมเริ่มแพร่หลายในหมู่ประชาชน ภายหลังสงครมโลกครั้งที่ 1 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้อ ทำให้ชนชั้นชาวนาและกรรมกรอดหยาก ก่อการจราจลเนืองๆ ในที่สุดได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบทุนนิยมเป็นสังคมนิยมใน ค.ศ. 1917
3. ภายหลังการปฏิวัติบอลเชวิค ปลาย ค.ศ. 1917 รัฐบาลโซเวียตโดยพรรคบอลเชวิคเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมาก ซึ่งมีเลนินเป็นผู้นำ ได้มีมาตรการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ นโยบายสงครามคอมมิวนิสต์ และนโยบายเศรษฐกิจใหม่
4. นโยบายสงครามคอมมิวนิสต์ เป็นนโยบายที่ยกเลิกกรรมสิทธิ์ต่างๆของเอกชนส่วนใหญ่มาเป็นของรัฐ และบังคับเกณฑ์เอาผลิตผลส่วนเกินทางการเกษตรจากชาวนามาเป็นของรัฐ และแบ่งผลิตผลอุตสาหกรรมของรัฐไปให้แก่ ชาวนา ยกเลิกระบบเงินตราหันไปใช้วิธีปันส่วนจากรัฐบาล ส่วนนโยบายเศรษฐกิจใหม่ เป็นนโยบายที่ยอมรับการดำเนินของระบบตลาดเข้ามาประยุกต์ใช้กับระบบสังคมนิยม หันมาใช้ระบบเงินตรา และได้ยินยอมให้เอกชนมีโอกาสเป็นเจ้าของโรงงานขนาดเล็ก
5. สหภาพโซเวียตรุสเซียได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ ค.ศ. 1928 โดยมีแผน 5 ปี ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 6 แผนฉบับที่ 7 มีระยะเวลา 7 ปี และต่อมาได้มีแผน 5 ปี จนถึงแผน 5 ปีฉบับที่ 11 ซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1981-1985
6. แผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับแรกๆ เน้นความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักเพื่อปูทางสำหรับการพัฒนา อุตสาหกรรม ฉบับหลังๆ ได้เน้นถึงอุตสาหกรรมประเภทอุปโภคและบริโภคมากขึ้นเพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน
7. ใน ค.ศ. 1985 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ในยุดของกอรณบาชอฟเรียกว่าการปฏิรูปเปเรสตรอยกา ต่อมาใน ค.ศ. 1991 ได้มีการประกาศยกเลิกสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการและได้เริ่มต้นเครือจักรภพรัฐอิสระภายใต้การนำของเยลด์ซิน โดยมีการปฏิรูปไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด

7.2.1 สภาพเศรษฐกิจทั่วไปก่อนการปฏิวัติ
ลักษณะของการเกษตรกรรมของรุสเซียก่อนการปฏิวัติ ใช้ระบบนา 3 ทุ่ง แบบยุโรปตะวันตก และการเพราะปลูกใช้วิธีการล้าหลังอยู่ ไม่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ
หลักการของพรรคการเมืองที่นิยมในความคิดของมาร์ก ได้แก่พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย มีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงในระบบทุนนิยมมาเป็นสังคมนิยมนั้นจะต้องมีการปฏิวัติระบบนายทุนโดยชนชั้นกรรมมาชีพ แต่ต่อมาได้แยกออกเป็น เมนเชวิค และบอลเชวิค

7.2.2 การเปลี่ยนผ่านสู่ ระบบสังคมนิยม
นโยบายสงครามคอมมิวนิสต์ เน้นการบังคับเอาผลิตผลจากชาวนา ในขณะที่นโยบายเศรษฐกิจใหม่ยอมให้มีระบบตลาด และหันไปใช้วิธีเก็บภาษีจากผลิตผลแทน
เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อมีการใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ทำให้ราคาผลิตผลเกษตรกรรมลดลง ในขณะที่ราคาผลิตผลอุตสาหกรรมสูงขึ้น และท้ายที่สุดนำไปสู่วิกฤตการณ์กรรไกร

7.2.3 เศรษฐกิจภายใต้การวางแผน
การใช้ระบบนารวมในสหภาพโซเวียต เป็นการจัดระบบเกษตรกรรมเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น ใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตมากขึ้น โดยทำการรวมนาให้เป็นที่ดินผืนใหญ่ ซึ่งแแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นารวม และ นารัฐ นารวมได้แก่ การรวมนาเล็ก ๆ เข้าด้วยกันในรูปสหกรณ์ ส่วนนารัฐได้แก่ นาที่รัฐเป็นเจ้าของและดำเนินงานโดยตรง
การบุกเบิกที่ดินที่ไม่เคยนำมาใช้ในการเพราะปลูก มีขึ้นในสมัยครุสชอฟ เพื่อที่จะเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร แต่ไม่ได้ผลมากนัก เพราะที่ดินแห้งแล้ง ขาดการชลประทาน ไม่เหมาะแก่การเพราะปลูก จึงได้ผลิตผลที่ตกต่ำ
หลักการของ ลิเบอร์มาน ใช้ระบบคำนวณเงินโบนัสตามกำไรแทนความรวดเร็วในการส่งมอบการผลิต และใช้หลักกำไรวัดประสิทธิภาพในการประกอบการ
การดำเนินงานตามแผนเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดในการพัฒนาอุตสาหกรรม คือแผนเศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับที่ 2


หน่วยที่ 8 การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

1. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจเอเชียมีวิวัฒนาการที่ต่างจากยุโรป เพราะกำเนิดระบบทุนนิยมมาจากภายนอก มิได้มีวิวัฒนาการจากระบบภายในเองยกเว้นญี่ปุ่น ทำให้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงมีการคงสิ่งเก่าตกค้างไว้เป็นอันมากในช่วงเวลาที่ยาวนานดังปรากฏในกรณีของของจีนและไทย
2. ในระบบกึ่งทุนนิยมกึ่งศักดินา มีปัญหาพันธนาการดั้งเดิมที่ยังไม่ได้แก้ไขแม้เวลาล่วงเลยมานาน ทำให้ปัญหาที่ดิน ปัญหาชาวนาคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีการพัฒนาของชนชั้นกระฎุมพีจากภายใน ทำให้ขาดการปฏิวัติประชาธิปไตยจึงมีแรงกดดันในประเทศเหล่านี้ ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการปฏิวัติเช่นที่เกิดในประเทศจีน
3. ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พัฒนาสำเร็จเป็นทุนนิยมอุตสาหกรรม เพราะญี่ปุ่นมีรากฐานของการขยายตัวทางการค้า การศึกษา และพัฒนาการของอุตสาหกรรมพื้นบ้านมาตั้งแต่ก่อนเปิดประเทศ การแทรกแซงจากภายนอกจึงเป็นเพียงตัวกระตุ้นพัฒนาการทุนนิยมของญี่ปุ่นให้ก้าวกระโดดเร็วยิ่งขึ้น
4. เศรษฐกิจของอินเดีย ถูกครอบงำโดยภาคเกษตรล้าหลังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเศรษฐกิจทันสมัยได้ เนื่องจากอุปสรรคที่เกิดจากทั้งระบบปกครองที่อังกฤษนำมาใช้ และโครงสร้างพื้นฐานเดิมของสังคมชนบท ซึ่งผูกพันกับโครงสร้างทางสังคมแบบวรรณะและขาดชนชั้นกระฎุมพีที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทุนนิยม
5. ไทยอยู่ภายใต้ระบบศักดินา มาเป็นเวลาช้านาน มีแรงเกาะแน่นสูงระดับหมู่บ้าน มีการรวมศูนย์อำนาจกลไกรัฐ ขาดพ่อค้าอิสระพื้นเมือง ทำให้พัฒนาการสู่ทุนนิยมจากภายในต้องชะงักงัน ทุนนิยมที่ปรากฏในเศรษฐกิจไทยเป็นทุนนิยมต่างชาติที่ยังไม่มีพลังพอที่จะเปลี่ยนระบบศักดินาไทยได้อย่างสิ้นเชิง ระบบเศรษฐกิจการเมืองไทยจึงยังคงเป็นกึ่งศักดินากึ่งทุนนิยม

8.1 ญี่ปุ่น
1. ญี่ปุ่นมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ราชวงค์เดียวกันได้ครองญี่ปุ่นมาช้านานประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมีความต่อเนื่องสูง วัฒนธรรมและประเพณีสืบต่อหลายชั่วอายุคน แม้ว่าระบบเศรษฐกิจจะเปลี่ยนจากก่อนศักดินาเป็นศักดินาและทุนนิยม ก็ตาม
2. ในสมัยโทกูกาวา มีช่างหัตถกรญี่ปุ่นที่มีการผลิตที่เฟื่องฟู มีพ่อค้าในเมืองค้าขายข้าวและมีพ่อค้าท้องถิ่นในชนบท อีกทั้งปัญญาชนคือซามูไรก็เปิดรับการศึกษาจากตะวันตก สภาพภายในของญี่ปุ่นจึงพร้อมอยู่แล้วสำหรับการเปลี่ยนแปลงระบบทุนนิยมอุตสาหกรร
3. หากเปรียบเทียบกับยุโรปตะวันตกแล้ว ขบวนการเปลี่ยนแปลงระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเกิดขึ้นโดยสันติภาพ แต่กรรมกรและชาวนาญี่ปุ่นก็ต้องแบกรับภาระหนักกว่ากรรมกรยุโรปในช่วงต้นของการเปลี่ยนแปลง เพราะชนชั้นศักดินาเดิมประนีประนอมกับชนชั้นกระฎุมพีทำให้ไม่ต้อวอาศัยพลังมวลชนในการเปลี่ยนระบบ
กระฎุมพีน้อยคือ ปัญญาชน นักศึกษา ผู้ค้าเร่ ลูกจ้างเอกชนและรัฐบาล ผู้มีอาชีพอิสระ กระฎุมพีแห่งชาติคือ นายทุนชั้นกลางสะสมทุนมาเองไม่ได้พึ่งต่างชาติหรือระบบราชการ

8.1.1. ก่อนสมัยศักดินา
8.1.2. ระบบศักดินา
8.1.3. กำเนิดระบบทุนนิยม
ชนชั้นซามูไรเดิมเป็นนักรบ แต่ในช่วงสันติภาพคริสต์ศตวรรษที่ 17-19 เป็นปัญญาชนและนักปกครอง เป็นผู้ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูเมจิ ผลักดันให้รัฐสนับสนุนนักอุตสาหกรรมรวมทั้งเป็นผู้บริหารกิจการอุตสาหกรรมเอง ในการเปลี่ยนสู่ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม เปรียบเทียบกับชนชั้นศักดินายุโรปแล้ว ชนชั้นซามูไรของญี่ปุ่นปรับตัวเองเข้าสู่สมัยใหม่แและพัฒนาการอุตสาหกรรมได้ โดยเป็นผู้ทำการปฏิรูปการปกครองและเป็นผู้บริหารธุรกิจสมัยใหม่ ขณะที่ชนชั้นศักดินายุโรปส่วนใหญ่เป็นปฏิปักษ์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
ชาวนาและกรรมกรญี่ปุ่นต้องรับภาระเสียสละส่วนเกินเพื่อการสะสมทุนอุตสาหกรรมมากกว่าชาวนาและกรรมกรยุโรปตะวันตก เพราะชนชั้นศักดินาเดิม (ซามูไร) ร่วมกับชนชั้นกระฎุมพีทำการพัฒนาอุตสาหกรรม ชนชั้นกระฎุมพีจึงไม่ต้องอาศัยเอาใจกรรมกรและชาวนา ทั้งที่ญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาที่หลัง ต้องการพัฒนาให้เร็วกว่ายุโรป
เปรียบเทียบความแตกต่างของระบบศักดินาในยุโรปกับโทกูกาวา เปรียบเทียบกันในแง่ที่ว่า ในญี่ปุ่น ไม่มีการต่อสู้รุนแรงระหว่างสองชนชั้น รัฐบาลญี่ปุ่นช่วยพัฒนาชนชั้นกระฎุมพี การสะสมทุนอุตสาหกรรมไม่ได้อาศัยพลังมวลชนในการเปลี่ยนระบบและมีมาตรฐานการครองชีพค่อนข้างต่ำ

8.2. จีน
1. ชนชั้นผู้ดีของจีนมีลักษณะอนุรักษ์นิยม ผูกพันกับผู้ปกครอง เป็นเจ้าของที่ดินนับถือปรัชญาของขงจื้อ ซึ่งเน้นความจงรักภักดีต่อผู้มีบุญคุณ ชนชั้นนี้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสู่ทุนนิยม
2. พรรคกว๋อหมินตั๋ง มิได้แก้ไขปัญหาชนบท ไม่ได้ล้มเลิกพันธนาการศักดินาทำให้ประสบความล้มเหล็ว ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจีนคือหลังจากที่พรรคกว๋อหมินตั๋งล้มราชวงศ์ชิงไปแล้ว ในช่วงเปลี่ยนผ่านพรรคนำประเทศจีนสู่ระบบทุนนิยมไม่สำเร็จ ทั้งยังคงรักษาพันธนาการศักดินาเดิมและพรรคกลับเข้าร่วมกับพวกขุนศึก ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ช่วงชิงการเป็นผู้นำชาวนาได้สำเร็จ และเอาชนะพรรคกว๋อหมินตั๋งได้
3. พัฒนาการอุตสาหกรรมของจีนต่างกับของโซเวียตรุสเซีย แม้จะเป็นการพัฒนาการภายใต้ระบบสังคมนิยมด้วยกัน เพราะกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมของจีนมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปประนีประนอมกับชาวนา ไม่ขูดรีดส่วนเกินจากชาวนามาเป็นฐานอุตสาหกรรมมากเท่ากับโซเวียตรุสเซีย

8.2.1 สังคมเศรษฐกิจภายใต้ราชวงศ์ชิง
8.2.2 ระยะเปลี่ยนผ่าน
8.2.3 สังคมเศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชนชั้นผู้ดีจีน คือผู้สอบไล่ทางการได้ รู้ปรัชญาขงจื้อ ได้รับตำแหน่งราชการ เป็นเจ้าของที่ดิน เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการสังคมเพราะไม่มีความคิดที่ก้าวหน้า รักษาระเบียบประเพณีและผลประโยชน์แบบศักดินาของตน
พรรคกว๋อหมินตั๋งล้มเหล็วในการเปลี่ยนแปลงสังคมเศรษฐกิจจีนให้เป็นอุตสาหกรรม เพราะไม่สามารถขจัดปัญหาพันธนาการศักดินาในชนบทได้ปล่อยให้ขุนศึกและชนชั้นผู้ดีคงเป็นเจ้าของส่วนเกิน ส่วนในเมืองก็เป็นฝ่ายทุนนิยมนายหน้าและผูกขาด ได้ส่วนเกินจากการใช้อำนาจรัฐมากกว่าประสิทธิภาพ
ความแตกต่างของระบบศักดินาจีนและระบบศักดินาญี่ปุ่น คือ ระบบศักดินาจีนขาดชนชั้นกระฎุมพีอิสสระ ในขณะที่ญี่ปุ่นมีชนชั้นนี้อยู่คือพ่อค้าและช่างซึ่งได้พัฒนาการค้าและหัตถกรรมไปพอสมควร เป็นรากฐานระบบนายทุนแล้ว อีกทั้งชนชั้นผู้ปกครองของระบบศักดินาจีนมีความคิดแคบ ติดอยู่กับปรัชญาและการศึกษาแบบขงจื้อ ไม่คิดปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ไม่รับวิทยาการตะวันตก ขณะที่ชนชั้นปกครองญี่ปุ่นคือพวกซามูไรรับวิทยาการตะวันตกและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่มาถึงได้
พัฒนาการอุตสาหกรรมของจีนต่างจากโซเวียต คือพัฒนาอุตสาหกรรมจีนเป็นไปล่าช้ากว่าโซเวียตเพราะพรรคคอมมิวนิสต์จีนประณีประนอมกับชาวนามากกว่ากระบวนการพัฒนา

