วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยสรุปลักษณะเศรษฐกิจสมัยล้านนาโบราณ
• ในชนบท ลักษณะเศรษฐกิจแบบพอเพียง
(Self-sufficiency economy) โดย
- ทำนา ผลิตข้าว
food - ทำไร่ ผลิตข้าวไร่ + ปลูกผักสวนครัว + ฝ้าย
- หาปลา - ล่าสัตว์ - เก็บของป่า
- งานหัตถกรรม ตีเหล็ก ทอผ้า เครื่องนุ่งห่ม จักสาน
ปั้นเครื่องปั้นดินเผา
􀀖ยารักษาโรค สมุนไพร + หมอผี
􀀖ที่อยู่อาศัย ใช้วัสดุจากป่ารอบ ๆ ชุมชน
􀀟กรรมสิทธิในที่ดิน ชนบท : เป็นของสมาชิกชุมชน จำนวนพื้นที่แต่ละครัวเรือน
ขึ้นกับจำนวนคนในครัวเรือน มีการจัดสรรที่ทำกินใหม่ทุกระยะเวลาหนึ่ง เมื่อ
เปลี่ยนหัวหน้าหมู่บ้าน หรือเมื่อมีประชากรมากจนขาดความเป็นกรรมแก่บาง
ครัวเรือน แต่นายบ้านมักจะได้ที่ทำกินที่ดีที่สุด
􀀟การผลิต : ในระยะแรกของการตั้งชุมชน พื้นที่ป่าใกล้ชุมชนจะทำข้าวไร่และ
พืชผักสวนครัว แต่พอทำไปได้ระยะหนึ่ง พื้นที่ราบจะถูกแปลงเป็นนาดำ ซึ่ง
ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวไร่ และไม่ต้องใช้ที่มากเท่าข้าวไร่ซึ่งต้องมีพื้นที่หมุนเวียน
6-7 เท่าของการทำนา
เนื่องจากในล้านนาอยู่ในหุบเขาพื้นที่ราบสำหรับทำนามีน้อย ที่เชิงเขา บนเขาจึงเป็นที่ปลูก
ข้าวไร่ แต่ที่ราบใช้ทำนาและใช้ระบบชลประทานด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ที่ดิน
ชุมชนมีการจัดองค์ดูแล ระบบเมืองฝาย มีแก่เหมือง แก่ฝายเป็นผู้ช่วยนายบ้านในการดูแลเหมือง
ฝาย รัฐเองก็ออกกฎหมายสนับสนุนระบบเหมืองฝายของชุมชน เช่น บีบให้ทุกคนต้องช่วยกันดูแล
รักษาเหมืองฝาย ใครไม่ช่วยดูแลจะไม่มีสิทธิใช้น้ำ หากไปลักน้ำถูกเจ้าของนาตีตาย ก็ตายฟรีจะ
ฟ้องร้องไม่ได้
􀀠ในเมือง มีเจ้าขุนนางเป็นผู้ปกครอง ทำหน้าที่ปกครอง ตัดสินคดี ปราบโจรผู้ร้าย ทำ
สงคราม นอกจากนี้ยังมีช่างฝีมือ พ่อค้า นักบวช
ราษฎรตอบแทนชนชั้นปกครองโดยการ
1) เสียส่วย (ภาษี) ให้ทุกปี มีเสียเป็นข้าว ซึ่งรัฐ จะยกเว้นให้ 3 ปีแรกของการบุกเบิกนา
2) ทำงานให้หลวงคราวละ 10 วัน พัก 10 วัน สลับกัน (ปีละ 6 เดือน)
3) เป็นทหารเวลาเกิดศึกสงคราม
การค้าขาย
􀀠ระหว่างหมู่บ้านมีการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชาวบ้าน เช่น ใช้เกลือแลกมีด จอบเสียม
ปลาแลกข้าว
􀀠การค้าระหว่างหมู่บ้านกับเมืองมีน้อย เพราะหมู่บ้านส่วนมากเป็นหน่วยผลิตที่พึ่งตัวเอง
ได้และพึ่งหมู่บ้านด้วยกันไม่ค่อยพึ่งเมือง ประกอบกับการคมนาคมไม่ค่อยสะดวก
􀀠การค้าระหว่างเมืองกับเมืองมีอยู่บ้างในระหว่างเมืองในล้านนา ล้านช้าง สิบสองจุไท
สอบสองปันนา ยูนนาน ไทใหญ่ในพม่า โดยใช้เงินตรา กับสินค้าแลกสินค้าควบคู่กัน
ไป
โครงสร้างชนชั้นสมัยศักดินาของล้านนา
เจ้าขุนนาง ออก ก.ม.+ปกครอง
ที่ดินเป็นของรัฐ
ไพร่---------- ไพร่ส่งผลิต
(ชาวนา + ช่าง ---(ภาษี) และแรงงานให้รัฐ
+ พ่อค้า)------- เข้า 10 วัน ออก 10 วัน
ทาส (ข้า)
โครงสร้างอำนาจในชุมชน
กลุ่มผู้ปกครอง
􀀠 ผู้นำหมู่บ้าน-- ควบคุมดูแล
􀀠แก่เหมือง --เหมืองฝาย
􀀠แก่ฝาย -----บริหารการใช้น้ำ
ที่ดินเป็นของชุมชนหมุนเวียนการครอบครองที่ดิน

บทที่ 2
สรุปลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย
1. เป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง (Self-sufficiency economy) เป็นส่วนใหญ่
2. อาชีพหลักคือทำนา อาชีพรอง ทำไร่(รวมข้าวไร่) ทำสวน หาปลา ล่าสัตว์ ค้าขาย ผลิต
เครื่องสังคโลก
3. การทำนา : ที่ดินเป็นของรัฐ ราษฎรเป็นผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งสามารถสืบทอดสิทธิการ
ใช้ประโยชน์ไปยังทายาทได้ มีการสร้างทำนบและคลองชลประทาน (เช่นคลองพระร่วงที่
เรียกกันมานานว่าถนนพระร่วง) เชื่อมพื้นที่ทำการเกษตรจากเมืองศรีสัชนาลัย-สุโขทัย-
กำแพงเพชร ระยะทางประมาณ 123 กม.
4. อุตสาหกรรมสังคโลก
􀀠มีการนำช่างจีนมาช่วยพัฒนา ceramic
􀀠รัฐน่าจะเป็นเจ้าของกิจการ(บางแห่ง)
􀀠แหล่งผลิตใหญ่ที่สุดอยู่ที่เกาะน้อย(ศรีสัชนาลัย)
􀀠ตลาดสังคโลกมีทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
จีน ลังกา
5. การค้า : มีทั้งในตัวเมือง(ตลาดปสาน) ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ เป็นระบบการค้า
เสรี (free trade) รัฐไม่เก็บภาษีผ่านด่าน ไม่มีการจำกัดโควต้า
􀀠ใช้เงินพดด้วงในลุ่มเจ้าพระยา กับใช้เงินตราอื่น ๆ ในท้องถิ่น เช่น เงินลาด
เงินฮ้อย เงินฮาง กับใช้สินค้าแลกกัน ใช้หอยเบี้ยเป็นตัวกลางด้วย
􀀠ตอนปลายสมัยสุโขทัย การค้ามีปัญหาในการส่งออกเพาะถูกกีดกันจากอยุธยา
เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง สุโขทัยต้องเลี่ยงไปส่งออกทางตะวันตก
ผ่านแม่สอด เมาะตะมะแต่ค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะต้องขน ceramic (ข้ามเขา)
6. ความสำคัญของเศรษฐกิจต่อการเมือง
สุโขทัยมีจุดอ่อนทางเศรษฐกิจมาก เพราะ
􀀠ขาดแรงงาน 􀀠ฝนแล้ง
􀀠ขาดพื้นที่ปลูกข้าวที่เหมาะสม
􀀠ขาดอิสระ : ในการค้ากับต่างประเทศ พื้นที่ไม่ติดทะเลเป็น landlocked
ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ทำให้สุโขทัยอ่อนแอทางการเมืองด้วย ถูกอยุธยาโจมตี
ติดต่อกัน หลายครั้งในที่สุดก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาและท้ายที่สุดถูกอยุธยาเอาไปรวมเป็น
ส่วนหนึ่งของอยุธยา แต่กว่าจะรวมได้จริง ๆ ต้องทำสงครามกับสุโขทัย และทำสงครามกับ
ล้านนาเป็นเวลานาน มาจนถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
บทที่ 3
เศรษฐกิจสมัยอยุธยา
การขูดรีดผลผลิตส่วนเกินของรัฐสมัยอยุธยา
(รายรับรัฐบาล)
1. ส่วย 􀀠แรงงาน (ไพร่หลวง 6 เดือน ไพร่สม 1 เดือน ทาส 8 วัน)
􀀠สิ่งของจากไพร่ส่วยไม่มีของก็ส่งเงินแทน
􀀠บรรณาการจากประเทศราช
2. ฤชา 􀀠ค่าธรรมเนียมศาล
􀀠ค่าตั้งค่าตรา เวลาแต่งตั้งขุนนาง
􀀠ค่าปรับไหมผู้แพ้คดี ทำผิด ก.ม.
􀀠พัธยา (รับจากทายาทคนรวย)
3. จังกอบ = ภาษีผ่านด่าน (10%)
4. อาการ 􀀠ค่านา ไร่ละ 1 สลึง หรือข้าว 1 ถังข้าวเปลือก
􀀠อากรสวน
􀀠อากรสมพัตรสร เก็บจากผู้ปลูกพืชไร่
􀀠อาการตลาด
􀀠อากรสุรา
􀀠อากรบ่อนเบี้ย
􀀠อากรโสเภณี
􀀠อากรค่าน้ำ
5. การผูกขาดการค้าของพระคลังสินค้า
รายจ่ายของรัฐบาลสมัยอยุธยา
1. ราชสำนัก
2. การทหาร
3. การศาสนา
4. บริหารทั่วไป และสาธารณูปโภค
เศรษฐกิจภาคเอกชนสมัยอยุธยา
1. การเกษตร : เป็นอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ (=90%)
􀀠ทำนาหว่านในเขตน้ำท่วม 􀀠ทำนาดำในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วม
􀀠ผลผลิตข้าว/ปี ราว 768,000 ตัน บริโภคราว 6 แสนตัน (78%) ที่เหลือ 22% เสีย
ภาษีทำบุญ ทำพันธุ์
􀀟บทบาทของรัฐบาลด้านการเกษตร 􀀟
􀀠ออกโฉนดเพื่อเก็บภาษี และคุ้มครองสิทธิ
􀀠ให้ยืมวัวควาย
􀀠จัดพิธีโล้ชิงช้า ขอฝน(พิรุณศาสตร์)
􀀠ขุดคลอง 8 คลอง
􀀠ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน วัวควาย
2. การค้าสมัยอยุธยา
1) อยุธยามีทำเลค้าขายที่ดีมากเพราะแม่น้ำ 3 สาย (เจ้าพระยา, ป่าสัก,ลพบุรี) มาพบกัน
2) มีการค้าเกิดขึ้นก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา (ก่อน พ.ศ.1893) คือ สมัยอโยธยา (ตั้งอยู่ด้าน
ตะวันออกของอยุธยา ฝั่งซ้ายแม่น้ำป่าสักปัจจุบัน)
3) ทำไมคนไทยค้าขายน้อยโดยเฉพาะไพร่น้อยมาก
􀀠การเข้าเดือนออกเดือนของไพร่
􀀠การสังกัดมูลนาย
􀀠การขูดรีดภาษีต่าง ๆ จากรัฐบาล
4) บทบาทของรัฐบาลในการค้า
􀀠รัฐ(พระคลังสินค้าผูกขาดการค้าหลายชนิด)
- ไม้กฤษณา - งาช้าง - ผ้าแดง
- ฝาง - หนังสัตว์ - ถ้วยชาม
- ไม้จันทน์ - หมากสง
- นอระมาต - ดินประสิว
- ช้าง
􀀠รัฐผูกขาดการเลือกซื้อสินค้าได้ก่อนจากเรือสินค้าที่เข้ามาจากต่างประเทศได้ก่อน
เอกชน
􀀠เรือสินค้าของรัฐได้รับยกเว้นภาษีเข้าขาออก
􀀠สินค้าหลายชนิดมาจากส่วย
􀀠เรือสินค้าของรัฐ 2 ลำที่ไปกับฑูตที่ไปเมืองจีนได้รับยกเว้นภาษีขาเข้าขาออก
ถึง 4 เที่ยว
5) สินค้าออกที่สำคัญสมัยอยุธยา
􀀠หนังสัตว์ (ส่วนมากเป็นหนังกวาง)
􀀠งาช้าง 􀀠รังนก
􀀠ดีบุก 􀀠ไม้ซุง
􀀠ดินประสิว 􀀠ยางไม้
􀀠ข้าว
6) สินค้าเข้าที่สำคัญ
􀀠ผ้าฝ้ายชั้นดี 􀀠เงิน(โลหะ)
􀀠ผ้าไหมชั้นดี
􀀠สี
􀀠เครื่องเทศ
บทที่ 4
เศรษฐกิจสมัยธนบุรี-สัญญาเบาริ่ง (ร.4 2398)
􀀠การเกษตรกรรม : ผลิตเพื่อยังชีพเหมือนเดิม
􀀠การค้า
1. ตลาดต่างประเทศ : ค้าขายกับจีนมากที่สุด (50-85%) รองลงมาคือ ปีนังและ
สิงคโปร์
2. ระบบการค้ากับจีน : รัฐใช้ระบบการค้าผสมการฑูต (tributary trade) = ส่งเรือ