8.3 อินเดีย
1. ราชวงศ์โมกุล เป็นผู้นำอำนาจในการปกครองในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สมัยใหม่ของอินเดีย ซึ่งไม่เอื้อต่อการเติบโตของประชาธิปไตยทางการเมือง และการเติบโตของระบบเศรษฐกิจตามทิศทางของโลกทุนนิยมตะวันตก ชุมชนหมู่บ้านเป็นแบบผูกขาด การผลิตไม่มีส่วนเก็บไว้สะสมเพราะระบบภาษีของรัฐบาลโมกุล และระบบสังคมชาวนาที่สัมพันธ์กันภายใต้ระบบวรรณะ
2. ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 อังกฤษมีบทบาทในอินเดียในทางการค้า และการกอบโกยทรัพยากรผ่านบริษัทอินเดียตะวันออก ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 19 ได้เข้าครอบครองอินเดียทั้งหมดจัดระบบการปกครองแบบราชการรวมทั้งการจัดตั้งเขตปกครองถาวร ทำให้เจ้าของที่ดิน และนายทุนเงินกู้ดูดซับส่วนเกินของผลผลิตไปโดยไม่นำไปใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรม นอกจากนี้การนำเข้าสิ่งทอจากอังกฤษ ทำให้อุตสาหกรรมในประเทศพังทะลายพังทะลายไปอีกด้วย
3. หลังจากได้รับเอกราชในปี 1947 ภาคเกษตรกรรมของอินเดียไม่ได้พัฒนามากนัก ได้มีการวางแผนพัฒนา 5 ปี โดยกรรมการวางแผนแห่งชาติ โดยผ่านโครงการพัฒนาชุมชน แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตมากนัก เพราะการวางแผนโดยอาศัยการโน้มน้าวให้เกิดความเห็นพ้องแบบประชาธิปไตยเป็นไปอย่างเชื่องช้า

8.3.1 อำนาจรัฐ หมู่บ้าน และการเติบโตของชนชั้นกระฎุมพี
8.3.2 การเข้าครอบครองของอังกฤษ
8.3.3 เอกราชกับความสูญเสียที่เกิดจากวิถีการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ
ปัจจัยที่ขัดขวางความเปลี่ยนแปลงสังคมหมู่บ้านสมัยใหม่ของอินเดีย คือ
1. ชนชั้นสูง
2. สถาบันทางการเมือง
3. ความล้าหลังทางการผลิต
4. ความเฉื่อยชาทางการเมืองของชาวนา
การเปลี่ยนแปลงจากระบบการปล้นสะดมทรัพยากรไปสู่ระบบราชการของอังกฤษก่อให้เกิดลักษณะสำคัญ 3 ประการในประเทศอินเดียคือ
1. เกิดการก่อตัวของเกษตรเพื่อการค้า
2. เกิดการล่มสลายของงานหัตถกรรมบางส่วน
3. เกิดความพยายามที่ปลดแอกการปกครองของอังกฤษด้วยการก่อขบถ
ในสมัยเนรูห์อินเดียมี นโยบายหลักด้านเกษตรกรรมของอินเดีย ยังคงเป็นเช่นเดียวกับสมันอินเดียถูกอังกฤษยึดครอง และยังมีนโยบายที่สำคัญคือ การแก้ปัญหาที่ดินในชนบท และการทุ่มเทความพยายามกระตุ้นผลผลิตของชาวนา โดยผ่านโครงการพัฒนาชุมชน

8.4. ไทย
1. พื้นฐานของสังคมไทยคือชุมชนหมู่บ้านที่มีแรงเกาะแน่น ผลิตพอยังชีพ และสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รัฐได้แผ่อำนาจเข้าครอบครอง และเรียกเอาส่วยจากหมู่บ้านเหล่นนี้เกิดเป็นระบบศักดินา
2. ชนชั้นพ่อค้าพื้นเมืองของไทยค้าขายเป็นฤดูกาล ยังคงสลัดไม่พ้นจากที่ดิน และใช้ส่วนเกินในทางศาสนาและประเพณี ทำให้เกิดพัฒนาการของชนชั้นกระฎุมพีพื้นเมืองในประเทศไทย
3. ทุนนิยมเข้ามาสู่เมืองไทยจากภายนอก ทำให้การผลิตพอยังชีพและส่งส่วยเปลี่ยนเป็นผลิตเพื่อขาย มีอิทธิพลต่อการค้ากับต่างประเทสของไทย และสนับสนุนการเจริญเติบโตของนายทุนชาวจีน ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทำลายระบบศักดินาหมดไป ทำให้เกิดระบบศักดินาผสมด้วยทุนนิยม ซึ่งมีพัฒนาการสู่สังคมอุตสาหกรรมอย่างช้าๆ

8.4.1 จากชุมชนหมู่บ้านเป็นระบบศักดินา
8.4.2 ระบบศักดินา
8.4.3 ระบบศักดินาผสมด้วยระบบทุนนิยม
การไม่เกิดชนชั้นกระฎุมพีพื้นเมืองในระบบศักดินาไทย เพราะแรงเกาะแน่นของชุมชนหมู่บ้านและการขูดรีดส่วนเกินแบบรวมศูนย์ของระบบศักดินาไทย
ทุนนิยมในประเทศไทยมีลักษณะเด่นในด้าน ที่เป็นทุนนิยมเข้ามาจากภายนอก มีอิทธิพลในการครอบงำการแลกเปลี่ยน ลงไปจัดการในการผลิตเป็นส่วนน้อย เป็นทุนการค้ามากกว่าอุตสาหกรรม


หน่วยที่ 9 แนวคิดก่อนคลาสสิก

1. แนวคิดพาณิชยนิยมคือ การที่ประเทศจะรุ่งเรืองได้นั้น จะต้องมีการค้ากับต่างประเทศและมุ่งหวังการทำการค้าแบบเกินดุล เพื่อให้ทองคำและเงินไหลเข้าประเทศ แนวคิดพาณิชยนิยมเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 จนกระทั่งกลางศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มเสื่อมสลายเพราะมีแนวคิดทฤษฎีอื่นมาโจมตี
2. แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม ซึ่งมีนักคิดที่สำคัญ 2 ท่าน คือ เพตตี และแคนทิลลอน ได้ให้แนวคิดพื้นฐานเศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ ทฤษฎีมูลค่า ราคา ค่าเช่า
3. นักธรรมชาตินิยมมีแนวคิดพื้นฐานเศรษฐกิจในลักษณะระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะดำเนินไปตามตารางเศรษฐกิจ การผลิตได้เน้นความสำคัญของการผลิตด้านเกษตรกรรมซึ่งจะมีผลผลิตสุทธิและการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล นักธรรมชาตินิยมเสนอให้จัดเก็บภาษีเดี่ยวจากขุนนาง

9.1. แนวคิดพาณิชยนิยม
1. ในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชยนิยม ประชากรมีอาชีพการเกษตรเป็นหลักแต่เริ่มการผลิตเพื่อตลาด การอุตสาหกรรมและการค้าเริ่มมีบ้าง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มขึ้นหลังจากมีการฟื้นฟูศิลปวิทยา จึงทำให้การพัฒนาการเดินเรือสมุทรและการค้าแดนไกล ประกอบกับความเชื่อทางศาสนาเปลี่ยนไปในลักษณะที่สนับสนุนการออมเพื่อการลงทุน และการสะสมความมั่งคั่งไม่เป็นบาป สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวทำให้การค้าในยุคนั้นเจริญได้อย่างต่อเนื่อง
2. แนวคิดพาณิชยนิยมเป็นแนวคิดที่มุ่งสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ ของประเทศให้เข้มแข็งโดยมุ่งเน้นให้ประเทศมีส่วนเกินจากการส่งออก และกีดกันสินค้าเข้าด้วยอากรศุลกากรและโควตาต่างๆ และมุ่งหวังการทำการค้ากับต่างประเทศแบบเกินดุล
3. นักพาณิชยนิยมมีนโยบายที่สำคัญหลายด้าน นโยบายที่สำคัญที่จะทำให้ประเทศรุ่งเรืองก็คือ นโยบายการค้า นโยบายด้านการเกษตร นโยบายด้านการอุตสาหกรรม นโยบายด้านการคลังสาธารณะ นโยบายด้านการคมนาคม นโยบายเกี่ยวกับอาณานิคม
4. ลัทธิพาณิชยนิยมในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา สเปน และโปรตุเกส ต่างก็มุ่งส่งเสริมการค้าโดยมีวิธีสนับสนุนอุตสาหกรรมที่แตกต่าง
5. แนวคิดพาณิชยนิยมเริ่มเสื่อมสลาย ก็เพราะว่ามีดุลการค้าเกินดุลไม่อาจรักษาไว้ได้นาน ประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลอาจจำเป็นต้องลดค่าเงิน และแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการค้า ระหว่างประเทศซึ่งจะให้ประโยชน์กับประเทศคู่ค้า ประกอบกับการสนับสนุนแนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบเสรี จึงทำให้แนวคิดของนักพาณิชยนิยมเริ่มเสื่อมสลายไป

9.1.1 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชยนิยม
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม ในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม ประชากรมีอาชีพการเกษตรเป็นหลัก การอุตสาหกรรมและการค้ามีบ้าง ระยะนี้มีการฟื้นฟูศิลปวิทยา และเป็นการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ มีการพัฒนาเรือเดินสมุทร ความเชื่อในทางศาสนาเปลี่ยนไปในลักษณะที่มุ่งให้สะสมความมั่งคั่ง
ปัจจัยที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาการค้าแดนไกลในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชยนิยมคือ มนุษย์สามารถต่อเรือเดินสมุทร การค้นพบเส้นทางการเดินเรือ และการค้นพบดินแดนใหม่

9.1.2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแนวคิดพาณิชยนิยม
เหตุใดนักพาณิชยนิยมจึงสนับสนุนให้ประเทศมีดุลการค้าเกินดุล ทองคำและโลหะเงินไหลเข้าประเทศ นักพาณิชยนิยม เปรียบเทียบประเทศกับบุคคล ต้องการมีดุลการค้าเกินดุล ทองคำและโลหะเงินไหลเข้าประเทศ ทำให้มีการว่าจ้างทำงานเพิ่ม พัฒนาสังคมได้ดีขึ้น ประเทศมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น

9.1.3 นโยบาย สถาบัน และทฤษฎีต่างๆ ของนักพาณิชยนิยม
นโยบายด้านต่าง ๆ ของนักพาณิชยนิยมมีดังนี้
นโยบายด้านการค้า นักพาณิชยนิยมมีแนวคิดว่าการค้ากับต่างประเทศเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ประเทศรุ่งเรือง โดยยึดหลักการทำการค้าเกินดุล
นโยบายด้านการเกษตร มีนโยบายที่จะให้ประชาชนมีอาหารเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องหวังพึ่งต่างประเทศ
นโยบายด้านอุตสาหกรรม มีนโยบายที่จะให้มีการผลิตเพื่อเลี้ยงตังเองได้ หากมีเหลือที่จะส่งออกไปขายยังต่างประเทศ

9.1.4 ลักษณะของพาณิชยนิยมในประเทศต่างๆ
ลัทธิพาณิชยนิยมในประเทศต่าง ๆ
แนวคิดเกี่ยวกับการค้าของประเทศอังกฤษก็คือ การค้าขายในดินแดนอาณานิคม สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ ก็ให้ความคุ้มครองโดยตั้งอัตราภาษีศุลกากรในอัตราสูง
ประเทศฝรั่งเศษมุ่งเน้นผลิตสินค้าและบริการเป็นสำคัญ ส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการให้เงินอุดหนุน ยกเว้นภาษีอากร ให้สิทธิผูกขาด ให้เงินกู้และสิทธิบัตรแก่อุตสาหกรรมต่าง ๆ
ประเทศฮอลันดามุ่งส่งเสริมการค้า มีการค้าขายกับอินเดียและการลักลอบทำการค้ากับอาณานิคมของสเปน
ประเทศสเปนทำการค้ากับอาณานิคมโดยผ่านเมืองท่าเรือ ผู้ที่จะทำการค้าได้จะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติสเปนโดยกำเนิด
ประเทศโปรตุเกส ทำการค้ากับอาณานิคม โดยรัฐจะควบคุมการค้าโดยสินค้าออกจะต้องมีมูลค่ามากกว่าสินค้าเข้า

9.1.5 การเสื่อมสลายของแนวคิดพาณิชยนิยม
สาเหตุที่แนวคิดพาณิชยนิยมเริ่มเสื่อมสลายไป ก็เนื่องมาจากการแพร่ขยายแนวคิดที่สำคัญ 2 แนวคิด คือ
(ก) แนวคิดทฤษฎีการเคลื่อนไหวของทองคำซึ่งอธิบายว่า การมีดุลการค้าเกินดุลไม่อาจรักษาได้นาน เพราะถ้าประเทศใดมีดุลการค้าเกินดุล ปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้น ค่าจ้างและราคาสินค้าจะสูงขึ้น ทำให้ประเทศอื่นไม่สามารถซื้อสินค้าได้ หรือถ้าซื้อได้ก็ต่อเมื่อมีการลดค่าของเงิน
(ข) แนวคิดทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ ที่อธิบายว่าการค้าระหว่างประเทศควรเกิดประโยชน์แก่ประเทศคู่ค้าทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ประเทศใดผลิตได้โดยต้นทุนต่ำกว่าต่างประเทศควรจะผลิตสินค้าส่งออก และซื้อสินค้าเข้าประเภทที่ผลิตโดยใช้ต้นทุนสูงกว่าต่างประเทศ
นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยุคนั้น เริ่มสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีแนวคิดพาณิชยนิยมจึงเริ่มเสื่อมสลายไป

9.2. แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม
1. แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นแนวคิดของผู้ที่มีความสนใจในเรื่องปัจจัยการผลิต การผลิต และราคา
2. เพตตี ได้เสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์จุลภาคที่สำคัญได้แก่ ทฤษฎีมูลค่า แนวคิดเกี่ยวกับราคา และแนวคิดเกี่ยวกับค่าเช่า นอกจากนี้ยังได้ให้แนวคิดที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์มหภาค ในเรื่องเกี่ยวกับ อัตราดอกเบี้ย การกระจายรายได้ และแนวคิดเกี่ยวกับถาษีอากร
3. แคนทิลลอน ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของเพตตี แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับเพตตีในทุกเรื่อง แนวคิดที่สำคัญของแคนทิลลอนที่สำคัญ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการผลิต แนวคิดเกี่ยวกับประชากร ทฤษฎีราคาและมูลค่า แนวคิดเกี่ยวกับค่าเช่า

9.2.1 แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์จุลภาค
แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นแนวคิดของผู้ที่มีความสนใจในเรื่องปัจจัยการผลิต การผลิตและราคา

9.2.2 แนวคิดของเพตตี
เพตตีมีแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดราคาโดยคำนวณหาราคาได้จากการนำเอามูลค่าของผลผลิตที่ผลิตได้หารด้วยปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้ ส่วนมูลค่า เพตตีจะใช้ปัจจัยในการผลิตอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นตัวกำหนดมูลค่า

9.2.3 แนวคิดของแคททิลลอน
แคนทิลลอนมีความคิดเกี่ยวกับมูลค่าโดยได้นำมูลค่าที่แท้จริงและมูลค่าตลาดมาพิจารณาด้วย มูลค่าที่แท้จริงจะถูกกำหนดโดยแรงงานและที่ดินที่ใช้ในการผลิต แต่บางกรณีมูลค่าที่แท้จริงจะถูกกำหนดโดยต้นทุนการผลิต ซึ่งรวมถึงค่าจ้างและต้นทุนวัตถุดิบ
ส่วนราคาจะเป็นราคาที่ปรากฏในตลาดหรือราคาที่เป็นจริง ในระยะสั้นราคาตลาดอาจแตกต่างจากมูลค่า แต่ในระยะยาวแล้วจะปรับตัวเท่ากับมูลค่าเสมอ