สินค้าไปกับเรือฑูต
3. ผู้ประกอบการค้า
1) นายทุนไทย : มี King เป็นนายทุนใหญ่ที่สุด เจ้าขุนนางรองลงมา คน
ไทยที่เป็นไพร่ค้าขายน้อยมากเพราะพันธนาการของระบบไพร่
2) นายทุนต่างชาติ : คนจีนเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดค้ากับไทย/ในไทยมาตั้งแต่
สมัยสุโขทัย และยังได้สิทธิเหนือคนชาติอื่นและเหนือไพร่ด้วย
4. ภาษีการค้า
1) ภาษีขาเข้า เฉลี่ย 8%
2) ภาษีขาออก 6.25-80 % แล้วแต่ชนิดของสินค้า
3) ภาษีปากเรือ สมัย ร.1 วาละ 12-20 บาท ร.2 วาละ 80-118 บาท
สมัย ร.3 ฝรั่ง 1,500-1,700 บาท/วา จีนและอื่น ๆ 198.25-
1,562.56 บาท/วา
5. สินค้าออกที่สำคัญ
􀀠น้ำตาล 􀀠รังนก 􀀠ดีบุก
􀀠ไม้ฝาง 􀀠ครั่ง 􀀠ข้าว
􀀠พริกไทย 􀀠ยาสูบ 􀀠หนังสัตว์
􀀠รง 􀀠เกลือ
6. สินค้าเข้าที่สำคัญ
􀀠สิ่งทอ 􀀠เครื่องปั้นดินเปา 􀀠ชา
􀀠ฝิ่น 􀀠กระดาษ
7. ระบบการคลัง : คล้ายสมัยอยุธยาแต่

ใช้ระบบเจ้าภาษีนายอากร ซึ่งเป็นเอกชนเข้ามาช่วยเก็บภาษีส่งให้รัฐบาล ใคร
ประมูลให้ราคาสูงสุด(Tax)แก่รัฐ รัฐก็จะให้เป็นเจ้าภาษีซึ่งมีอยู่ถึง 42 ชนิดสมัย ร.3 อากรมี 17 ชนิด
ส่วนใหญ่เอกชน(นายอากร)เป็นผู้เก็บแทนรัฐบาล
􀀠เหตุที่ใช้ระบบเจ้าภาษีนายอากร􀀠
1. ประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีดีกว่าให้เจ้าหน้าที่เก็บ
2. รัฐไม่ต้องสิ้นเปลือง งบประมาณในการจัดเก็บ
3. คนจีนคิดภาษีใหม่เสนอรัฐบาล
􀀠ผลเสียของระบบเจ้าภาษี 􀀠
1. ราษฎรถูกเก็บภาษีมาก, ซ้ำซ้อน ทำให้หมดกำลังใจในการคิดประกอบการ
2. ทำให้การค้าไม่คล่องตัว สินค้าแพงเกินไป
3. ในระยะยาวเกิดระบบดินพอกหางหมู ภาษีตกค้าอยู่กับเจ้าภาษีและกรมต่าง ๆ
มาก จนรัฐบาลขาดเงินและไม่อาจประมาณรายรับได้
บทที่ 5
ระบบเศรษฐกิจตั้งแต่สัญญา Bowring-ร.5
การผลิต : ผลกระทบจากสัญญา Bowring
1. การแตกสลายของเศรษฐกิจแบบพอเพียง
เดิมผลิตทุกอย่างในชุมชน ผลิตเฉพาะอย่าง
ผลิตเพื่อขาย
2. เกิดการเสื่อมโทรมของอุตสาหกรรมพื้นบ้าน เลิกผลิตสิ่งทอ, เครื่องมือเหล็ก,
Ceramic, น้ำตาลหันไปซื้อของนอก เฉพาะสิ่งทอนำเข้าถึง 30% ของสินค้าเข้าทั้งหมด เหตุที่เลิก
ผลิตเองเพราะของนอกราคาถูกเพราะผลิตด้วยเครื่องจักร และชาวนาไม่ค่อยมีเวลาผลิตสินค้า
หัตถกรรม เนื่องจากเอาเวลาไปทุ่มผลิตพืชเศรษฐกิจมาก ๆ เพื่อขาย
3. เกิดการผลิตเพื่อการค้าแบบเมืองขึ้น เช่น
ข้าว : เดิมข้าวมีมูลค่าส่งออกอยู่อันดับ 11 หลังสัญญา Bowring ราคาข้าวสูงชาวนา
จึงขยายพื้นที่ปลูก 15 ปี หลังสัญญา Bowring ข้าวกลายเป็นสินค้าอันดับ 1 มีมูลค่าถึง 55 % ของ
การส่งออก ตลาดหลักคือ อาณานิคมของฝรั่งซึ่งลดการปลูกข้าวเพราะถูกบังคับให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ
เช่น ยางพารา กาแฟ ทำให้อาณานิคม เช่น อินโดนีเซีย มลายู อาฟริกาใต้ ขาดแคลนข้าวมากต้องหัน
มาซื้อจากไทย
ไม้สัก
พื้นที่ป่าไม้ภาคเหนือ ภาคตะวันตกที่มีไม้ดี ๆ เช่นไม้สักจะถูกบริษัทฝรั่งเข้ามาเช่าทำ
สัมปทานไม้คราวละ 6 ปี รัฐบาลได้ผลประโยชน์น้อยมาก คือ ค่าเช่าปีละ 1300 รูเบียต่อราย (1 รู
เปีย = .75 บาท) แรงงานส่วนใหญ่เป็นพวก ขมุ เงี้ยว พม่า มอญ ซึ่งเป็นคนในบังคับอังกฤษ แต่ขมุ
ได้ค่าแรงต่ำมาก ปีละ 60 รูเปีย (ไม่รวมค่าอาหาร ส่วนพวกอื่นได้มากกว่าขมุ 30-40% )
พื้นที่สัมปทาน ผู้รับสัมปทาน
เขตเชียงใหม่ บริษัทบอร์เนียว(7 แปลง) อังกฤษ
เจ้าทิพโสภา (1) สยาม
เขตลำปาง บริษัทบอมเบย์เปอร์มา(10) อังกฤษ
บริษัทสยามฟอเรสต์ (1) อังกฤษ
น้อยบุญหลง (1) สยาม
เจ้าบุยวาทย์วงษ์มานิต (1) สยาม
เขตลำแพร่ บริษัทบอมเบย์เบอร์มา(2) อังกฤษ
พระยาราชบุตรฯลฯ (3) สยาม
เขตลำพูน บริษัทบอมเบย์เบอร์มา (1) อังกฤษ
บริษัทบอร์เนียว (1) ”
เขตตาก บริษัทบอร์เนียว (1) ”
เขตอุทัย บริษัทบอมเบย์เบอร์มา (1) “
รายย่อยที่ได้รับสัมปทานทำไม้ เช่น
พื้นที่สัมปทาน ผู้รับสัมปทาน
เขตน่าน(แม่ยมตะวันตก) บ.กิมเซงหลี(1) สยาม
เขตพะเยา (แม่ตั๋ม) เจ้าน้อยไชยลังกา ”
เขตตาก (ต.ประดาง) นายปีมี สมิท ฮอลันดา
(คลองวังเจ้า) บ.อีสเอเซียติก เดนมาร์ก
เขตลุ่มน้ำสาละวิน
แม่ฮ่องสอน แม่ลานเจ้าราชวงศ์ สยาม
เจ้าอุปราช แม่ปาย สยาม
แม่เมย เจ้าสุริยวงศ์ สยาม
􀀠ไม้ที่ตัดแล้วส่วนหนึ่งล่องแพไปตามแม่น้ำสาละวิน(ไม้จากแม่ฮ่องสอน) ไปออกมะละ
แหม่ง พม่า แต่ไม้ส่วนใหญ่ล่องแพ หรือปล่อยให้ลอยตามแม่น้ำจนถึงปากน้ำโพ จึงเก็บ
มารวมเป็นแพเอาเรือกลไฟลากไปกรุงเทพฯ เพื่อแปรรูปส่งออกนอก และขายในประเทศ
􀀠การสัมปทานไม้ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2416 (ร.5)
􀀠ในปี 2438 มีคนเเอเซียในบังคับอังกฤษได้รับอนุญาตให้ทำไม้ 11,800 คน (5000 คน
อยู่ในเขตลำปางและเชียงใหม่)
ดีบุก
นายทุนฝรั่ง จีน เข้ามาสัมปทานทำเหมืองแร่ดีบุกในภาคใต้ กรรมกรส่วนมากเป็นคนจีน
บางส่วนติดฝิ่นและส่วนมากมีแก๊งอั้งยี่ (ค่าแรงคนจีนเดือนละ 50-67 บาท แต่ต้องทำสัญญาคราวละ3 ปี)
ผู้รับสัมปทานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าประทานบัตรรายละ 200-400 บาท/ปี ค่าเช่าที่ดิน ภูเก็ตไร่ละ 1.5 บาท/ปี ที่อื่น 1 บาท/ปี ค่าภาคหลวง 10-13% ของผลผลิต ดีบุกราคา หาบ(60 กก) ละ 55.61 บาท หรือ กก.ละ 0.93 บาท (ก่อน พ.ศ.2434)ตลาดดีบุกของไทยคือ สิงคโปร์ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ สิงคโปร์ส่วนมากจะส่งไปขายที่อังกฤษ
การค้า
􀀠การค้าที่เพิ่มขึ้นทำให้การสะสมทุนเพิ่มขึ้นกลุ่มที่ต้องการขยายกิจการอุตสาหกรรม,
การค้า, บริการ ก็ต้องการเงินทุนเพื่อขยายกิจการมากขึ้น ทำให้เกิด
􀀠ความต้องการเงินตราสูงขึ้น จนรัฐบาลต้องเปลี่ยนการผลิตเงินจากเงินพดด้วง
มาเป็นเงินเหรียญ และเงินกระดาษ(ธนบัตร)
􀀠ทำให้เกิดธนาคารฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้(2431) ธนาคารซาเตอร์ ธนาคารอินโดจีน
ของฝรั่งเพื่อให้บริการด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา, เป็นแหล่งฝากเงิน, แหล่งให้กู้
เงิน ต่อมาคนไทย(กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย) ก็ได้ตั้งธนาคารคนไทยขึ้นเป็น
ครั้งแรกในปี 2447 ที่ ต.บ้านหม้อ กรุงเทพฯ เรียกว่า บุคคลัภย์ (Book Club)
ด้วยเงินทุน 3 หมื่นบาท มีพนักงาน 18 คน รับฝากเงินดอกเบี้ย 7.5% ให้
สินเชื่อและต่อมาก็รับแลกเปลี่ยนเงินตรา
วิเคราะห์ปัจจัยการผลิตและการขูดรีดผลผลิต
ส่วนเกินช่วง สัญญาบาวริ่ง ถึงสิ้น ร.5 (2398-2453)
1. ที่ดิน เป็นของ King ทั้งประเทศ จน พ.ศ.2404 (ร.4) จึงยอมรับสิทธิในการครอบของราษฎร
เป็นครั้งแรก แต่ที่ดินดี ๆ ยังเป็นของ King เจ้า ขุนนาง เช่น ริมคลองที่ขุดสมัย ร.4- ร.6
ชาวนาภาคกลางถึง 36% ไม่มีที่ดินของตนเอง ต้องเช่านาและถูกขูดรีดค่าเช่าถึงร้อย ละ 33-50
ของผลผลิต
2. แรงงาน ไม่มีอิสระเพราะติดกับระบบไพร่(ปีละ 3 เดือน) และระบบทาส (นายทาสไม่อนุญาติให้
ไปรับจ้าง)
3. ทุน(เงินรวมศูนย์อยู่ที่พระคลังข้างที่ (King)
ชนชั้นปกครองขูดรีดชาวนาโดย
1. เกณฑ์แรงงาน ร.2-5 3 เดือน/ปี
2. ภาษีรัชชูปการ ร.5-7 4 บาท/ปี
3. อากร (ไร่นาสวน ตลาด ฯลฯ)
4. ภาษีสินค้าผ่านด่าน,ภาษีขาเข้าขาออก (ภาษีทางอ้อม)
5. ดอกเบี้ยเงินกู้
6. ค่าเช่าที่ดิน
รวมประมาณ 2 ใน 3 ของผลผลิต
ผล 1. ชาวนามีชีวิตยากจนอยู่ในระดับพอยังชีพ
2. บางทีเกิดภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง ชาวนาต้องอพยพไปหาอาหาร ขุดเผือกมัน ขุยไผ่หรือ ขออาหารจากคนรวย ทำให้ต้องตกเป็นทางประเภท “ทาสที่ช่วยไว้ในเวลากิดทุพภิกภัย” บางทีก็ยืมเงินก็มีโอกาสตกเป็นทาสหรือศูญเสียที่ดินได้
3. รายได้หลักประเภทภาษี
50% มาจากภาษีบ่อนเบี้ย หวย สุรา ยาฝิ่น
10% “ ภาษีขาเข้า
2-7% “ เงินรัชชูปการ
35% “ ภาษีอื่น ๆ เช่น ส่วยสาอากร
4. งบประมาณของรัฐเน้นด้านป้องกันประเทศ(ทหาร)มากกว่าด้านเศรษฐกิจ
ปี(พ.ศ.) ด้านป้องกัน(ประเทศ%) การศึกษา(%) ราชสำนัก(%)
2435 26 2 29
2443 14 4 22
2453 24 2 18
2463 27 3 12
2473 20 7 8
เฉลี่ย 22 4 18
สาเหตุที่ชาวนาไทยไม่ต่อต้านรัฐเหมือนชาวนาจีนและญี่ปุ่น
1. อิทธิพลของคำสอนของพระในพุทธศาสนาว่าความยากจนทุกข์ยากเป็นผลของบาปแต่ปางก่อน
คนรวย คนมีอำนาจเพราะชาติก่อนเขาทำบุญไว้มาก ขณะเดียวกัน King ก็พยายามทำตัวอย่างการ
ทำบุญให้เห็น เช่น สร้างวัด พระ บูรณะวัด ขุนนางก็เอาอย่างเกิดเป็นค่านิยม การสร้างวัดประจำ
ตระกูล การสร้างวัดให้ลูกหลานมีที่วิ่งเล่น บวชเรียน มีความสนับสนุนกันมากระหว่างฝ่ายศาสนา
กับอาณาจักร
2. ชาวนาขาดจิตสำนึกทางการเมือง เพราะไร้การศึกษา (รัฐไม่ส่งเสริมการศึกษา ใครยากเรียนรู้ก็
ต้องช่วยตัวเองไปศึกษาจากวัด ช่างเก่ง ๆ หมอเก่ง ๆ ชาวนาขาดผู้นำ ขาดคนกระตุ้นให้เกิดการ
ปฏิวัติ ชาวนาจึงอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าถูกกดขี่ขูดรีดมาก
3. โครงสร้างของหมู่บ้านเป็นแบบพึ่งตนเอง-พึ่งธรรมชาติซึ่งอุดมสมบูรณ์ในน้ำมีปลาในนามีข้าว
4. ชนชั้นปกครองเริ่มปฏิรูป
• 2417 เริ่มเลิกทาส
• 2429 เริ่มส่งเสริมการศึกษา
• 2448 เลิกระบบไพร่และทาสทั่วประเทศ
ทำให้ความไม่พอใจของชาวนาต่อชนชั้นปกครองลดลง
บทที่ 6
ระบบเศรษฐกิจไทยสมัย ร.6-7 (2453-75)