9.3. แนวคิดธรรมชาตินิยม
1. นักธรรมชาตินิยม มีแนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐกิจในลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม โดยปล่อยให้เศรษฐกิจดำเนินกิจกรรมไปตามตารางเศรษฐกิจ
2. ตารางเศรษฐกิจ เป็นหนังสือที่เกส์เนเขียนขึ้น เพื่ออธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการไหลเวียนของความมั่นคงหรือสินค้าของชนชั้นที่ผลิตสินค้าเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและขุนนาง
3. เกส์เน มีแนวคิดว่าการผลิตในการเกษตรกรรมเท่านั้นที่มีบทบาทพิเศษ เพราะมีผลิตผลสุทธิและมีที่ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ผลสุทธิเกิดจากความสามารถของแรงงานในภาคเกษตร
4. นักธรรมชาตินิยมไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีจากผู้ผลิต เพราะผู้ผลิตจะผลักภาระภาษีไปยังขุนนาง ถ้าผู้ผลิตผลักภาระภาษีมากไป ขุนนางก็จะขาดดุล เกส์เนจึงเสนอว่าน่าจะเก็บภาษีโดยตรงชนิดเดียวจากขุนนาง
5. ผลงานของเกส์เนในเรื่องตารางเศรษฐกิจ เป็นผลงานที่มีประโยชน์มากในแนววิวัฒนาการของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์

9.3.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแนวคิดธรรมชาตินิยม
นักธรรมชาตินิยมมีแนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ โดยมีจุดประสงค์หลักก็คือ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ซึ่งจะปล่อยให้เศรษฐกิจดำเนินกิจกรรมไปตามตารางเศรษฐกิจ ตารางเศรษฐกิจจึงเปรียบเสมือนหัวใจของความคิดแบบธรรมชาตินิยม

9.3.2 ตารางเศรษฐกิจ
ตารางเศรษฐกิจอยู่ในภาวะสมดุลก็ต่อเมื่อขุนนางแบ่งรายจ่ายครึ่งต่อครึ่ง ระหว่างการเกษตรกับอุตสาหกรรม ณ จุดเริ่มต้นของงวดและปลายงวดมีการถือเงินเหมือนกัน

9.3.3 บทบาทพิเศษของภาคเกษตรกรรม
การที่นักธรรมชาตินิยม มีความเห็นว่าการผลิตในภาคเกษตรกรรมจะสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศษเจริญก้าวหน้าก็เพราะว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และมีนักเศรษฐศาสตร์บางคนเชื่อว่าผลิตผลสุทธิในกิจกรรมประเภทเกษตรกรรมเห็นได้ง่าย หว่านเมล็ดพืชอะไรลงไปก็เก็บเกี่ยวได้ผลิตผล

9.3.4 บทบาทของรัฐบาลกับนโยบายภาษีอากร
การที่เกส์เน สนับสนุนให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีชนิดเดียวจากขุนนาง ก็เพราะว่าหากจัดเก็บภาษีจากผู้ผลิตตามที่เคยจัดเก็บ ผู้ผลิตจะผลักภาระไปให้ขุนนาง และเมื่อผู้ผลิตมีจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีจะมาก เกส์เน จึงเสนอให้เก็บภาษีชนิดเดียวจากขุนนาง จะช่วยให้ประหยัดใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษี

9.3.5 ผลของตารางเศรษฐกิจ
ตารางเศรษฐกิจมีบทบาทในการแนะแนวคิดให้นักเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน ซึ่งให้แนวคิดในการจัดทำตารางความสัมพันธ์ของอุตสาหกรรมกับระบบบัญชีเศรษฐกิจเงินทุน



หน่วยที่ 10 แนวคิดคลาสสิก (1) อดัม สมิธ

1. สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ทำให้เกิดแนวคิดเสรีนิยม
2. แนวคิดทางปรัชญาการเมืองและสังคมของ อดัม สมิธ เป็นพื้นฐานและประยุกต์เข้ากับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในแง่ของการส่งเสริมการแข่งขันเสรี
3. การแบ่งงานกันทำก่อให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศ การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ จำทำให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของโลกดีขึ้น
4. ถ้ามีการแข่งขันอย่างเสรมูลค่าของสิ่งของจะเท่ากัน ต้นทุนการผลิตและปัจจัยการผลิตจะได้รับผลตอบแทนเท่ากันในทุกอาชีพ
5. แนวคิดของ อดัม สมิธ ยังคงมีอิทธิพลอยู่แม้ในปัจจุบัน เช่น แนวคิดเรื่องความมั่งคั่งของประเทศ การแข่งขันเสรี และการคลัง

10.1 สภาพเศรษฐกิจสังคมที่ทำให้เกิดแนวคิดคลาสสิก
1. การเติบโตของการค้าและเมือง แนวคิดมนุษย์นิยมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีส่วนทำให้เกิดแนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก
2. แนวคิดหลักของเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก คือ แนวคิดเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนตัว ทฤษฎีมูลค่า ทฤษฎีการกระจายรายได้ และกฎของเซย์

10.1.1 กำเนิดแนวคิดคลาสสิก
ปัจจัยที่มีส่วนก่อให้เกิดแนวคิดสำนักคลาสสิก ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ การเจริญเติบโตของการค้าและเมือง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และแนวคิดมนุษยนิยม

10.1.2 แนวคิดหลักของสำนักคลาสสิก
แนวคิดหลักของเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกคือ แนวคิดเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว ทฤษฎีมูลค่า ทฤษฏีค่าจ้าง การสะสมทุน ทฤษฎีค่าเช่าและการลดน้อยถอยลงของผลได้ ทฤษฎีกำไร และกฏของเซย์

10.2 ประวัติ ผลงาน และปรัชญา ทางสังคมและการเมืองของ อดัม สมิธ
1. อดัม สมิธ ได้รับการศึกษาสูง ทั้งยังได้มีโอกาสพบกับนักคิดที่มีชื่อเสียงหลายคนและหลายประเทศ จนทำให้เขาเขียนผลงานที่ดีคือ The Wealth of Nations ออกมาได้
2. อดัม สมิธ เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนทำอะไรก็เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว

10.2.1 ประวัติและผลงานของ อดัม สมิธ
แนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงหลังของศตวรรษที่ 18 การที่แนวคิดของ อดัม สมิธได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ก็เพราะสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น กล่าวคือ ความเจริญเติบโตของการค้า การประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ซึ่งทำให้ประชาชนมีความกินดีอยู่ดีขึ้น ทำให้คนในสังคมมีความเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถที่จะดูแลผลประโยชน์ของตนเองได้ดีกว่าคนอื่น

10.2.2 ปรัชญาทางสังคมและการเมืองของ อดัม สมิธ
ความคิดของ อดัม สมิธ เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัวและบทบาทของรัฐ อาจไม่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน เพราะความแตกต่างทั้งทางสังคมและทางเศรษฐกิจ ของสมาชิกในสังคมหลายสังคม นำไปสู่ความขัดแย้งในด้านผลประโยชน์ จนผลประโยชน์ส่วนตัวไม่สามารถทำงานได้ และรัฐบาลจำเป็นต้องมีบทบาทมากขึ้นในฐานะเป็นผู้ประสานผลประโยชน์ และคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่า

10.3 แนวคิดด้านความมั่งคั่งของประเทศ การคลังของรัฐ และการค้าระหว่างประเทศของ อดัม สมิธ
1. การแบ่งงานกันและสัดส่วนระหว่างจำนวนแรงงานที่ถูกใช้ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศ
2. รัฐบาลต้องนำรายได้เพื่อนำมาใช้จ่าย ในการทำหน้าที่ของรัฐบาล แหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐบาลคือภาษี จึงต้องมีหลักในการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสม
3. การค้าระหว่างประเทศ คือการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศคู่ค้าได้รับประโยชน์

10.3.1 ความมั่งคั่งของประเทศในทรรศนะของ อดัม สมิธ
ประโยชน์และข้อจำกัดของการแบ่งงานกันทำ การแบ่งงานกันทำช่วยประหยัดเวลา ทำงานได้มากและช่วยให้มีการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงไว้ใช้ แต่การแบ่งงานกันทำ จะถูกจำกัดโดยตลาดและทุน

10.3.2 การคลังของรัฐในทรรศนะของ อดัม สมิธ
อดัม สมิธ มีความเห็นว่าควรจะเก็บภาษีจากค่าเช่ามากกว่าเก็บจากกำไรหรือค่าจ้าง เพราะเจ้าของที่ดินอยู่ในฐานะที่จะเสียภาษีได้ เนื่องจากมีรายได้มาก และเป็นภาษีที่ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้แก่ผู้อื่น โดยเฉพาะผู้บริโภคเหมือนในกรณีเก็บจากกำไรและค่าจ้าง

10.3.3 ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศของ อดัม สมิธ
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ คือการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ ทำให้แต่ละประเทศได้รับประโยชน์มากขึ้น แม้ว่าปัจจัยการผลิตเท่าเดิม เมื่อแต่ละประเทศผลิตสินค้าที่ตนถนัด คือใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ผลิตสินค้าที่ใช้ต้นทุนต่ำที่สุดก็จะผลิตสินค้านั้นได้มาก แล้วนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าของประเทศอื่นก็จะทำให้ได้สินค้ามากกว่าในกรณีที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ผลิตสินค้าทุกชนิดเอง

10.4 แนวคิดเรื่องทฤษฎีมูลค่า และทฤษฎีการกระจายรายได้ของ อดัม สมิธ
1. ต้นทุนการผลิตประกอบด้วยค่าจ้าง กำไร และค่าเช่า เป็นตัวกำหนดมูลค่าของสิ่งของในระยะยาว
2. ค่าจ้างในระยะยาวของแรงงานจะเท่ากับค่าจ้างในระดับพอยังชีพ
3. กำไรในระยะยาวมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากประเทศมีการสะสมทุนมากขึ้น
4. ค่าเช่าเป็นผลตอบแทนหรือกำไรที่เกิดจากการผลิตบนที่ดิน และถูกกำหนดโดยราคาของผลิตผลบนที่ดินนั้น

10.4.1 ทฤษฎีมูลค่าของ อดัม สมิธ
ทฤษฎีมูลค่าเชิงแรงงานของ อดัม สมิธ มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีมูลค่าเชิงต้นทุนการผลิต ทฤษฎีมูลค่าเชิงแรงงาน จำนวนแรงงานที่ใช้ในการผลิตเป็นตัวกำหนดมูลค่าของสิ่งของ และในกรณีนี้แสดงว่าค่าจ้างเป็นเพียงต้นทุนการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว คำอธิบายนี้ใช้ได้ในกรณีที่สังคมยังไม่เจริญ เทคนิคในการผลิตต่ำ แรงงานจึงเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างเดียว

10.4.2 ทฤษฎีค่าจ้างของ อดัม สมิธ
ทฤษฎีกองทุนค่าจ้างมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตหรือความมั่งคั่งของประเทศ กองทุนค่าจ้างเกิดจากการสะสมทุนของนายทุน และมีอุปสงค์ต่อแรงงาน ดังนั้นยิ่งมีกองทุนค่าจ้างมากก็มีความต้องการแรงงานมาก ค่าจ้างจะมีแนวโน้มสูงขึ้น และเมื่อมีการจ้างแรงงานมากก็จะทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น ทำให้เกิดการเจริญเติบโตและความมั่งคั่งของประเทศ

10.4.3 ทฤษฎีกำไรของ อดัม สมิธ
กำไรเป็นค่าตอบแทนต่อการใช้ทุน และต่อการเสี่ยงของนายทุน ในระยะยาวแล้วกำไรจะมีแนวโน้มลดลง ถ้ากำไรมีแนวโน้มลดลง ระบบเศรษฐกิจจะเผชิญกับภาวะการชะงักงันคือไม่มีการลงทุนเพิ่มขึ้น ทางแก้ก็คือ จะต้องหาทางปรับปรุงความรู้ในด้านการผลิตหรือส่งทุนไปต่างประเทศเพื่อให้กำไรสูงขึ้น

10.4.4 ทฤษฎีค่าเช่าของ อดัม สมิธ
ในทรรศนะของ อดัม สมิธ ค่าเช่าคือผลตอบแทนต่อค่าใช้ที่ดินที่ผู้เช่าต้องจ่ายให้แก่เจ้าของที่ดินหลังจากหักค่าใช้จ่ายในการผลิตแล้ว ค่าเช่าจึงถูกกำหนดโดยปริมาณและราคาของผลผลิตในที่ดิน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์และทำเลของที่ดิน

10.5 วิจารณ์แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ
1. บทบาทและอิทธิพลของแนงคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ ที่สำคัญคือ แนวคิดเกี่ยวกับการแข่งขันเสรี ตลอดจนการวางรากฐานเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งได้แก่การเจริญเติมโตของประเทศ ทฤษฎีมูลค่า ทฤษฎีการกระจายรายได้ และทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
2. จุดอ่อนของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ มีอยู่หลายประการ แต่ที่สำคัญคือ กรให้ความสำคัญต่อการวิเคราะห์ด้านอุปทานมากเกินไป

10.5.1 บทบาทและอิทธิพลแนวคิดของ อดัม สมิธ
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ มิใช่แนวคิดใหม่ ดังนั้น สมิธจึงมิได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา แนวคิดหรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ แม้ว่าสมิธจะสร้างทฤษฎีของเขาจากแนวคิดเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่ก่อนหน้าเขา แต่เขามีส่วนอย่างมากในการพัฒนาแนวคิดที่มีอยู่เดิมให้ชัดเจนและเป็นระบบยิ่งขึ้น ซ้ำยังก่อให้เกิดประเด็นปัญหาซึ่งนำไปสู่แนวคิดใหม่ต่อไป เช่น ทฤษฎีมูลค่าของสมิธได้อธิบายถึงการปรับตัวของอุปสงค์และอุปทาน จนในที่สุดมูลค่าของสิ่งของจะเท่ากับต้นทุนการผลิต แต่การที่สมิธไม่ให้ความสำคัญต่ออุปสงค์ในการกำหนดราคา ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม ซึ่งแนวคิดนี้ได้ถูกนำไปใช้ในการสร้างทฤษฎีอุปสงค์

10.5.2 จุดอ่อนของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ
จุดอ่อนอันหนึ่งของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของสมิธคือการให้ความสำคัญต่อด้านอุปทานมากเกินไปนั้น อดัม สมิธ ให้ความสำคัญต่อด้านอุปทานมากเกินไปนั้น จะเห็นได้จากทฤษฎีสำคัญหลายทฤษฎีของเขา เช่นทฤษฎีมูลค่า ซึ่งอธิบายว่าต้นทุนการผลิตเป็นตัวกำหนดมูลค่าของสิ่งของ โดยมิได้ให้ความสำคัญต่ออุปสงค์ หรือทฤษฎีค่าจ้าง ซึ่งอธิบายว่าค่าจ้างจะถูกกำหนดโดยค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตของแรงงาน


หน่วยที่ 11 แนวคิดคลาสสิก 2 โรเบิร์ท มัลธัส

1. โรเบิร์ท มัลทัส เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจปัญหาประชากร ซึ่งมีอัตราการเพิ่มมากกว่าอาหารที่ผลิตได้และทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเขาได้ชี้ให้เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจจะมีภาวะการล้นตลาด
2. เดวิด ริคาร์โด เป็นผู้ที่เห็นว่า การกระจายรายได้ เป็นปัญหาหลักของระบบเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจเติบโตจะมีความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของคน 2 กลุ่มในสังคม คือนายทุนและเจ้าของที่ดิน
3. มิลล์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจปัญหาด้านอื่ๆ ควบคู่ไปกับปัญหาทางเศรษฐกิจ และพยายามที่จะให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกรณีที่การแข่งขันอาจจะนำไปสู่ความไม่เป็นธรรมในสังคม