􀀠เกิดความล้มเหลวในการสร้างพลังการผลิต
1.1 ความล้มเหลวที่จะสร้างผลผลิตให้สูงขึ้นทางการเกษตร สาเหตุ
1) รัฐบาลขาดความเอาใจใส่ด้านชลประทาน การทำนาส่วนใหญ่จึงอาศัยน้ำฝนซึ่งไม่
ค่อยแน่นอน
2) ชาวนาภาคกลาง 36% ไม่มีที่นาเป็นองตนเอง จึงขาดกำลังที่จะปรับปรุงการผลิตให้
ดีขึ้น
3) ค่าเช่านาแพงมาก ราว 1/2 1/3 ของผลผลิต
4) ขาดการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การใส่ปุ๋ย ข้าวพันธุ์ดี เครื่องสูบน้ำ
1.2 การขาดการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม(ของญี่ปุ่น) เขาเริ่มพัฒนาประเทศเสมัยเมจิ
2411-2455 ตรงกับสมัย ร.5 เพียง 40 ปี ญี่ปุ่นก็ทิ้งไทยไม่เห็นฝุ่น กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม
เป็นมหาอำนาจ รบชนะจีนในปี 2437-8 รบชนะรัสเซียในปี 2447-8
สาเหตุ 1) ไทยเก็บอากรขาเข้าต่ำมาก 3% ตามพันธะของสัญญา Bowring ทำให้สินค้าต่าง
ประเทศเข้ามาครองตลาดภายในไว้เกือบหมด
2) ตลาดภายในแคบ คนน้อย (ร.5-6 มีประชากร 8-9 ล้านคน)
3) ขาดแคลนวัตถุดิบ, ทุน, ผู้ประกอบการ(ไทยขาดชนชั้นกลางเพราะว่าขูดรีดภาษีมาก
ส่วนขุนนางก็สุขสบายกับอาชีพข้าราชการอยู่แล้ว เจ้าบางคนหันมาทำธุรกิจ แต่เจ๊ง
เพราะขาดประสบการณ์
4) รัฐบาลไม่ส่งเสริมอุตสาหกรรม (เช่น กรณีฟอกหนัง ถลุงแร่ แร่ดีบุกไม่มีโรงงานถลุง
ต้องส่งทั้งหมดไปถลุงที่สิงคโปร์ ทำให้ขายแร่ได้ในราคาต่ำ
1.3 ความล้มเหลวที่จะสร้างฐานการเงินของรัฐบาลให้มั่นคง สาเหตุ
1) อากรขนอนภายในประเทศสูงมาก ทำให้การค้าไม่เฟื่องฟู อาก รขนอนทำให้สินค้า
ราคาสูง
2) อากรขาเข้าถูกจำกัดจาก Bowring (3%) ทำให้รัฐเพิ่มรายได้จากอากรขาเข้าไม่ได้
3) รัฐบาลใช้จ่ายงบประมาณไม่เหมาะสม โดยมีงบจ่ายด้านเศรษฐกิจสังคมน้อย
􀀠งบป้องกันประเทศ+บริหารภายใน 45%
􀀠ราชสำนัก 10%
􀀠บริหารเมืองหลวง 7%
􀀠พัฒนาเศรษฐกิจสังคม 15%
งบสำนักเปรียบเทียบ (ปี 2468) (%)
งบราชสำนัก งบป้องกันประเทศ
ญี่ปุ่น 0.25 18.7
เดนมาร์ก 0.9 14.9
เนเธอแลนด์ 0.1 11.5
สเปน 0.3 20.6
นอร์เวย์ 0.1 8.5
ไทย 10.7 12.3
1.4 ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคม (Infrastructure) ที่ล้าหลัง
1) โครงการชลประทาน(เขื่อนขัยนาท) ซึ่งถ้าสร้างจะให้ผลตอบแทนสูงถึง 19%/ปี
แต่รัฐบาล(ร.5)ไม่อนุมัติเพราะ (ก) โครงการ ใช้งบสูง (47 ล้านบาท) แต่รัฐมีเงินน้อย
(ข) พวกเจ้า-ขุนนาง ซึ่งมีที่ดินแถบรังสิตคัดค้านเพราะกลัวชาวนาจะเลิกเช่านาของตน แล้วอพยพไป
แถบชัยนาท
2) การรถไฟซึ่งรัฐบาลส่งเสริม แต่มุ่งผลทางการทหาร
- การเมือง ไม่ยอมปรับค่าระวางให้เหมาะสม
3) การสร้างถนนมีน้อยมาก รัฐบาลไม่สร้างเพราะกลัวว่า หากมีถนนมาก คนจะหนี
ไปขึ้นรถ ไม่ขึ้นรถไฟ
4) การศึกษา รัฐมุ่งผลิตข้าราชการ และมีแต่ลูกของชนชั้นปกครอง ผู้มีฐานะดีที่ได้
เรียน งบด้านการศึกษามีน้อยมาก 3-7% สมัย ร.6 ยังเก็บภาษีการศึกษา(ค่า
ศึกษาพลี) คนละ 2 บาทเท่ากันทั้งคนรวย คนจน
􀀠จากระบบเศรษฐกิจที่มีจุดอ่อน 4 ข้อข้างต้นส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาดังนี้
1. ขาดชนชั้นกระฎมดีอิสระ (Middle Class) ซึ่งจะเป็นตัวจักรสำคัญที่จะทำให้เกิดการ
พัฒนาอุตสาหกรรม
2. ระบบเศรษฐกิจไร้สถียรภาพ
ปี 2456 (ร.6) ธนาคารจีน-สยามล้มละลาย ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์เกือบล้มตาม
ทำให้การค้าข้าวหยุดชะงัก(ที่ ธ.ไทยพาณิชย์ไม่ล้มเพราะ ร.6ทรงนำเงินมาอุด)
ปี 2462 เกิดภาวะฝนแล้งทั่วประเทศ ผลผลิตข้าวเหลือ 2 ใน 3 รัฐบาลห้ามส่งข้าวออก
(ไทยขาดดุล 81 ล้านบาท (ปกติไทยเกินดุล 40 ล้านบาท) ทำให้เงินทุนสำรองลดเหลือ 50%
Σ ปี 2472-4 (ร.7) เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก(The Great Depression = ฟองสบู่แตกครั้ง
แรก) ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจการเมืองไทยมากมาย คือ
1) รายได้ชาวนาลดลงมาก ชาวนาเสียที่ดินให้คนรวยมากมาย เพราะต้องกู้เงินคนรวยมาซื้อ
ข้าวกิน เสียดอกเบี้ย 30-36% ต่อปี และไม่อาจหาเงินมาใช้เจ้าหนี้ ดอกเบี้ยทบต้น สูง
จนส่งไม่ไหว ต้องถูกยึดที่ดิน กลายเป็นชาวนารับจ้างหรือต้องเช่านาทำ
2) ฐานะการคลังของรัฐบาลทรุดหนัก เพราะเก็บภาษีได้น้อยลง เนื่องจากรายได้คนทั้ง
ประเทศลดลง
3) รายจ่ายของรัฐบาลสูงกว่ารายรับ 4 ล้านบาท นับเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ต้องกู้เงิน
ต่างประเทศมาใช้จ่าย 9 ล้านบาท
รัฐบาลสมัย ร.7 ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจดังนี้
1) ลดรายจ่าย ด้วยการปลดข้าราชการออกบางส่วน ยุบบางจังหวัด( เช่น จ.กาฬสินธุ์,
จ.หลังสวน, จ.มีนบุรี, จ.สวรรคโลก ฯลฯ) ยุบกระทรวง จาก 12 เหลือ 9
2) ยกเลิกภาษี 3%, เลิกอากรขนอนเพื่อกระตุ้นการค้า
3) ตัดรายจ่ายส่วนพระองค์จาก 9 ล้านบาท เหลือ 3 ล้านบาท/ปี
4) เพิ่มรายได้ของรัฐโดยเพิ่มภาษี (ภาษีที่ดิน ภาษีโรงร้าน ภาษาหลังคาเรือน ภาษี
เงินเดือน เพิ่มภาษีขาเข้า โดยเก็บต่ำสุด 6% สูงสุด 50 % ของราคาสินค้า
􀀠แต่การแก้ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ได้ผลเต็มที่และปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าวนำไปสู่ผลทางการเมืองคือ
5) การปฏิวัติ 2475
บทที่ 8
วิวัฒนาการของรัฐวิสาหกิจสมัยใหม่
􀀠สาเหตุของการก่อตั้งรัฐวิสาหกิจหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
1. คณะราษฎร ต้องการดึงอำนาจเศรษฐกิจจากมือต่างชาติ โดยเฉพาะคนจีน มาอยู่ในมือคน
ไทย
2. เพื่อประโยชน์ในด้านการมั่นคงทางทหาร (ยุทโธปกรณ์ ยุทธปัจจัย)
3. ต้องการสร้างฐานอำนาจเศรษฐกิจของคณะราษฎร
􀀠รัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้น
- ก่อน 2475 : การรถไฟ การไปรษณีย์โทรเลข
- หลัง 2475
2476 กองทัพบกตั้งโรงงานทอผ้า (ผลิตเสื้อผ้าทหาร)
2480 รัฐบาลตั้งโรงงานน้ำตาล (ถึงปี 2491 มีโรงงานน้ำตาลของรัฐ 6 แห่ง เอกชน 15
แห่ง)
2481 รัฐบาลตั้งโรงงานกระดาษ โอนโรงสี 10 โรงจากคนจีนมาเป็นของรัฐบาล
2484 ระหว่าง W.W.II โอนโรงงานยาสูบของอเมริกันและการทำไม้ เหมืองแร่ ธนาคารของ
ฝรั่ง เป็นของรัฐ
2496 ตั้งรัฐวิสาหกิจ 19 แห่ง เช่น ร.ส.พ. อ.อ.ป (องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) องค์การ
สวนยางฯลน
2500 รัฐตั้งโรงงานกระสอบป่าน โรงไม้อัด โรงงานเครื่องเขียน โรงงานผลิตยา โรงงาน
ปูนซีเมนต์ โรงกลั่นน้ำมันบางจาก โรงเบียร์ ปี 2500 มีรัฐวิสาหกิจรวมกัน 120 แห่ง
2501 รัฐบาลสฤษดิ์ตั้ง IFCT (บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม): ตั้ง BOI (คณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุน (Board of Invesment)
􀀠ปรากฏว่ารัฐวิสาหกิจส่วนมากประสบการขาดทุน
􀀠สาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐวิสาหกิจขาดทุน
1. ผู้บริหารเป็นจำนวนมากของรัฐวิสาหกิจมาจากทหาร ข้าราชการเกษียรที่ขาดความรู้ใน
ด้านการบริหารองค์การ บริหารบุคคล/การเงิน/การตลาด ผู้บริหารเหล่านี้ได้เป็น
ผู้บริหารเพราะผู้มีอำนาจต้องการตอบแทนที่คนเหล่านี้ หนุนฝ่ายรัฐบาล
2. ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจทำงานแบบราชการ ขาดจิตสำนึกที่จะสร้างองค์การให้
มั่นคงแบบบริษัทเอกชน ถึงแม้รัฐวิสาหกิจขาดทุนก็ไม่ตกงาน มีเงินอุตหนุนจากรัฐบาล
มีเครดิตของรัฐบาลสนับสนุนให้กิจการอยู่ได้
3. ผู้บริหารคอรัปชั่น ตั้งแต่ซื้อที่ดิน ซื้อวัตถุดิบ ซื้อเครื่องจักร ซื้ออะหลั่ยแพงกว่าความเป็น
จริงมาก บางที่ก็ซื้อจากญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง
4. เงินเดือน สวัสดิการ ของพนักงานสูงเกินไป
5. จำนวนพนักงานมีมากเกินไป
􀀠ข้อเสียจากการตั้งรัฐวิสาหกิจ
1. ทำให้เงินของชาติที่เอามาลงทุนในรัฐวิสาหกิจเสียหาย เพราะบริหารขาดทุนหรือคอรัปชั่น
2. เกิดการคอรัปฃั่นในบรรดาผู้บริการรัฐวิสาหกิจนำไปสู่ค่านิยมที่ผิด ๆ คือ บูชาเงินตรา/
อำนาจมากกว่าคุณธรรมและยังเกิด”ระบบเส้นสาย” เอาลูกหลานญาติพี่น้องของผู้บริหาร
เข้ามาทำงานโดยไม่ผ่านการคัดเลือกแบบโปร่งใส
3. เกิดความไม่เป็นธรรมทางธุรกิจและราชการเพราะ
- ระบบผูกขาดการประมูลในองค์การของรัฐที่ให้บริการการผลิต ซึ่งมีระเบียบ
กระทรวงการคลังให้หน่วยงานของรัฐต้องใช้บริการของรัฐวิสาหกิจก่อนเช่น น้ำมันสาม
ทหาร โรงงานกระดาษบางปะอิน อ.อ.ป. ร.ส.พ.
- ระบบให้บริการหรือจำหน่วยแบบผูกขาดของรัฐวิสาหกิจ เช่น การรถไฟ, การบินไทย,
การท่าเรือ, ข.ส.ม.ท., โรงงานสุรา, องค์การโทรศัพท์, การประปา, การไฟฟ้า
4. การบริการของรัฐวิสาหกิจไม่ดี เพราะขาดคู่แข่งประชาชนถูกมัดมือชก ไม่มีทางเลือก เช่น
การไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ บริการช้า แพง ไม่สุภาพ
(การบริการขาดคุณภาพ = ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ)
บทที่ 8
เศรษฐกิจไทย สมัยปัจจุบัน (2503-2541)
จอมพลสฤษดิ์ปฏิวัติใน พ.ศ. 2501 ได้เปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจแบบชาตินิยมของ จอม
พลป. พิบูลสงคราม มาเป็นเสรีนิยมมากขึ้น ส่งเสริมเอกชนและต่างชาติให้มาลงทุน ยกเลิกกม.