11.1. โรเบิร์ท มัลทัส
1. โรเบิร์ท มัลทัส เป็นผู้หนึ่งที่วางรากฐานให้กับเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ผลงานของเขาทำให้มีการสำรวจจำนวนประชากรในประเทศอังกฤษ
2. ปัญหาประชากรเกิดจาก ประชากรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าจำนวนอาหาร
3. ขนาดของประชากรที่เหมาะสมตามทรรศนะของ โรเบิร์ท มัลทัส คือ จำนวนประชากรที่ผลิตผลต่อหัวสูงสุด และในระยะยางอัตราค่าจ้างจะเท่ากับระดับพอยังชีพ
4. ตามทฤษฎีค่าเช่าของ โรเบิร์ท มัลทัส ค่าเช่าเป็นผลตอบแทนต่อการใช้ที่ดิน และถูกกำหนดโดยราคาของผลิตผลบนที่ดิน
5. ตามทฤษฎีมูลค่าของ โรเบิร์ท มัลทัส มูลค่าของสิ่งของจะถูกกำหนดโดยต้นทุนการผลิต แต่ราคาที่ซื้อขายมักจะสูงกว่าราคาธรรมชาติ
6. ภาวะการล้นตลาดในทรรศนะของ โรเบิร์ท มัลทัส เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าและบริการมีน้อยเกินไปที่จะซื้อสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตได้

11.1.1 ประวัติและผลงานของ โรเบิร์ท มัลทัส
11.1.2 กฏประชากรของ โรเบิร์ท มัลทัส
กฎประชากรของ โรเบิร์ท มัลธัส อธิบายว่า ปัญหาประชากรเกิดจากการที่ประชากรเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าจำนวนอาหาร การแก้ปัญหาต้องใช้ทั้งวิธีการแก้ไขและการป้องกัน

11.1.3 ขนาดประชากรที่เหมาะสม และอัตราค่าจ้าง ซึ่งเท่ากับระดับพอยังชีพ
ในระยะยาว อัตราค่าจ้างจะเท่ากับระดับพอยังชีพ การปรับตัวของประชากรในระยะยาว จะทำให้ค่าจ้างระยะยาวเท่ากับระดับพอยังชีพ กล่าวคือเมื่อค่าจ้างสูงขึ้นกว่าระดับพอยังชีพ ประชากรจะเพิ่มมากขึ้น เพราะถือว่ามีรายได้สูงพอที่จะเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวได้ จำนวนแรงงานจะมากขึ้นทำให้ค่าจ้างลดลง ในทางตรงข้ามเมื่อค่าจ้างต่ำกว่าระดับพอยังชีพจำนวนประชากรจะลดลง จำนวนแรงงานลดลง และค่าจ้างจะสูงขึ้นไปจนเท่ากับระดับพอยังชีพ

11.1.4 ทฤษฎีค่าเช่าของ โรเบิร์ท มัลทัส
ทฤษฎีค่าเช่าของ โรเบิร์ท มัลธัส แสดงว่าการผลิตสินค้าเกษตรจะเผชิญกับกฎการลดน้อยถอยลงของผลได้ เพราะเมื่อใช้ทุนและแรงงานจำนวนมากขึ้นทำการผลิตบนที่ดินจำนวนเท่าเดิม จะให้ผลตอบแทนลดลง

11.1.5 ทฤษฎีมูลค่าของ โรเบิร์ท มัลทัส
ทฤษฎีมูลค่าของ โรเบิร์ท มัลธัส อธิบายว่า อุปสงค์ อุปทาน เป็นตัวกำหนดมูลค่าของสิ่งของ มัลธัสยังคงเห็นว่ามูลค่าของสิ่งของถูกกำหนดโดย ต้นทุนการผลิต แม้ว่าเขาจะเห็นว่ามูลค่าที่ซื้อขายกันจะสูงกว่าต้นทุนการผลิต

11.1.6 ทฤษฎีภาวะการล้นตลาดของ โรเบิร์ท มัลทัส
ตามทรรศนะของ โรเบิร์ท มัลธัส ภาวะการล้นตลาดเกิดจากการที่อุปสงค์มีไม่พอที่จะซื้อสินค้า และบริการที่ผลิตขึ้นมาได้ ทฤษฎีมูลค่าแสดงว่าคนงานมีรายได้ต่ำกว่ามูลค่าสินค้าที่ตนเองผลิตได้ และเจ้าของที่ดินมีฐานะดีพอที่จะเพิ่มอุปสงค์และแก้ภาวะการล้นตลาดได้

11.2 เดวิด ริคาร์โด
1. ริคาร์โด ได้รับการศึกษาในระบบน้อยมาก ผลงานที่ทำให้กลายเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียง คือ หลักเศรษฐศาสตร์การเมืองและภาษีอากร (The principle of Political Economy and Taxation)
2. ทฤษฎีมูลค่าของ เดวิด ริคาร์โด อธิบายว่า ประโยชน์ใช้สอยเป็นเงื่อนไขที่ที่ทำให้สิ่งของมีมูลค่า แต่มูลค่าของสิ่งของถูกกำหนดโดยจำนวนแรงงานที่ใช้ในการผลิตสิ่งของนั้น
3. ตามทฤษฎีค่าเช่าของ เดวิด ริคาร์โด ค่าเช่าเป็นผลตอบแทนต่อการใช้ที่ดิน เกิดขึ้นเนื่องจากที่ดินมีคุณภาพต่างกัน และค่าเช่าจะถูกกำหนดโดยราคาของผลิตผลบนที่ดิน
4. เดวิด ริคาร์โด อธิบายว่าในระยะยาวค่าจ้างจะเท่ากับระดับพอยังชีพ
5. ตามทฤษฎีกำไรของ เดวิด ริคาร์โด อัตรากำไรมีแนวโน้มที่จะลดลงในระยะยาว เนื่องจากค่าจ้างมีแนวโน้มสูงขึ้นในขณะที่ราคาคงที่
6. เดวิด ริคาร์โดเห็นด้วยกับกฎของเซย์ที่กล่าวว่า ในระบบเศรษฐกิจอุปสงค์รวมจะเท่ากับอุปทานรวมเสมอ เนื่องจากเงินตราเป็นเพียงสื่อกลางในการแรกเปลี่ยนเท่านั้น และถ้าคนจะเก็บเงินไว้ก็เพื่อที่จะนำไปลงทุน
7. ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศของ เดวิด ริคาร์โด แสดงว่า การค้าระหว่างประเทศอาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าในกรณีที่ประเทศหนึ่งสามารถทำการผลิตสินค้าทุกอย่างโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าอีกประเทศหนึ่ง โดยเลือกการผลิตสินค้าที่ผลิตได้โดยใช้ต้นทุนต่ำสุด

11.2.1 ประวัติและผลงานของ เดวิดริคาร์โด
สิ่งแวดล้อมทางสังคม มีผลต่อแนวคิดของ เดวิด ริคาร์โด กล่าวคือ การที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่ทรัพยากรคือที่ดินซึ่งมีอยู่จำกัด รวมทั้งการนำข้าวเข้า มีผลทำให้ราคาข้าว ค่าเช่าที่ดินภายในประเทศสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น ซึ่ง เดวิด ริคาร์โดเห็นว่าจะทำให้กำไรลดลง การสะสมทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจจะหยุดชะงัก และในขณะเดียวกันจะทำให้เห็นว่าความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้

11.2.2 ทฤษฎีมูลค่าของ เดวิด ริคาร์โด
ตามทฤษฎีของ เดวิด ริคาร์โด จำนวนแรงงานที่ใช้ในการผลิตจะยังคงเป็นตัวกำหนดมูลค่าเปรียบเทียบของสิ่งของ แม้ในกรณีที่มีการใช้ทุนในการผลิตร่วมกับแรงงาน เหตุผลก็คือ มูลค่าถูกกำหนดโดยจำนวนแรงงานเปรียบเทียบที่ใช้ในการผลิต แม้จะมีการใช้ทุนในการผลิต ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขว่า สัดส่วนของทุนประจำและทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการผลิตสินค้าแต่ละอย่างเท่ากัน

11.2.3 ทฤษฎีค่าเช่าของ เดวิด ริคาร์โด
ค่าเช่า ไม่ได้เป็นตัวกำหนดมูลค่าของข้าว แต่ในทางตรงข้ามมูลค่าของข้าวเป็นตัวกำหนดค่าเช่า เป็นคำอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีค่าเช่า และทฤษฎีมูลค่า จากทฤษฎีค่าเช่าจะเห็นได้ว่าค่าเช่าที่ตกเป็นของที่ดินที่มีคุณภาพดีคือ ความแตกต่างระหว่างมูลค่าของข้าว ซึ่งถูกกำหนดโดยต้นทุนการผลิตข้าวบนที่ดินแปลงที่เลวที่สุด กับต้นทุนการผลิตข้าวแปลงนั้น ๆ ซึ่งต้นทุนจะประกอบด้วยค่าจ้าง และกำไรเท่านั้น ฉะนั้นค่าเช่าจะมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับมูลค่าของข้าว

11.2.4 ทฤษฎีค่าจ้างของ เดวิด ริคาร์โด
ริคาร์โด กล่าวว่า อัตราค่าจ้างระดับพอยังชีพมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นในขณะที่ประเทศกำลังเจริญเติบโต อัตราค่าจ้างดังกล่าวเป็นอัตราค่าจ้างที่จะเป็นเงินหรือสิ่งของ เหตุที่อัตราค่าจ้างดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะเป็นค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน และการที่อัตราค่าจ้างมีแนวโน้มสูงขึ้น ก็เนื่องมาจากต้นทุนการผลิตสินค้าประเภทอาหารสูงขึ้น ดังอธิบายไว้ในทฤษฎีค่าเช่า

11.2.5 ทฤษฎีกำไรของ เดวิด ริคาร์โด
ภาวะการชะงักงัน คือ ภาวะที่ไม่มีการลงทุนสุทธิ เนื่องจากอัตราค่าจ้างสูงขึ้นจนกำไรลดลง การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้ โดยการลดต้นทุนการผลิตสินค้าประเภทอาหารเพื่อให้ค่าจ้างลดลง ทั้งโดยการปรับปรุงเทคนิคการผลิต และการสั่งซื้อสินค้าเข้าประเภทอาหารราคาถูกเข้ามา
11.2.6 เดวิด ริคาร์โด และ กฎของ เซย์
เดวิด ริคาร์โด กล่าวว่า การที่ไม่เกิดภาวะการล้นตลาดก็เพราะว่า เงินตราทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นคำกล่าวที่สมเหตุผล ถ้าเงินตราทำหน้าที่เป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยนอย่างเดียวเพราะคนย่อมจะไม่เก็บเงินไว้เฉย ๆ เนื่องจากจะสูญเสียรายได้ที่เป็นดอกเบี้ย แต่ถ้าไม่มีการถือเงินตราไว้เพื่อเก็งกำไรจากการซื้อขายพันธบัตร เงินตราจะทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่าด้วย ซึ่งในกรณีนี้ กฎของเซย์ อาจจะเป็นไปไม่ได้

11.2.7 ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศของ เดวิด ริคาร์โด
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศของ เดวิด ริคาร์โด การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรและการเจริญเติบโตของประเทศ ผลประโยชน์ที่แต่ละประเทศได้รับจากการค้าระหว่างประเทศ โดยการผลิตสินค้าที่ตนมีความถนัดมากที่สุด และในขณะเดียวกัน การสั่งสินค้าเข้าประเภทอาหารราคาถูกเข้ามา มีส่วนช่วยชะลอภาวะการชะงักงันของระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากไปชะลอไม่ให้ค่าจ้างสูงเกินไป

11.3 จอห์น สจ๊วต มิลล์
1. จอห์น สจ๊วต มิลล์เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความสนใจในหลายสาขาวิชา ผลงานที่มีชื่อเสียงคือ หลักเศรษฐศาสตร์การเมือง และการประยุกต์บางอย่างกับปรัชญาสังคม
2. จอห์น สจ๊วต มิลล์มีความเห็นว่า กฎของการผลิตเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ แต่กฎของการกระจายผลผลิตเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงได้ การผลิตต้องอาศัยปัจจัยการผลิตที่สำคัญคือ แรงงานและทุน การผลิตในระยะยาวอาจจะเผชิญกับภาวะชะงักงันได้ แต่จะเป็นปัญหาหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับเป้าหมายของระบบเศรษฐกิจ สำหรับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมอาจมีปัญหาการกระจายรายได้ไม่ท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับอาจจะช่วยแก้ปัญหาได้เช่น การยอมให้แรงงานรวมตัวกันเรียกร้องค่าจ้างให้สูงขึ้น
3. ตามทฤษฎีค่าจ้างของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ ค่าจ้างแรงงานแม้จะถูกกำหนดโดยกองทุนค่าจ้าง และจำนวนแรงงานแต่อัตราค่าจ้างในระยะยาวมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าระดับพอยังชีพ เนื่องจากคนงานจะพยายามรักษาระดับความเป็นอยู่ของตนไม่ให้ลดต่ำลง
4. ตามทฤษฎีกำไรของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ กำไรในระยะยาวมีแนวโน้มที่จะลดลง เพราะค่าจ้างสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนต่อการเสียสละของนายทุนในการลดการบริโภคในปัจจัน
5. ทฤษฎีค่าเช่าของ จอห์น สจ๊วต มิลล์อธิบายว่า ค่าเช่าเกิดจากการที่ที่ดินมีคุณภาพแตกต่างกัน และค่าเช่าจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับว่าที่ดินนั้นใช้ประโยชน์ได้หลายทางหรือไม่
6. ตามทฤษฎีมูลค่าของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ มูลค่าของสินค้าส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้ จะถูกกำหนดโดยต้นทุนการผลิต
7. จอห์น สจ๊วต มิลล์มีความเห็นว่าเพื่อความสุข และสวัสดิการของคนส่วนใหญ่ในสังคม รัฐบาลอาจจะต้องมีบทบาทมากกว่าหน้าที่พื้นฐานที่กำหนด
8. จอห์น สจ๊วต มิลล์เห็นด้วยกับกฎของเซย์ และเห็นว่าภาวะการล้นตลาดจะเกิดขึ้นได้ในระยะสั้น และในกรณีที่เกิดขาดแคลนสินเชื่อ
9. ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศของจอห์น สจ๊วต มิลล์ อธิบายว่าประเทศที่ติดต่อทำการค้าระหว่างประเทศ จะเลือกผลิตสินค้าที่คนมีความถนัดหรือผลิตโดยใช้ต้นทุนต่ำสุดเปรียบเทียบ อัตราแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศคู่ค้า จะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายที่ความยืดหยุ่นของดีมานด์ต่อราคาที่มีค่าค่อนข้างต่ำ
10. ถึงแม้ จอห์น สจ๊วต มิลล์จะไม่ได้สร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อะไรใหม่ๆ ขึ้นมา แต่ จอห์น สจ๊วต มิลล์ก็ได้ให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการปฏิรูประเบียบ กฎหมาย ประเพณีต่างๆ ได้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ในสังคม

11.3.1 ประวัติและผลงานของ มิลล์
จอห์น สจ๊วต มิลล์ วิธีศึกษาหาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ มิลล์ใช้วิธีการประสบการณ์นิยมแนวทางอุปมาน ในการหาความรู้และให้ความสำคัญต่อปัจจัยอื่น ๆ ในการกำหนดพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ

11.3.2 ความแตกต่างระหว่างการผลิตและกฎการกระจายรายได้ของ จอห์น สจ๊วต มิลล์
จอห์น สจ๊วต มิลล์มีหลักเกณฑ์ในการแยกกฎของการผลิต และกฎของการกระจายรายได้ออกจากกัน หลักเกณฑ์ ก็คือความสามารถในการควบคุมของมนุษย์ และประโยชน์จากการแยกกฎเกณฑ์ ดังกล่าวออกจากกันเป็นการช่วยแสดงให้เห็นว่า กฎเกณฑ์บางอย่างทางเศรษฐกิจก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยอาศัยนโยบายของรัฐ
การเจริญเติบโตของประเทศจะต้องอาศัยปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ ทุนและแรงงาน ประเทศอาจต้องเผชิญกับภาวะการชะงักงันได้ แต่ไม่ใช่เป็นปัญหาที่สำคัญหากเป้าหมายของประเทศคือ การกระจายรายได้หรือสวัสดิการของคนในสังคม
ในระบบที่มีการแข่งขันอย่างเสรีนั้น การกระจายรายได้มีความแตกต่างกันมากขึ้น ต้นเหตุของปัญหาก็คือ การที่บุคคลให้สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลกันอย่างไม่มีขอบเขต ใช้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แสวงหาประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของคนอื่น ทางแก้ไขในระยะสั้นก็คือ ควบคุมการใช้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล และในระยะยาวอาจจะต้องมีการใช้วิธีการสหกรณ์

11.3.3 ทฤษฎีค่าจ้างของ จอห์น สจ๊วต มิลล์
ทฤษฎีค่าจ้างของ มิลล์ เหมือนกับทฤษฎีของคนอื่น ๆ คือ ค่าจ้างถูกกำหนดโดย กองทุนค่าจ้าง และจำนวนแรงงาน แต่ที่แตกต่างออกไปคือ มิลล์ เห็นว่า อัตราค่าจ้างในระยะแรกอาจจะอยู่สูงกว่าระดับพอยังชีพก็ได้
อัตราค่าจ้าง = ( กองทุนค่าจ้าง ) / ( จำนวนแรงงาน )

11.3.4 ทฤษฎีกำไรของ จอห์น สจ๊วต มิลล์
ในทรรศนะของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ กำไรเกิดขึ้นได้ เพราะแรงงานผลิตได้เกินกว่าค่าตอบแทนที่เขาได้รับ และการที่กำไรมีแนวโน้มที่จะลดลงในระยะยาว ก็เนื่องจากเหตุผลหลายประการเช่น การสะสมทุนมีมากขึ้น การเสี่ยงมีน้อยลง ในขณะที่ประเทศเจริญเติบโต หรือเนื่องจากอัตราค่าจ้างสูงขึ้น

11.3.5 ทฤษฎีค่าเช่าของ จอห์น สจ๊วต มิลล์
จอห์น สจ๊วต มิลล์ ใช้แนวคิดของ ต้นทุนค่าเสียโอกาส กล่าวคือ ถ้าที่ดินใช้ประโยชน์ได้หลายทาง ผู้ที่ต้องการใช้ที่ดินในการผลิตจะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของที่ดินเพื่อจะได้ใช้ที่ดินดังกล่าว ไม่เช่นนั้นเจ้าของที่ดินอาจนำที่ดินของเขาไปใช้ในทางอื่น ในกรณีเช่นนี้ ค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับเจ้าของที่ดินย่อมเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต
11.3.6 ทฤษฎีมูลค่าของ จอห์น สจ๊วต มิลล์
ทฤษฎีมูลค่าของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ ยังคงให้ความสำคัญต่อต้นทุนการผลิตว่าเป็นตัวกำหนดมูลค่าของสิ่งของ เป็นจริงเพราะ มิลล์ ได้แบ่งสินค้าออกเป็น 3 ประเภท แต่สินค้า 2 ประเภทใน 3 ประเภทดังกล่าว มูลค่าจะถูกกำหนดโดยต้นทุนการผลิตอยู่

11.3.7 บทบาทของรัฐบาลในทรรศนะของ จอห์น สจ๊วต มิลล์
มิลล์ มีความเห็นว่ารัฐบาลควรจะเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อปรับปรุงแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันและการเอารัดเอาเปรียบในสังคม และเพื่อสวัสดิการของคนส่วนส่วนใหญ่ในสังคม

11.3.8 จอห์น สจ๊วต มิลล์ และ กฎของเซย์
ในทรรศนะของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ ภาวะการล้นตลาดอาจเกิดขึ้นได้ในระยะสั้น โดยเฉพาะในกรณีที่ มิลล์เรียกว่า วิกฤติการณ์ทางการค้า คือภาวะการที่ปริมาณเงินมีน้อยเกินไปไม่เพียงพอกับความต้องการ

11.3.9 ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศของ จอห์น สจ๊วต มิลล์
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ ก้าวหน้าที่สุด เมื่อเทียบกับ ทฤษฎีการค้าของ อดัม สมิธ และ เดวิด ริคาร์โด กล่าวคือ ในทฤษฎีการค้าของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ นอกจากจะอธิบายได้ว่า แต่ละประเทศควรจะผลิตสินค้าอะไรแล้ว ยังอธิบายอีกว่า อัตราการแลกเปลี่ยนทางการค้าของประเทศจะถูกกำหนดขึ้นได้อย่างไร

11.3.10 วิจารณ์แนวคิดของ จอห์น สจ๊วต มิลล์
จอห์น สจ๊วต มิลล์ เป็นนักปฏิรูปสังคม มากกว่าจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ไม่ถูกต้องเพราะว่าความคิดของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ได้เสนอแนะทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ใหม่ ๆ ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ ถือเป็นงานชิ้นสำคัญอันหนึ่ง และแนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนค่าเสียโอกาสเป็นแนวความคิดใหม่


หน่วยที่ 12 แนวคิดสังคมนิยม

1. ความคิดสังคมนิยมเริ่มมาช้านาน แต่นักคิดสังคมนิยมและลัทธิสังคมนิยม มีการใช้และกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ยุคการปฏิวัติอุสาหกรรมเป็นสังคมนิยมแบบยูโทเปีย หรือสังคมนิยมแบบเพ้อฝัน ต่อมามาร์กได้สร้างแนวคิดสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ขึ้นมา และแนวคิดนี้ได้นำไปใช้ในสมัยศตวรรษที่ 20 โดยโซเวียตรุสเซีย
2. แนวคิดสังคมนิยมเสรี เป็นสังคมนิยมแบบประชาธิปไตย และลัทธิอนาธิปัตย์นิยม ซึ่งเน้นวิวัฒนาการไปสู่สังคมนิยมโดยไม่เน้นการต่อสู่ระหว่างชนชั้น
3. แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก เป็นสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ ที่อาศัยแนวคิดเรื่องวัตถุนิยม ประวัติศาสตร์ และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งสรุปว่าพลังการผลิตจะเป็นตัวกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ โครงสร้างส่วนล่างจะไปกำหนดโครงสร้างส่วนบน มาร์กมีแนวคิดว่าการวิวัฒนาการจากระบบทุนนิยม เปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมนิยมและคอมมิวนิตส์ในท้ายที่สุดแล้ว จะเกิดขึ้นโดยการต่อสู้ทางชนชั้น ระหว่างชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นนายทุน

12.1. ความเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดสังคมนิยม
1. แนวคิดสังคมนิยมเริ่มก่อตั้งขึ้นในสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้าในอังกฤษ แต่สภาพความเป็นอยู่ของกรรมกรกลับแร้นแค้นจึงมีแนวคิดที่ต่อต้านแนวคิดที่ต่อต้านแนวคิดคลาสสิก โดยกลุ่มของนักคิดสังคมนิยมยูโทเปีย และมีวิวัฒนาการของแนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์กซิสต์ ซึ่งเป็นสังคมนิยมแบบวิทยาศาสตร์ตามมา
2. ในยุคสมัยใหม่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมมีลักษณะที่ว่ามีการเกษตรแผนใหม่ เกิดการปฏิวัติทางการค้าและอุตสาหกรรม ตลอดจนองค์การธุรกิจและการเงินการธนาคารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ได้เกิดผลทางเศรษฐกิจมากมายในระยะสงคราม ภายหลังสงครามสงบลงลักษณะทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ มีลักษณะเด่นชัดอยู่ 2 ระบบคือ ระบบทุนนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
3. แนวคิดสังคมนิยมในสมัยศตวรรษที่ 18 มี 2 รูปแบบคือรูปแบบที่ 1 แบ่งสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ อีกรูปแบบหนึ่งแบ่งเป็นแนวคิดของนักคิดสังคมนิยมแบบมาร์กซิสต์และนักคิดสังคมนิยมแบบนีโอมาร์กซิสต์

12.1.1 วิวัฒนาการของแนวคิดสังคมนิยม
สาเหตุที่ก่อให้เกิดแนวคิดที่ต่อต้านแนวคิดสำนักคลาสสิก และก่อให้เกิดการก่อตัวของแนวคิดสังคมนิยม ยูโทเปีย คือ นักคิดสำนักคลาสสิกสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งยุโรปตะวันตกประสบความสำเร็จของการปฏิวัติ อุตสาหกรรมและการค้า แต่เนื่องจากสังคมก็เกิดปัญหาความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของกรรมกร กรรมกรยังยากจน ทำงานมากชั่วโมงขึ้นและเสี่ยงอันตรายได้ค่าแรงต่ำ ดังนั้นจึงมีแนวคิดสังคมนิยมยูโทเปีย ต่อต้านแนวคิดของสำนักคลาสสิก

12.1.2 สภาพแวดล้อมและปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในยุคสมัยใหม่
สภาพแวดล้อมและปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในยุคสมัยใหม่ เกิดระบบเศรษฐกิจ 2 ระบบใหญ่ ๆ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ประเทศมหาอำนาจ 2 ฝ่าย คือ สหรัฐอเมริกาและรุสเซีย เกิดสงครามเย็นระหว่างลัทธิทุนนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ และระบบเศรษฐกิจจึงแบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือระบบทุนนิยมและระบบสังคมนิยม

12.1.3 การจำแนกแนวคิดสังคมนิยมในสมัยศตวรรษที่ 18
ในสมัยศตวรรษที่ 18 รูปแบบของแนวคิดสังคมนิยมมี 2 รูปแบบคือ
รูปแบบที่ 1 พิจารณาจากวิธีการที่ทำให้เกิดสังคมนิยมจะมี 2 ระบบคือ สังคมนิยม และ คอมมิวนิสต์
รูปแบบที่ 2 แบ่งตามแนวคิดที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยมนุษย์กระทำขึ้น และมนุษย์ไม่ได้กระทำ แบ่งเป็น 2 แนวคิดคือ สังคมนิยมตามแนวคิดมาร์กซึ่งเชื่อว่ามนุษย์กระทำขึ้น และสังคมนิยมตามแนวคิดของกลุ่มนีโอมาร์กซิสต์ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ

12.2. แนวคิดสังคมนิยมเสรี
1. ภายหลังการปฏิบัติการอุตสาหกรรม มีผลต่อการขยายตัวของประชากร เกิดสังคมเมือง เกิดชนชั้นใหม่คือนายทุน กรรมกรดำรงชีพด้วยความทุกข์ยาก เกิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม และการก่อตัวของลัทธิสังคมนิยม
2. แนวคิดสังคมนิยมเสรี แบ่งเป็น 2 แนวคิดคือ ลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย และลัทธิอนาธิปัตย์นิยม ทั้ง 2 ลัทธิจะเน้นการร่วมมือระหว่างชนชั้นมากกว่าการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ต้องการระบบเศรษฐกิจการเมืองที่มีทั้งความสามารถและความเป็นเสรี

12.2.1 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีผลต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศยุโรปภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประชากรมีการขยายตัว เกิดสังคมเมือง เกิดชนชั้นใหม่คือนายทุน การดำรงชีพที่ทุกข์ยากของกรรมกร เกิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม และการก่อตัวของลัทธิสังคมนิยม

12.2.2 หลักและแนวคิดสังคมนินมเสรี
หลักและแนวคิดสังคมนิยมเสรีที่สำคัญคือเน้นความร่วมมือระหว่างชนชั้นมากกว่าการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ต้องการระบบเศรษฐกิจการเมืองที่มีทั้งความเสมอภาคและความเป็นเสรี

12.3. แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก
1. ลัทธิเศรษฐกิจการเมืองของมาร์กมีปรัชญาพื้นฐานวัตถุนิยมไดอาเลคติคของฮาเกล และการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยมซึ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน คือพลังการผลิต ความสัมพันธ์ในการผลิต และโครงสร้างส่วนบน มาร์กมีแนวคิดสังคมนิยมในลักษณะที่ว่า การต่อสู้ระหว่างชนชั้นจะนำไปสู่ระบบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ และในระยะยาวจะเป็นสังคมที่ปราศจากชนชั้น
2. มาร์กเกิดเมื่อ ค.ศ. 1818 ที่ประเทศเยอรมนี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเยนา สมรสกับเจนนี ฟอน เวสฟาเลน ผลงานของมาร์กมีมากมาย ที่สำคัญคือคำประกาศของคอมมิวนิสต์ (Communist manifesto) และ ทุน (Das Kapital) มาร์กถึงแก่กรรมที่ประเทศอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1883
3. ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกินของมาร์ก มีพื้นฐานแนวความคิดมาจากการที่มาร์กเห็นนายจ้างจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าความสามารถที่แรงงานผลิตได้ ดังนั้น จึงก่อให้เกิดส่วนเกิน ในทรรศนะของมาร์ก นายทุนควรจ่ายให้แรงงานทั้งค่าจ้าง (V) และส่วนเกิน (S) แต่นายจ้างจ่ายเพียงค่าจ้าง (V) ส่วนเกิน (S) จึงเป็นของนายทุน
4. ทฤษฎีการว่าจ้างทำงานของมาร์กมีสาระสำคัญคือ มาร์กเห็นว่าอุปทานของแรงงานค่อนข้างคงที่ ขณะที่ อุปสงค์ของแรงงานขึ้นอยู่กับทุนหมุนเวียนคือค่าจ้าง (V) แต่ค่าจ้าง (V) จะเพิ่มขึ้นในอัตราลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว อุปสงค์ของแรงงานจึงเพิ่มขึ้นในอัตราลดลงเรื่อย ๆ และอย่างรวดเร็ว การว่างงานจึงเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ถ้าแรงงานกองหนุนมีน้อยหรือไม่มีเลยอัตราค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นในระยะแรก และถ้าแรงงานกองหนุนเพิ่มขึ้น อัตราค่าจ้างจะลดลงสู่ระดับพอยังชีพ
5. การเกิดวัฎจักรธุรกิจในทรรศนะของมาร์กเกิดขึ้นเนื่องจากการลงทุนไม่สมดุลกับการออม อุปสงค์รวมจึงไม่เท่ากับอุปทานรวม ประกอบกับความยากจนของแรงงานจึงทำให้บริโภคน้อยวัฎจักรธุรกิจจึงเกิดขึ้น
6. การผลิตมีการเปลี่ยนไปสู่การผลิตขนาดใหญ่ นายทุนขนาดเล็กย่อมสู้ไม่ได้ จำนวนนายทุนก็ลดลง การผูกขาดมีมากขึ้น นายทุนขนาดใหญ่มีฐานะร่ำรวยขึ้น ซึ่งแตกต่างจากแรงงานมากขึ้น แรงงานก็จะถูกกดดันให้เกิดการปฏิวัติสู่สังคมนิยม
7. แนวคิดของมาร์กมีคุณูปการต่อนักคิดและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อย่างมากมาย แต่เนื่องจากมาร์กใช้วิธีวิเคราะห์โดยประวัติศาสตร์ ดังนั้นคำพยากรณ์บางเรื่องจึงไม่ได้เกิดขึ้นตามคำทำนายของมาร์ก