จำกัดที่ดินคนละไม่เกิน 50 ไร่ สมัยจอมพลป. ตั้ง IFCT (บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรม), ตั้ง BOI
เลิกการขยายตัวของรัฐวิสาหกิจ
• สรุปสภาพเศรษฐกิจในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา
1. โครงสร้างสินค้าออก
1.1 มีน้อยชนิด และในช่วงแรกค่อนข้างผูกขาด
สินค้า มูลค่า(ล้านบาท) %ของExp. จ.น.ของ %มูลค่า
BIG ของ BIG
ข้าว 15,479 14.48 10 50.84
ยาง 12,340 11.54 2 55.26
ดีบุก 9,256 8.66 1 100
ข้าวโพด 5,641 5.23 15 44
มันสำปะหลัง 9,870 9.23 15 66.16
น้ำตาลดิบ 4,786 4.48 2 100
(สถิติ : 2524) Big คือผู้ส่งออกรายใหญ่

1.2 ในระยะหลัง สินค้ามากชนิดขึ้น มูลค่าของสินค้าเกษตรลดลง สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
การผูกขาดการส่งออกค่อย ๆ ลดลง
สินค้าออก 10 อันดับแรกไทย ปี 2530
1. สิ่งทอ
2. ข้าว
3. มันสัมปะหลัง
4. ยางพารา
5. แผงวงจร
6. อัญมณี
7. น้ำตาล
8. กุ้ง
9. ข้าวโพด
10. ดีบุก
สินค้าออก 6 อันดับแรก ปี 2534
1. สิ่งทอ
2. อัญมณี+เครื่องประดับ
3. แผงวงจร+Computer
4. ข้าว
5. เครื่องกระป๋อง(เฉพาะปลากระป๋อง)
6. กุ้งแช่แข็ง
สินค้า 10 อันดังแรกของไทย ปี 2536 (ส่งออก)
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป
2. คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
3. อัญมณี
4. กุ้ง
5. ข้าว
6. รองเท้า
7. ยางพารา
8. แผงวงจร
9. อาหารทะเลกระป๋อง
10. เครื่องรับวิทยุ
จะเห็นว่าข้าวซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญที่สุด หลังสัญญาบาวริ่ง ตกจากอันดับ 2 เป็นอันดับ 5
ภายใน 6 ปี สินค้าเกษตรถูกสินค้าอุตสาหกรรมแซงหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ
2. โครงสร้างสินค้าเข้า
ก่อนปี 2503 ไทยซื้อสินค้าสำเร็จรูปมูลค่าสูงมาก หลัง 2503 ไทยผลิตสินค้าทดแทนการ
นำเข้าได้มากโดยเฉพาะสิ่งทอ อีเล็กโทรนิกส์ แต่สินค้าจำพวกเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ ยารักษาโรค ยัง
นำเข้าสูงมาก ทำให้ไทยขาดดุลการค้าสูงมาก
ปี 2524 ขาดดุล 63,745 ล้านบาท
ปี 2526 ขาดดุล 90,137 ล้านบาท
ปี 2528 ขาดดุล 257,803 ล้านบาท
ปี 2535 ขาดดุล 300,000 ล้านบาท
ปี 2538 ขาดดุล 300,000 ล้านบาท
เปรียบเทียบราคาข้าว 1 ตัน (บาท)
ปี ราคาที่ชาวนาได้รับ ราคาขายส่ง ราคาส่งออก
2513 1,004 1,905 2,366
(ผลต่าง) (1,362) (901) (461)
2518 3,164 3,723 6,152
(ผลต่าง) (2,988) (559) (2,429)
2523 3,587 5,671 6,968
(ผลต่าง) (3,381) (2,081) (1,297)
4. อุตสาหกรรม
• ขยายตัวมากขึ้น แต่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีต่างชาติและต้องนำเครื่องจักรเข้า ก่อให้เกิดปัญหา
ว่างงานทั้งภาคเกษตรและอุตสากรรม
• มีการนำน้ำมันเข้ามหาศาล (ปี 2527 ใช้น้ำมัน 1 แสนบาเรล/วัน ปี 2537 6 แสนบาเรล/วัน) ทำ
ให้ไทยขาดดุลการค้าและดุลชำระเงินยิ่งขึ้น เพราะต้องนำน้ำมันเข้าถึง 60%
5. การค้า & การเงิน
• เศรษฐกิจทุกอย่างขึ้นอยู่กับการเงินและการค้าโดยมีธนาคารใหญ่ 5 แห่ง ของคนไม่กี่ตระกูล
สามารถควบคุมทรัพย์สินของธนาคารทั่วประเทศ ถึง 2 ใน 3
พ.ศ. เงินฝาก 15 Bank เงินฝาก 5 Bank ใหญ่ % %GNP
2522 165,000 100,000 60 25
2531 923,749 680,416 73 -
2540 3,982,408.9 3,063,073.4 76.9 -
ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ทศวรรษ
1. ชาวนาเป็นหนี้มากขึ้น
- 2503 ชาวนาเป็นหนี้ 2,320 ล้านบาท
- 2522 ชาวนาเป็นหนี้ 39,197 ล้านบาท
- 2506 ชาวนา 31% มีหนี้
- 2528 ชาวนา 65.6% มีหนี้
- 2544 ชาวนา 70.8% มีหนี้

2. ชาวนาเสียที่ดินมากขึ้น ชาวนาภาคกลางกลายเป็นผู้เช่านาถึง 41.3% ภาคเหนือ 26.8% ชาว
นาชานเมืองจะสูญเสียที่ดินเร็วกว่าชาวนาไกลเมือง (เช่น ชานเมืองขอนแก่น เหลือที่ดินเป็นของคนใน
ชุมชน 33% โคราช 46.7% อุดร 51.3%)
3. ชาวนาต้องกันเข้าเมืองไปทำงาน ภาคอุตสาหกรรมพาณิชย์ บริการมากขึ้น
อาชีพของคนในเขตชานเมืองหลัก
อาชีพ ขอนแก่น โคราช อุดร เฉลี่ย
เกษตรกรรม 2.17 11.46 4.55 5.16
นอกเกษตร 61.96 55.21 71.59 62.50
ผสม(%) 35.87 33.33 23.86 32.34

ตาราง 1
การเปลี่ยนแปลงในช่วง 10 ปี (23-33) กรณี จ.อยุธยา
จำนวน 2523 2533
1. ประชากรทั้งจังหวัด 602,021 700,649
2. ประชากรเขตเทศบาล 57,765 74,406
(9.6%) (10.6%)
3. ประชาการ อ. เมือง 99,623 121,927
(16.5%) (17.4%)
4. ประชากรเขตเทศบาลอ. เมือง 47,189 60,909
(47.4%) (50%)
5. ประชากรอื่นที่ย้ายเข้าจังหวัด 19,248 21,764
ภายใน 5 ปี
6. ประชากรของจังหวัดที่ย้าย กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร
เข้าอยุธยามากที่สุด (3,921 คน) (4,073 คน)
7. จำนวนเกษตรกร (%) 53.8 39.0
8. ช่าง - กรรมกร 25.0 37.0
9. ผู้ทำการค้า 9.9 10.0
10. ผู้ใช้วิชาชีพ - วิชาการ 3.4 4.2
4. พื้นที่ทำนาภาคกลางลดลง เกษตรกรหันไปปลูกพืชไร่ (อ้อย) มากขึ้น แต่ในภาคอื่นพื้นที่นาและ
พืชไร่ เพิ่มมากขึ้น (ดูตาราง 2,3,)
ตาราง 2
พื้นที่เพาะปลูกข้าวภาคต่าง ๆ จากปี 2496-2534
ภาค ปีเพาะปลูก
2495/5 2504/5 2524/5 2534/5
กลาง 17.2 17.6 11.7 10.2
อีสาน 14.8 15.4 28.0 29.2
เหนือ 2.3 2.6 12.7 12.2