12.3.1 หลักและแนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก
มาร์กมีหลักและแนวคิดสังคมนิยม มาร์กวิเคราะห์โดยวิเคราะห์ประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยม ซึ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ พลังการผลิต ความสัมพันธ์ในการผลิต และโครงสร้างส่วนบน เมื่อความสัมพันธ์ในการผลิตเปลี่ยนแปลงไป พลังการผลิตและโครงสร้างส่วนบนก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย มาร์กคิดว่าชนชั้นกรรมาชีพจะเกิดการขัดแย้งกับนายทุนและต่อสู้กันจึงจะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมนิยม และในระยะยาวจะเป็นสังคมที่ปราศจากชนชั้น

12.3.2 ประวัติและผลงานของมาร์ก
ความเห็นของมาร์กในเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจจากทุนนิยมเป็นสังคมนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้น คือ นายทุนกับแรงงานเข้มข้นเข้าทุกที นายทุนอ่อนแอลง แรงงานมีมากขึ้น เข้มแข็งขึ้น แรงงานจึงปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจเป็นสังคมนิยม

12.3.3 ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกินและการเอารัดเอาเปรียบ
ในแนวความคิดมาร์กเห็นว่ามูลค่าส่วนเกินเกิดขึ้น เพราะนายจ้างจ่ายค่าจ้างน้อยเกินไป นายทุนควรจ่ายให้แรงงานทั้ง V และ S แต่จ่ายเพียง V ดังนั้น S จึงเป็นของนายทุน
C = ต้นทุนคงที่ คือวัตถุดิบและเครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
V = ต้นทุนหมุนเวียนหรือทุนหมุนเวียน ซึ่งเป็นเงินสำรองสำหรับจ่ายค่าจ้าง
S = ส่วนเกินในการผลิต ได้กำไร ดอกเบี้ย และค่าเช่าที่ดินเป็นส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับจากการจัดสรรไปยังนายทุนนั่นเอง
C/V =องค์ประกอบอินทรีย์ของทุน S/V = อัตราการขูดรีด S/(C+V) = อัตรากำไร

12.3.4 ทฤษฎีการว่าจ้างทำงาน
การสะสมทุนของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเรื่อย ๆ ก็เพราะว่าอัตราการเอารัดเอาเปรียบเพิ่ม อัตราส่วนระหว่างทุนสองชนิดเพิ่ม อัตรากำไรลดลง การสะสมทุนจึงเพิ่มในอัตราที่ลดลงด้วย

12.3.5 วัฎจักรธุรกิจ
มาร์กแบ่งการระบบเศรษฐกิจออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคการผลิตสินค้าทุน ภาคการผลิตสินค้าบริโภคสำหรับแรงงาน และภาคการผลิตสินค้าบริโภคสำหรับทุน
ในแนวความคิดของมาร์ก วัฏจักรธุรกิจเกิดขึ้นเนื่องจากการลงทุนกับการออมไม่สมดุลกัน จึงทำให้อุปสงค์รวมไม่เท่ากับอุปทานรวม นอกจากนี้ ความยากจนของแรงงานยังทำให้เกิดการบริโภคน้อย ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดวัฏจักรธุรกิจได้

12.3.6 การผูกขาดในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบสังคมนิยม
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบทุนนิยม เมื่อระบบเศรษบกิจมีการผลิตขนาดใหญ่ นายทุนขนาดย่อมก็จะปิดกิจการ จำนวนนายทุนจึงน้อยลง การผูกขาดจึงมีมากขึ้น ฐานะนายทุนร่ำรวยขึ้น แรงงานเจ็บช้ำในจิตรใจมากขึ้น จึงทำให้มาร์กเชื่อว่า จะปฏิวัติไปสู่สังคมนิยม

12.3.7 วิจารย์แนวคิดของมาร์ก
แนวคิดของมาร์กเกี่ยวกับทฤษฎีมูลค่าส่วนเกินและการเอารัดเอาเปรียบ ตามทฤษฎีมูลค่าส่วนเกินและการเอารัดเอาเปรียบ มาร์กเห็นว่า ส่วนเกิน (S) เกิดขึ้น เพราะมีการจ่ายค่าจ้างน้อยไป ทั้ง V และ S ควรเป็นของแรงงาน แต่นายจ้างจ่ายเพียงค่า V การที่นายทุนหักส่วนเกิน (S) ไว้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น มาร์กพยากรณ์ว่า ปัญหาการว่างงานจะมากขึ้น ช่องว่างระหว่างนายทุนและแรงงานจะมากขึ้นทุกที การผูกขาดของนายทุนจะมีแนวโน้มสูงขึ้น คำพยากรณ์ของมาร์กดังกล่าวเมื่อเทียบกับแนวโน้มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในโลกนี้ มิได้เป็นไปตามคำพยากรณ์ของ มาร์ก กล่าวคือ ประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า แรงงานมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การว่างงานก็มิได้มากขึ้น ช่องว่างระหว่างนายทุนกับแรงงานก็มิได้มากขึ้น การผูกขาดของนายทุนแม้มีจริงแต่เป็นการผูกขาดโดยบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่มีผู้ถือหุ้นมาก ประเทศที่มีการปฏิวัติสังคมนิยมกลับกลายเป็นประเทศทุนนิยมที่ล้าหลัง มิใช่ประเทศทุนนิยมที่ก้าวหน้าสุกงอม


หน่วยที่ 13 แนวคิดนีโอคลาสสิก

1. เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก กำเนิดขึ้นในทศวรรษ 1870 โดยพัฒนาแนวความคิดการใช้หลักการหน่วยสุดท้ายและทฤษฎีอรรถประโยชน์ของ เจวอนส์ เมนเกอร์ และวาลราส เข้ามาในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ
2. เศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน ประกอบด้วยเศรษฐศาสตร์ของวาลราสและเศรษฐศาสตร์ของพาเรโต
3. เศรษฐศาสตร์สำนักเคมบริดจ์ ประกอบด้วยเศรษฐศาสตร์ของมาร์แชล และเศรษฐศาสตร์ของพิกู

13.1. ความเป็นมาของ เศรษฐศาสตร์ นีโอคลาสสิก
1. การปฏิวัติหน่วยสุดท้ายคือ จุดกำเนิดของนีโอคลาสสิก สาระสำคัญของการปฏิวัติหน่วยสุดท้ายคือ การใช้หลักการหน่วยสุดท้ายและทฤษฎีอรรถประโยชน์เข้ามาในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแนวการวิเคราะห์ใหม่ที่แตกต่างไปจากสำนักคลาสสิกโดยสิ้นเชิง
2. วิทยาหรือวิธีคิดของเศรษฐศาสตร์ นีโอคลาสสิก มีพื้นฐานทางทฤษฎีที่สำคัญคือ หลักการหน่วยสุดท้าย พฤติกรรมตรรกยะ และดุลยภาพตลาด
3. หลักหน่วยสุดท้ายหมายถึง การใช้คณิตศาสตร์แคลคูลัสและอนุพันธ์มาวิเคราะห์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมตรรกยะ หมายถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ที่มีเหตุผลในการเลือกสิ่งที่คุ้มค่าที่สุดอยู่เสมอ หลักดุลยภาพตลาด หมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะดุลภาพหรือระดับที่อุปสงค์เท่ากับอุปทานเสมอ
4. อิทธิพลของแนวคิดนีโอคลาสสิกที่มีต่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ คือ (1) การพัฒนาทฤษฎีดุลยภาพทั่วไปในเชิง ตรรกยะและคณิตศาสตร์ (2) ประยุกต์และวิเคราะห์เศรษฐกิจที่มีลักษณะนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น (3) เป็นรากฐานที่สำคัญของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค โดยเฉพาะในเรื่องของทฤษฎีดุลยภาพตลาด ทฤษฎีการบริโภค และทฤษฎีการผลิต

13.1.1 การปฏิวัติหน่วยสุดท้าย
สาระสำคัญของการปฏิวัติหน่วยสุดท้ายคือ การนำแนวความคิดหลักการหน่วยสุดท้ายและทฤษฎีอรรถประโยชน์เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ

13.1.2 วิธิวิทยาของเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก
วิธีวิทยาของเศรษฐศาสตร์ นีโอคลาสสิกมีพื้นฐานทางทฤษฎีที่สำคัญคือ (1) หลักหน่วยสุดท้าย (2) พฤติกรรมตรรกะ และ (3) ดุลยภาพตลาด โดยที่หลักสุดท้ายหมายถึงการใช้คณิตศาสตร์แคลคูลัส และอนุพันธ์มาวิเคราะห์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจ พฤติกรรมตรรกะ หมายถึง พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ที่มีเหตุผลในการเลือกเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงขึ้น และหลักดุลยภาพตลาด หมายถึงกิจกรรมและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับภาวะดุลยภาพอันได้แก่ ระดับอุปสงค์เท่ากับอุปทานเสมอ

13.1.3 อิทธิพลของแนวคิดนีโอคลาสสิกที่มีต่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
อิทธิพลแนวคิดนีโอคลาสสิกที่มีผลต่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์คือ (1) การพัฒนาทฤษฎีดุลยภาพทั่วไปในเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ที่มีความเข้มงวด (2) พัฒนาโมเดลที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรมสูงให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในการอธิบายเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น (3) เป็นแนวทางประยุกต์โมเดลดุลยภาพทั่วไปเข้ากับทฤษฎีเศรษฐกิจสังคมนิยม นอกจากนี้ยังเป็นรากฐานที่สำคัญของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคโดยเฉพาะในเรื่องทฤษฎีดุลยภาพตลาดและอื่น ๆ

13.2. แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน
1. วาลราส ได้รับการยอมรับว่าหนึ่งในสามของผู้เสนอทฤษฎีอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายร่วมกับ เจวอนส์ และเมนเกอร์ ผลงานที่สำคัญของวาลราส คือ การสร้างทฤษฎีดุลยภาพทั่วไป ซึ่งใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ทางเศรศษฐศาสตร์ ผลที่ที่ค้นคว้าพิมพ์เผยแพร่ที่สำคัญ คือ วิจัยทางเศรษฐกิจสังคม วิจัยเศรษฐกิจการเมืองประยุกต์ สารัตถะเศรษฐกิจ การเมืองบริสุทธิ์ ทฤษฎีคณิตศาสตร์ว่าด้วยความมั่งคั่งสังคม และทฤษฎีเงินตรา
2. เศรษฐศาสตร์ของวาลราสถือว่าเป็นเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีซึ่งได้แก่ ทฤษฎีการกำหนดราคาภายใต้ระบบที่สมมติการแข่งขันเสรีโดยที่ โมเดลของวาลราสมีอยู่ 4 ตลาด คือ "ตลาดปัจจัย" "ตลาดทุน" และ "ตลาดสินค้าทุน" วาลราสได้ลำดับขั้นตอนทางทฤษฎีของเขาไว้ 4 ขั้นตอน คือ (1) ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (2) ทฤษฎีการผลิต (3) ทฤษฎีทุนและสินเชื่อ และ (4) ทฤษฎีการปริวรรตและเงินตรา
3. ผลงานที่สำคัญของพาเรโต คือ (1) การวิเคราะห์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ โดยละทิ้งแนวคิดอรรถประโยชน์แบบนับได้ มาใช้แนวคิดการวัดความพึงพอใจแบบอันดับ (2) การค้นพบภาวะที่ดีที่สุดของการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หรือที่เรียกว่า "อุตมภาพพาเรโต"

13.2.1 ประวัติและผลงานของวาลราส
ผลงานสำคัญของ เลออง วาลราส คือ การสร้างทฤษฎีดุลยภาพทั่วไปซึ่งใช้วิธีทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ผลงาค้นคว้าที่ตีพิมพ์เผยแพร่ที่สำคัญ คือ วิจัยเศรษฐกิจสังคม วิจัยเศรษฐกิจการเมืองประยุกต์ สารัตถะเศรษฐกิจการเมืองบริสุทธิ์ ทฤษฎีคณิตศาสตร์ว่าด้วยความมั่งคั่งสังคม และทฤษฎีเงินตรา

13.2.2 เศรษฐศาสตร์ของวาลราส
โมเดลของ เลออง วาลราส ครอบคลุมตลาด 4 ตลาดคือ "ตลาดปัจจัย" "ตลาดทุน" "ตลาดการผลิต" "ตลาดสินค้าทุน"

13.2.3 เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต
อุตมภาพพาเรโต (วิลเฟรโด พาเรโต ) หมายถึง สภาพที่ไม่อาจเพิ่มฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นให้กับคนหนึ่งโดยที่ไม่ไปลดฐานะทางเศรษฐกิจของคนอื่น ๆ

13.3. แนวคิดสำนักเคมบริดจ์
1. ผลงานของมาร์แชล คือ หลักเศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรมและการค้า และเงินตรา สินเชื่อและการพาณิชย์
2. เศรษฐศาสตร์ของมาร์แชล ได้เสนอแนวคิดใหม่ในการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ได้แก่ วิธิวิทยาแบบดุลยภาพบางส่วน ความยืดหยุ่นส่วนเกินผู้บริโภค เวลากับการวิเคราะห์ราคา การเติบโตของวิสาหกิจ และอุตสาหกรรม ทฤษฎีการเงิน
3. เศรษฐศาสตร์ของพิกู เน้นเรื่องเศรษฐศาสตร์สวัสดิการซึ่งว่าด้วยความกินดีอยู่ดีทางเศรษฐกิจของประชาชน ประพจน์พื้นฐานของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการดังนี้ (1) รายได้ประชาชาติจะต้องเพิ่มขึ้น (2) การแบ่งปันรายได้ประชาชาติจะต้องมีความเป็นธรรม และ (3) รายได้ประชาชาติจะต้องมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ พิกู ยังเสนอแนวคิดว่าด้วย ผลผลิตหน่วยสุดท้ายของสังคม และของบุคคล เพื่อเป็นตัววัดสวัสดิการของสังคม

13.3.1 ประวัติและผลงานของมาร์แชล
ผลงานสำคัญของ อัลเฟรด มาร์แชล คือหลักเศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรมและการค้า เงินตรา สินเชื่อ และการพาณิชย์

13.3.2 เศรษฐศาสตร์ของมาแชล
เศรษฐศาสตร์มาร์แชล ( อัลเฟรด มาร์แชล ) ได้เสนอแนวความคิดและเครื่องมือในทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญคือ วิธีวิทยาแบบดุลยภาพบางส่วน ความยืดหยุ่น ส่วนเกินของผู้บริโภค เวลากับการวิเคราะห์ราคา แนวคิดการเติบโตของวิสาหกิจ ทฤษฎีการเงินเป็นต้น

13.3.3 เศรษฐศาสตร์ของพิกู
ประพจน์พื้นฐานของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการในทรรศนะของ พิกู (อาร์เทอร์ เซซิล พิกู ) คือ (1) รายได้ประชาชาติจะต้องเพิ่มขึ้น (2) การแบ่งปันรายได้ประชาชาติต้องมีความเป็นธรรม (3) รายได้ประชาชาติจะต้องมีเสถียรภาพ

หน่วยที่ 14 แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

1. ตั้งแต่ปี 1920 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วไปและการว่างงานเรื้อรัง ทำให้เคนส์ได้ศึกษาข้อบกพร่องของเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม ที่อธิบายถึงการเกิดดุลยภาพการจ้างงานเต็มที่ โดยผ่านกลไกการปรับตัวอัตโนมัติของเศรษฐกิจภายใต้การแข่งขันเสรี และได้พัฒนาแนวคิดโดยการรวมการวิเคราะห์เศรษฐกิจจริง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตและการจ้างงาน กับเศรษฐกิจเงินเข้าอยู่ในกรอบทฤษฎีเดียวกัน และใช้รายได้เป็นตัวปรับดุลยภาพที่สำคัญแทนราคา โดยเคนส์ได้เสนอแนวคิดนี้ในหนังสือ ทฤษฎีทั่วไปของการจ้างงาน ดอกเบี้ยและเงิน ในปี 1936
2. ระบบทฤษฎีของเคนส์ เป็นการรวมการวิเคราะห์เศรษฐกิจจริงกับเศรษฐกิจเงินเข้าในกรอบทฤษฎีเดียวกัน และเสนอหลักอุปสงค์มีผลในการกำหนดการผลิต รายได้ประชาชาติ และการจ้างงาน
3. การปฏิวัติเคนเซี่ยน เริ่มต้นจากผลงานทฤษฎีทั่วไปของเคนส์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และนโยบายเศรษฐกิจมากมาย ในทศวรรษ 1950 และ 1960 ทุกประเทศได้ดำเนินนโยบายการจ้างงานตามหลักอุปสงค์มีผลของเคนส์อย่างกว้างขวางเพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน

14.1. กำเนิดเศรษฐศาสตร์ของเคนส์
1. เคนส์มีสภาพแวดล้อมอยู่ในวงวิชาการ บิดาเป็นอาจารย์เศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จบการศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ต่อมาได้ศึกษาเศรษฐศาสตร์ เป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงอินเดีย อาจารย์บรรยายวิชาเศรษฐศาสตร์ บรรณาธิการวารสารอีคอนอมิกเจอร์นาล เป็นตัวแทนกระทรวงการคลังของอังกฤษเข้าร่วมประชุมเพื่อปฏิรูประบบเงินตราและการเงินระหว่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
2. ผลงานที่สำคัญได้แก่ บันทึกปฏิรูปการเงิน นิพนธ์ว่าด้วยเงิน และที่สำคัญที่สุดได้แก่ ทฤษฎีทั่วไปของการจ้างงาน ดอกเบี้ยและเงิน ซึ่งถือกันว่าเป็นพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์มหภาค
3. เคนส์มีความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการว่างงานในอังกฤษ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นผลจากการที่อังกฤษหันกลับไปใช้ระบบมาตรฐานทองคำ ซึ่งยึดติดกับค่าทองคำเดิมเมื่อก่อนสงคราม เพราะเท่ากับเป็นการสละดุลยภาพภายในประเทศ ทำให้ผลเสียหายกับชนชั้นวิสาหกรและกรรมกร ซึ่งเป็นผู้ทำการผลิตในประเทศ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการว่างงาน ในขณะที่การรักษาดุลยภาพภายนอกจะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนักลงทุนในต่างประเทศและผู้ทำการค้าต่างประเทศเท่านั้น
4. เคนส์มีความเห็นว่า ทุนนิยมปัจเจกบุคคลโดยการปล่อยให้ทำนั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ควารแยกเจ้าของกับการบริหารออกจากกันและในขณะเดียวกันรัฐบาลควรเข้ามาดูแลในเรื่องความยุติธรรมและเสถียรภาพของสังคม ด้วยการกำกับดูแลเศรษฐกิจเพื่อเสริมในส่วนที่ภาคเอกชนทำไม่ได้

14.1.1 ประวัติและผลงานของเคนส์
สาระสำคัญของหนังสือ ผลลัพท์ทางเศรษฐกิจของสนธิสัญญาสันติภาพ มีสาระเกี่ยวกับการเรียกค่าปฏิกรรม สงครามจากเยอรมนี ผู้แพ้สงครามจำนวนมากมหาศาลไม่เพียงแต่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเยอรมันีต้องล้มละลายเท่านั้น แต่ยังจะทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วทั้งยุโรปอีกด้วย

14.1.2 การว่างงานกับระบบมาตรฐานทองคำ
จอห์น เมนาร์ด เคนส์ ไม่เห็นด้วยกับการที่อังกฤษจะหันกลับไปใช้ระบบมาตรฐานทองคำอีกครั้งหนึ่ง เพราะจะทำให้ไม่สามารถสร้างเสถียรภาพให้กับระดับราคาภายในประเทศ และยังไม่เป็นเงื่อนไขเพียงพอที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับอัตราแลกเปลี่ยนอีกด้วย

14.1.3 ทุนนิยมในทรรศนะของเคนส์
จอห์น เมนาร์ด เคนส์ มีความเห็นว่า รัฐบาลจะต้องจะต้องเข้ามาพยุงเศรษฐกิจในยามคับขันเฉพาะในขอบเขตที่เอกชนทำไม่ได้เท่านั้น เช่น
ส่งเสริมให้มีบริษัทมหาชนมากขึ้น เพื่อแบ่งแยกความเป็นเจ้าของกับการบริหารงานออกจากกัน
ใช้นโยบายเงินตราและสินเชื่อเพื่อควบคุมวัฏจักรธุรกิจและการว่างงาน
การเก็บรวบรวมสารสนเทศ
การกำหนดขนาดการออมของสังคมและทิศทางของการลงทุน
การกำหนดขนาดของประชากรที่เหมาะสม

14.2. ระบบทฤษฎีของเคนส์
1. เคนส์ได้วิพากษ์วิจารย์ทฤษฎีการจ้างงานแบบดั้งเดิมว่าข้อสมมติการจ้างงานเต็มที่นั้นไม่สมเหตุผล และกลไกตลาดไม่สามารถทำหน้าที่ได้โดยสมบูรณ์ เพราะในความเป็นจริงอำนาจการตัดสินใจในการจ้างงานขึ้นกับวิสาหกรมากกว่า และกรรมกรคำนึงถึงอัตราค่าจ้างเงินมากกว่าค่าจ้างจริง ทำให้อาจเกิดดุลยภาพในระดับการจ้างงานไม่เต็มที่
2. เคนส์มีความเห็นว่า อุปสงค์มีผลเป็นตัวกำหนดระดับรายได้ประชาชาติและปริมาณการจ้างงานซึ่งสามารถอธิบายการเกิดดุลยภาพได้ทั้งในระดับการจ้างงานเต็มที่และไม่เต็มที่ โดยอาจทำให้เกิดการว่างงานแบบไม่สมัครใจขึ้นได้
3. ระดับของอุปสงค์มีผลจะถูกกำหนดโดยฟังก์ชั่นอุปสงค์มวลรวม ในระบบเศรษฐกิจปิดที่ไม่มีการค้าระหว่างประเทศจะประกอบด้วยรายจ่ายเพื่อการบริโภคและรายจ่ายเพื่อการลงทุนรายจ่ายเพื่อการบริโภคขึ้นอยู่กับรายได้โดยตรง และมีเสถียรภาพส่วนรายจ่ายเพื่อการลงทุนขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นตัวกำหนดที่สำคัญในอุปสงค์มีผลและเมื่อลงทุนเพิ่มขึ้นจะทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นหลายเท่า ตามค่าของตัวคูณ ซึ่งมีค่าเท่ากับส่วนกลับของแนวโน้มการออมหน่วยสุดท้าย
4. ทฤษฎีความพึงใจสภาพคล่องเป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายการกำหนดอ้ตราดอกเบี้ยของเคนส์ เคนส์มีความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนต่อการยอมปล่อยสภาพคล่องออกไปชั่วคราว ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงคนจะถือเงินน้อย ถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำคนจะถือเงินมากขึ้น ดุลยภาพของอัตราดอกเบี้ยจะถูกกำหนด ณ ปริมาณอุปทานเท่ากับอุปสงค์ของเงินที่เกิดจากแรงจูงใจสภาพคล่องต่างๆ ของผู้คน และการออมไม่จำเป็นต้องเท่ากับการลงทุนเสมอไป เนื่องจากคนออมกับคนลงทุนเป็นคนละคนกัน

14.2.1 วิพากษ์ทฤษฎีการจ้างงานแบบดั้งเดิม
ทฤษฎีการจ้างงานของ เคนส์ อธิบายกลไก การเกิดการว่างงานโดยไม่สมัครใจ เคนส์มีความเห็นว่า การว่างงานโดยไม่สมัครใจอาจเกิดขึ้นได้เพราะ กลไก ตลาดไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ของแรงงานเท่านั้น ไม่ได้อยู่ในตลาดแรงงาน แต่อยู่ที่ตลาดผลผลิตหรือขนาดของอุปสงค์มีผลหรืออำนาจซื้อจริงที่มีต่อสินค้าในตลาดผลผลิต นอกจากนี้ค่าจ้างเงิน มีแนวโน้มอยู่ในระดับเดิมเนื่องจากสภาพแรงงานต่างก็ควบคุมแข่งขันซึ่งกันและกัน

14.2.2 หลังอุปสงค์มีผล
หลักอุปสงค์มีผลของ เคนส์ ใช้อธิบายกำหนดปริมาณการจ้างและการเกิดภาวะการว่างงานโดยไม่สมัครใจ ซึ่งสามารถอธิบายการจ้างงานในระดับที่ต่ำกว่าการจ้างงานเต็มที่ได้ด้วย

14.2.3 ทฤษฎีรายได้และตัวคูณ
เคนส์มีความเห็นว่า ปัจจัยที่กำหนดรายจ่ายในการลงทุน ได้แก่ ประสิทธิภาพหน่วยสุดท้ายของทุนและอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินทุน

14.2.4 ทฤษฎีความพึงใจในสภาพคล่อง
"กับดักสภาพคล่อง" ได้แก่ปรากฏการณ์ในช่วงของเศรษฐฏิจตกต่ำมากๆ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดต่ำมาก แต่การลงทุนไม่กระเตื้องขึ้น เพราะประสิทธิภาพหน่วยสุดท้ายของการลงทุนต่ำด้วย จึงไม่มีผลต่อการกระตุ้นการลงทุน หรือเกิดจากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมาก นักเก็งกำไรกลัวว่าราคาที่เพิ่มขึ้นสูงไปมากพึงจะตกลงมา จึงพากันเทขายหุ้นเพื่อเก็บเงินสดไว้ ความต้องการสภาพคล่องจึงมีมากแบบไม่มีที่สิ้นสุด

14.3. การปฏิวัติเคนเซี่ยน
1. การปฏิรูปทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเคนส์ คือการปฏิเสธกฎของเซย์ ซึ่งทำให้เกิดดุลยภาพ ณ ระดับการจ้างงานเต็มที่เสมอ ทฤษฎีทั่วไปของเคนส์ถือได้ว่าเป็นทฤษฎีรายได้ประชาชาติ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แบบมหภาค และได้ข้อสรุปว่าภายใต้ระบบทุนนิยมปัจเจกบุคคลนี้ วิกฤติเศรษฐกิจและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจะเกิดจากความไม่เพียงพอของอุปสงค์มีผลหรือความไม่เพียงพอจากรายจ่ายเพื่อการลงทุนซึ่งเป็นปัญหาของชาติที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
2. นโยบายของเคนส์ ได้แก่การสนับสนุนการแก้ปัญหาการว่างงานด้วยรายจ่ายภาครัฐที่ทำให้เกิดผลผลิต และได้เปลี่ยนทรรศนะของทุนนิยมจากทรรศนะเดิมที่ว่าสังคมประกอบจากปัจเจกบุคคลหรือส่วนรวมเป็นผลมาจากการรวมของส่วนย่อย โดยมีความเห็นว่า การวิเคราะห์ปัญหาของสังคมโดยรวมควรใช้วิธีแบบมวลรวมจะเหมาะสมกว่า ซึ่งเป็นการมองในแง่มหภาค
3. ข้อจำกัดของการปฏิวัติแบบเคนเซี่ยนได้แก่ การสมมติให้สาขาการผลิตสินค้าบริโภคกับสินค้าทุนอยู่ในสัดส่วนที่สมดุล การตั้งอยู่บนข้อสมมติของการแข่งขันสมบูรณ์ และการขาดพื้นฐานจุลภาค และนโยบายการคลังแบบขาดดุล ในภาวะที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง อาจทำให้เกิดภาวะราคาเฟ้อได้

14.3.1 การปฏิรูปทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
ความแตกต่างของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเคนส์มีความแตกต่างจากนักเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมคือ
เคนส์ ปฏิเสธกฎของ เซย์
ดุลยภาพสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในกรณีการจ้างงานเต็มที่ และไม่เต็มที่
มีการว่างงานโดยไม่สมัครใจ
เป็นการวิเคราะห์แบบมหภาค
สำนักเดิม เชื่อในกฎของ เซย์
กลไกราคาจะทำให้เกิดดุลยภาพ การจ้างงานเต็มที่
มีเฉพาะการว่างงานโดยสมัครใจเท่านั้น
เป็นการวิเคราะห์แบบจุลภาค

14.3.2 นโยบายเคนเซี่ยนและการเปลี่ยนแปลงทรรศนะทุนนิยม
เคนส์ มีความเห็นว่า ส่วนรวมไม่ได้เป็นผลจากการรวมของส่วนย่อย ตัวอย่างเช่น การออมของแต่ละบุคคลอาจทำให้บุคคลนั้นมีฐานะดีขึ้น แต่ถ้าทุกคนในระบบเศรษฐกิจพร้อมใจกันอดออม จะทำให้การบริโภคโดยรวมลดลง และเป็นผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

14.3.3 ข้อจำกัดของการปฏิวัติเคนเซี่ยน
ข้อจำกัดของการปฏิวัติเคนเซียน ได้แก่ (1) การไม่มีหลักประกันว่าสัดส่วนของรายจ่ายเพื่อการบริโภคกับรายจ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งเป็นองค์ประกอบในอุปสงค์มีผลจะอยู่ในภาวะสมดุล (2) การลงทุนของวิสาหกิจผูกขาดและวิสาหกิจ โอลิโกโปลี มีส่วนทำให้อุปสงค์มีผลไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจทุนนิยมตกอยู่ในภาวะชะงักงันระยะยาว (3) การยอมรับข้อสมมุติของการแข่งขันสมบูรณ์ ทำให้ขัดกับข้อสรุปในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค (4) ปัญหาการคลังขาดดุลกลายเป็นปัญหาทางโครงสร้างที่เรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเรื่องการเมืองเข้ามาแทรก และยังดำเนินนโยบายขาดดุล ในภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรืองอาจทำให้เกิดภาวะราคาเฟ้อได้


หน่วยที่ 15 แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

1. วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจหลังปี 1973 คือ ปัญหาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจตกต่ำ เงินเฟ้อและการว่างงาน ปัญหาการพึ่งพิงภาคเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และปัญหาความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ระหว่างประเทศ
2. แนวคิดที่โต้แย้งเศรษฐศาสตร์เคนส์ที่สำคัญคือ แนวคิดการเงินนิยม แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน แนวคิดสำนักพึ่งพา
3. แนวคิดสำนักการเงินนิยม เน้นความสำคัญของเงินตราต่อระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจคือ รายได้ เงินเฟ้อ การจ้างงาน และกลไกตลาดเป็นเครื่องจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
4. แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน คือ การลดภาษี ส่งผลให้แรงจูงใจในการทำงาน การออม การลงทุนเพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อและการว่างงาน
5. แนวคิดสำนักพึ่งพา เห็นว่าการพัฒนาประเทศสู่ความทันสมัย โดยเน้นการผนวกเข้ากับระบบทุนนิยมโลกโดยผ่านกระบวนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ มีผลให้ปัญหาพึ่งพาระหว่างประเทศกำลังพัฒนาต่อประเทศที่พัฒนาแล้วยิ่งสูงขึ้น

15.1. วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจหลังปี 1973 ปัญหาและแนวคิดที่ท้าทายต่อเศรษฐศาสตร์เคนส์
1. วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจหลังปี 1973 ที่สำคัญได้แก่ ปัญหาอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจลดลง ปัญหาเงินเฟ้อและการว่างงาน ปัญหาการพึ่งพิงภาคเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และปัญหาความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ระหว่างประเทศ
2. แนวคิดที่โต้แย้งเศรษฐศาสตร์เคนส์ ได้แก่แนวคิดการเงินนิยม แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักพึ่งพา
3. ข้อโต้แย้งที่สำคัญของสำนักต่างๆ ต่อเศรษฐศาสตร์เคนส์ คือ ในทรรศนะของการเงินนิยมเห็นว่า ปรากฏการณ์ทางด้านเงินเฟ้อ และการว่างงานเกิดจากการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และสมมติฐานว่าด้วยเส้นโค้งฟิลลิปส์ เศรษฐศาสตร์ด้านอุปทานเห็นว่า ปัญหาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจตกต่ำเกิดจากสาเหตุสำคัญคือ ผลิตภาพของแรงงานต่ำ ส่วนกลุ่มสำนักพึ่งพาเห็นว่า ปัญหาการพึ่งพาภาคเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ตลอดจนปัญหาความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ระหว่างประเทศ เกิดจากความสัมพันธ์อันไม่เท่าเทียมกันในรูปเมืองแม่และดาวบริวาร

15.1.1 วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจหลังปี 1973
วิกฤตเศรษฐกิจในช่วงหลังปี 1973 คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดต่ำลง อัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงานอยู่ในระดับสูง ปัญหาการพึ่งพิงภาคเศรษฐกิจระหว่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนาต่อประเทศที่พัฒนาแล้วอยู่ในระดับสูง ดังจะเห็นได้จาก สัดส่วนของสินค้าส่งออกและนำเข้าต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นของประเทศกำลังพัฒนาประมาณร้อยละ 50-60 ตลอดจนการพึ่งพาเทคโนโลยีและเงินทุนจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น และประการสุดท้ายคือปัญหาความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ระหว่างประเทศ กล่าวคือช่องว่างระหว่างรายได้ของประเทศที่พัฒนากับประเทศกำลังพัฒนามีมากขึ้น

15.1.2 ปัญหาและแนวคิดที่ท้าทายต่อเศรษฐศาสตร์เคนส์
แนวคิดที่โต้แย้งเศรษฐศาสตร์เคนส์ที่สำคัญคือ แนวคิดสำนักการเงินนิยม แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน และแนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักพึ่งพา
แนวคิดนักการเงินนิยม โต้แย้งแนวความคิดเคนส์ในประเด็นสำคัญคือ ภาวะ Stagflation หรือ ภาวะทั้งอัตราเงินเฟ้อและการว่างงานในระดับสูง ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งการเพิ่มปริมาณเงินเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานย่อมส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อได้ เพราะในระยะยาวแล้ว ผลผลิตหรือรายได้ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้เป็นสัดส่วนกับปริมาณเงิน หรือผลผลิตหรือการจ้างงานอยู่ในภาวะการจ้างงานเต็มที่ ประกอบกับรัฐบาลไม่สามารถควบคุมอัตราดอกเบี้ยได้ ตลอดจนพฤติกรรมการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อของประชาชนหรือแรงงานได้อย่างถูกต้อง แสดงว่า เส้นโค้งฟิลลิปส์ ในระยะยาวจะเป็นเส้นตรง และตั้งฉากกับแกนนอนนั่นเอง
แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทานทได้แย้งแนวคิดเคนส์ในเรื่องปัญหาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดต่ำ เกิดจากประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานที่ลดต่ำลงเนื่องจาก อัตราภาษีที่สูง ส่งผลให้ ผู้ประกอบการขาดความกระตือรือร้นในการคิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ และแรงงานขาดแรงจูงใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
แนวคิดสำนักพึ่งพาได้โต้แย้งเศรษฐศาสตร์เคนส์ และนีโอคลาสสิก ปัญหาการพึ่งพาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และปัญหาความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ระหว่างประเทศเกิดจากประเทศที่พัฒนาแล้วเอาเปรียบประเทศกำลังพัฒนาโดยผ่านนโยบายสนับสนุนการค้าและการลงทุนโดยเสรี การดำเนินนโยบายการเงินการคลังแบบเคนส์ อิทธิพลในการกำหนดนโยบาบทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้การเพิ่มบทบาทบรรษัทข้ามชาติ มีผลให้ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถถ่ายเทส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากประเทศกำลังพัฒนาได้
15.2. แนวคิดการเงินนิยม
1. แนวคิดการเงินนิยมได้รับอิทธิพลจาก ทฤษฎีปริมาณเงิน ซึ่งเน้นความสำคัญของบทบาท ปริมาณเงินที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ คือ ระดับราคา การจ้างงาน ภาวะดุลการชำระเงิน และรายได้ประชาชาติ
2. แนวคิดการเงินนิยม มีสาระสำคัญคือ ปริมาณเงินเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง รายได้ประชาชาติ เงินเฟ้อ และปริมาณเงินเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย
3. ผู้นำนักคิดการเงินนิยม คือ ศาสตราจารย์ มิลตัน ฟรีดแมน เน้นว่า กลไกราคาจะเป็นกลไกที่ดีที่สุดในการจัดสรรทรัพยากรและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
4. ข้อวิจารย์ต่อทฤษฎีการเงินของ มิลตัน ฟรีดแมน ที่สำคัญคือ เน้นบทบาทปริมาณเงินที่มีต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจมากเกินไป ปริมาณเงินเป็นสิทรัพย์ที่ฟุ่มเฟือย อัตราหมุนเวียนของเงินมีเสถียรภาพ

15.2.1 ประวัติ แนวคิด และนักคิดการเงินนิยม
แนวคิดการเงินนิยม ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของทฤษฎีปริมาณเงินของ วาลราส นิวคอม และฟิชเชอร์ ซึ่งเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจหรือระบบตลาดค่อนข้างจะมีเสถียรภาพและถ้าระบบตลาดเป็นระบบแข่งขัน และบทบาทรัฐมีขอบเขตจำกัดในการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ ปริมาณเงินจะมีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือมีการจ้างงานเต็มที่ ภาวะดุลการชำระเงิน ระดับราคามีเสถียรภาพ

15.2.2 สาระสำคัญของแนวคิดการเงินนิยม
หลักการสำคัญของแนวคิดการเงินนิยม คือ
->ปริมาณเงินเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการกำหนดรายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงิน ถ้าหากปริมาณเงินเพิ่มขึ้นจะส่งให้ระดับรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
->ในระยะยาว ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นด้วยปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่ทางด้านการเงิน เช่น ความขยันในการทำงาน เทคโนโลยี
->การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยในทางกลับกันระยะสั้น แต่จะเป็นทิศทางเดียวกันในระยะยาว
->ปรากฏการณ์เงินเฟ้อไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากที่ใดจะต้องสืบเนื่องมาจากการเงินเสมอ
->ปริมาณเงินหมายถึง เงินในความหมายกว้าง หรือ M2
->รายได้ตามทรรศนะของการเงินนิยมเป็นรายได้ระยะยาว ซึ่งเป็นรายได้ที่บุคคลคาดว่าตนจะได้รับตลอดชีวิต

15.2.3 ข้อวิจารย์ทฤษฎีการเงินนิยมของฟรีดแมน
ทฤษฎีการเงินของฟรีดแมนที่สำคัญ คือ ฟรีดแมนเน้นบทบาทของปริมาณเงินที่มีต่อระบบเศรษฐกิจมากเกิน ไป อาทิเช่น เงินเฟ้อ เกิดจากการเพิ่มปริมาณเงินเสมอ ที่จริงแล้วอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สาเหตุทางด้านการเงิน เช่น เกิดจากโครงสร้างของระบบตลาดที่เกิดจากการผูกขาด เกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อวิจารณ์ที่สำคัญคือ ปริมาณเงินเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ฟรีดแมนใช้ปริมาณเงินมีผลให้การทดสอบสมมุติฐานว่า ความต้องการในการถือเงินจะมีความยืดหยุ่นต่อรายได้ที่แท้จริงมีค่าสูงถึง 1.8 หรือมีค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง

15.3. แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน
1. วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐหลังปี ค.ศ. 1973 ได้แก่ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ลดต่ำ ปัญหาเงินเฟ้อ และการว่างงาน ปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงิน เป็นสาเหตุสำคัญทำให้มีการรื้อฟื้นแนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน ซึ่งเน้นการแก้ปัญหาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดต่ำและเงินเฟ้อ
2. แนวคิดเบื้องหลังของเศรษฐศาสตร์เน้นด้านอุปทานคือเส้นโคงแลฟเฟอร์ ซึ่งหมายถึงเส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราภาษีกับรายได้จากภาษี โดยสาระสำคัญของแนวคิดนี้เน้นเรื่องการลดภาษี ส่งผลให้แรงจูงใจในการทำงาน การออมและการลงทุนเพิ่มขึ้น และมีผลต่อกำไรของหน่วยธุรกิจ ธุรกิจจะขยายการผลิตและการจ้างงาน ผลที่ตามมาคือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้นและเงินเฟ้อต่ำลง
3. การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาลเรแกน ใช้แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน โดยใช้นโยบายที่สำคัญคือ การลดอัตราภาษี การลดอัตราเพิ่มของรายจ่าย อัตราการเพิ่มของปริมาณเงิน และการยกเลิกกฏข้อบังคับที่ใช้ควบคุมธุรกิจ
4. ข้อวิจารย์ต่อแนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทานที่สำคัญ ได้แก่ ช่วงอัตราภาษีต้องห้าม อัตราภาษีเฉลี่ย ผลต่อการทำงานและพักผ่อน ผลต่อเงินเฟ้อ เป็นต้น

15.3.1 ความเป็นมาของระบบเศรษฐกิจด้านอุปทาน
กฎของเซย์มีใจความสำคัญคือ " อุปทานก่อให้เกิดอุปสงค์ในตังเอง "
แนวคิดของ อดัม สมิธ และ เจ บี เซย์ ที่เน้นเรื่องเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน
แนวคิดของ อดัม สมิธ ที่เน้นเรื่องเศรษฐศาสตร์อุปทาน คือ รัฐบาลไม่ควรเข้าแทรกแซงทางการค้า ควรปล่อยให้เอกชนดำเนินการค้าเสรี หรือใช้กลไกราคาเป็นเครื่องจัดสรรทรัพยากร ดังนั้น สมิธไม่เห็นด้วยกับการดำเนินนโยบายลัทธิพาณิชยนิยมที่เน้นการหาโลหะและเงินตราเข้าประเทศมากที่สุด โดยใช้มาตรการทางการค้า เช่น การตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าในอัตราสูง ตลอดจนการกดค่าแรงให้ต่ำ เพราะเป็นการทำลายแรงจูงใจในการผลิตสินค้าและบริการ สมิธ เสนอว่า ค่าแรงที่สูงขึ้นย่อมทำให้แรงจูงใจในการทำงานเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ประเทศสามารถเพิ่มอุปทานรวมของผลผลิตได้
แนวคิดของ เจ บี เซย์ คือ อุปทานก่อให้เกิดอุปสงค์ในตังเอง เพราะว่า ถ้าระบบเศรษฐกิจสร้างอุปทานของสินค้าเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นแรงผลักดันให้มีอุปสงค์ของสินค้าและบริการตามขึ้นมา

15.3.2 สาระสำคัญของแนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน
แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทานเน้นเรื่อง แรงจูงใจในการลงทุน การออมและการทำงานมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดภาวะเงินเฟ้อ เพราะเชื่อว่า ระบบภาษีที่สูงหรืออยู่บนช่วงต้องห้ามของเส้นโค้งแลฟเฟอร์บั่นทอนแรงจูงใจในการลงทุน การออม การทำงาน ตลอดจนประสอสิทธิภาพในการผลิต ดังนั้น รัฐควรลดภาษี ซึ่งจะมีผลให้กำไรของหน่วยธุรกิจมีมากขึ้น บุคคลจะทำงานมากขึ้น ทำให้การออมและการลงทุนเพิ่มขึ้น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะขยายตัว และผลก็คือ รายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น การขาดดุลงบประมาณลดลง และภาวะเงินเฟ้อลดลงด้วย

15.3.3 ข้อวิจารณ์แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน
ข้อวิจารณ์ที่สำคัญต่อเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน คือ
1. เป็นการยากที่จะระบุจุดแบ่งที่แท้จริง ระหว่างอัตราภาษีที่ดี และต้องห้ามบนเส้นโค้งแลฟเฟอร์
2. นักเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทานใช้ "อัตราภาษี" เดียวสำหรับระบบเศรษฐกิจเป็นส่วนรวม โดยไม่ได้แยกประเภทของภาษีและโครงสร้างของภาษี ซึ่งภาษีแต่ละประเภทมีผลกระทบต่อคัวแปรทางเศรษฐกิจ อาทิเช่น รายได้ เงินเฟ้อ การออม ระดับการจ้างงานแตกต่างกัน ดังนั้น การใช้ "อัตราภาษี" ส่วนรวมในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจย่อมผิดพลาดได้ง่าย
3. การลดอัตราภาษี ไม่จำเป็นที่จะส่งผลให้แรงงานทำงานเพิ่มขึ้น ถ้าหากว่าผลทางรายได้มีมากกว่าผลทางด้านทดแทนและผลงานวิจัยที่ผ่านมา การลดอัตราภาษีที่มีผลต่อการเพิ่มการทำงาน การออม การลงทุนยังไม่ชัดเจน

15.4. แนวคิดสำนักพึ่งพา
1. แนวคิดของสำนักพึ่งพาเน้นปัญหาความด้อยพัฒนาได้แก่ ปัญหาพึ่งพาการค้าและการลงทุนตลอดจนหนี้สินระหว่างประเทศและปัญหาความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ระหว่างประเทศ โดยเห็นว่า ปัญหา 2 ประการข้างต้นเกิดจาก กลยุทธการพัฒนาประเทศที่เน้นการส่งออกและการนำเข้า ส่งผลให้ประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศศูนย์กลาง สามารถดูดซับส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศบริวารไปได้
2. แนวคิดต่อสำนักพึ่งพาถูกวิจารณ์ในประเด็นที่สำคัญคือ ปัญหากรอบของทฤษฎี เน้นความสำคัญของการผนวกกับทุนนิยมโลกโดยผ่านกลไกการค้าและการลงทุนมากเกินไป ตลอดจนทางเลือกของปัญหาการพึ่งพาระหว่างประเทศ

15.4.1. ความเป็นมาและสาระสำคัญของสำนักพึ่งพา
แนวคิดสำนักพึ่งพามีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้คือ สาเหตุของความด้อยพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา (ขอบนอก) หรือดาวบริวาร เกิดจากการเอาเปรียบของประเทศที่พัฒนาแล้ว (แกนกลาง) โดยผ่านกระบวนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนามักจะเสียเปรียบเพราะว่า อัตราการค้าระหว่างประเทศของประเทศกำลังด้อยพัฒนามีแนวโน้มลดลง เพราะราคาสินค้าส่งออกมักมีราคาต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับราคาสินค้านำเข้า บรรษัทข้ามชาติขนกำไรกลับประเทศของตนและนำเงินมาลงต่อในประเทศกำลังพัฒนาน้อยเป็นต้น นอกจากนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศกำลังพัฒนา ในรูปของการครอบงำทางทหาร วัฒนธรรม สังคมและสื่อมวลชน เป็นต้น และมีผลทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา

15.4.2. ข้อวิจารณ์ต่อสำนักพึ่งพา
แนวคิดสำนักพึ่งพาถูกวิจารณ์ในประเด็นที่สำคัญ คือ ในด้านการเป็นทฤษฎีทั่วไป ที่จะประยุกต์ใช้กับประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไปและเน้นการผนวกกับระบบทุนนิยมโลก โดยผ่านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมากเกนไป โดยไม่คำนึงถึงผลดีจากการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่ประเทศกำลังพัฒนาสามารถพัฒนาทุนนิยมได้อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย อันประกอบด้วย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงค์โปร์ ในขณะเดียวกัน ความด้อยพัฒนาไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพึ่งพิงภายนอกเสมอไป หากแต่เกิดจากปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเหล่านั้นด้วย และประการที่สำคัญแนวคิดสำนักพึ่งพาไม่ได้เสนอทางเลือกต่อปัญหาการพึ่งพาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม

_______________________________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น