ใต้ 2.9 3.0 4.1 3.0
รวม 37.2 38.6 56.5 55.2
(หน่วย : ล้านไร่)

ตาราง 3
พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี จ.พระนครศรีอยุธยา
ปีที่เพาะปลูก พื้นที่ (ไร่)
2518/19 1,214,483
2524/25 1,068,308
2534/35 862,508
5. เกิดการบุกรุกทำลายป่ามากขึ้นอย่างรวดเร็ว (เพราะว่า ประชากรเพิ่ม, ผลผลิตต่อไร่ต่ำ, ราคา
ผลผลิตต่ำ) (ดูตาราง 4 และ 5)
ตาราง4
ป่าไม้ภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย 2495 - 2534
ภาค พ.ศ. 2495 พ.ศ. 2534 ลดลง
ล้านไร่ % ล้านไร่ % ล้านไร่ ล้านไร่/ปี
อีสาน 64.1 60.3 13.6 12.9 50.5 1.30
เหนือ 69.1 61.9 48.2 45.5 20.9 0.54
กลาง 33.6 51.7 15.2 23.4 18.4 0.47
ใต้ 23.6 54.1 8.4 19.0 15.2 0.39
รวม 184.7 58.3 85.4 26.6 99.3 2.55
ตารางที่ 5
พื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน ปี 2534
จังหวัด พื้นที่ป้าไม้ %
นครพนม 371,562 10.8
สกลนคร 898,125 15.0
อุดรธานี 1,372,343 14.1
เลย 1,834,823 25.7
มุกดาหาร 845,468 31.2
ยโสธร 243,750 9.4
อุบลราชธานี 2,292,656 19.4
กาฬสินธุ์ 374,062 8.6
ขอนแก่น 527,343 7.8
มหาสารคาม 23,906 0.7
ร้อยเอ็ด 121,875 2.3
บุรีรัมย์ 335,000 5.2
ศรีสะเกษ 466,562 8.4
สุรินทร์ 187,343 3.7
ชัยภูมิ 1,959,218 24.5
นครราชสีมา 1,462,656 11.4
หนองคาย 307,500 6.7

6. ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนห่างยิ่งขึ้น (ดูตาราง 6)
เปรียบเทียบส่วนแบ่งรายได้ของคนกลุ่มต่างๆ ใน 3 ประเทศ
ส่วนแบ่งรายได้ของคนไทย ไต้หวัน เกาหลีใต้
กลุ่ม 1976 1981 1986 1986 1986
20% กลุ่ม
รายได้สูง 49.26 51.47 55.63 38.2 42.3
60% กลุ่ม
รายได้ปานกลาง 44.69 43.12 39.82 53.8 38.8
20% กลุ่ม
รายได้ต่ำ 6.05 5.41 4.55 8.0 18.9
รวม 100 100 100 100 100
มา:วรวิทย์ เจริญเลิศ:Journal of Population and Social Science v.3 Noi-2 July91-Jang 92p.63
จากตารางที่ 6 จะเห็นว่าในประเทศไทย ช่องว่างทางรายได้ของคนรวยกับคนจน แตกต่าง
กันมากใน ปี 1976 คนรวย หรือ คน 20% แรกมีรายได้ถึงร้อยละ 49.26 ของรายได้ของคนไทยทั้ง
ประเทศ ในขณะที่คนจน หรือ คน 20% ล่าง มีรายได้เพียงร้อยละ 6.05 พอปี 1986 ช่องว่างนี้
ห่างออกไปอีก เพราะคนรวยกลับมีรายได้เพิ่ม จากร้อยละ 49.26 เป็นร้อยละ 55.63 ในขณะที่
กลุ่มคนจนรายได้ลดลง เหลือเพียงร้อยละ 4.55 กลุ่มปานกลางรายได้ก็ลดลงจากร้อยละ 44.69
เหลือ 39.82 ซึ่งในประเทศไต้หวันและเกาหลีใต้ ควาามแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจนไม่มากเท่า
ประเทศไทย
7. เครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันมีมากขึ้น (ดูตาราง 7)
ตารางที่ 7 ลักษณะมาตราฐานความเป็นอยู่ของชาวชนบทอีสาน
ลักษณะมาตราฐาน
ความเป็นอยู่ชาวชนบทอีสาน ปี 2527 ปี 2536 ปี 2543
มีพัดลม 7-52 80.4 88.1
วิทยุ 3.7-31. 6 70.4 56.9
T.V 7.4-20.7 74.2 84.9
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 0-17.4 64.6 74.3
ตู้เย็น 0 37.6 53.4
(หน่วย : ร้อยละ ของครัวเรือนทั้งหมดในภาคอีสาน)

8. ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากขึ้น
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากขึ้นเพราะ
1) การขยายตัวของโรงงานอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากความเข้มงวดในเรื่องการจำกัดของ
เสียจากโรงงาน ทำให้โรงงานปล่อยของเสีย เช่น น้ำเสีย จากโรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษในจังหวัด
ขอนแก่น ทำให้น้ำพองเน่าอยู่เสมอ อากาศเสียจากโรงโม่หิน โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานผลิตสารเคมี
(เช่น ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด) หรือแม้กระทั่งโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย ถ่านหินลิกไนต์ ที่
แม่เมาะ จังหวัดลำปาง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐก็ยังปล่อยก๊าชซัลเฟอร์ได
ออกไซด์ ทำให้คนและสัตว์ ใกล้โรงงานไฟฟ้าดังกล่าวเดือดร้อนเป็นอันมาก จนเกิดการต่อต้าน และ
การวิพากษ์วิจารณ์ กันมากในที่สุด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตทนไม่ได้ต้องสร้างเครื่องจำกัดก๊าชดังกล่าว
ตารางที่ 8 จำนวนโรงงานในภาคอีสานในช่วงปี 2522-33
พ.ศ. 2522 2525 2528 2530 2533
จำนวนโรงงาน 10,731 17,394 24,987 30,199 40,440
(รวมโรงสีข้าว)
ที่มา : ศูนย์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของ ยานยนต์ ก็ทำให้ อากาศเสีย เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว27
ตารางที่ 9 จำนวนรถยนต์ และจักรยานยนต์ในประเทศไทย
พ.ศ. 2496 2500 2513 2525 2536
จำนวนยานยนต์ 19,151 24,008 692,741 2,288,436 11,101,758
รถยนต์ 14,960 10,046 359,033 865,465 3,841,093
รถจักรยานยนต์ 4,191 13,962 333,708 1,422,971 7,260,665
ที่มา : สุวิทย์ ธีรศาศวัต และ ช่อ วายุพักตร์ บทบาทของยานยนต์ญี่ปุ่นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคมอีสาน 1995 หน้า 31 สถิติรายปีของประเทศไทย บรรพ23 2499-2501 หน้า 418, บรรพ31 2517-18 หน้า 288
9. เศรษฐกิจนอกระบบ (ธุรกิจผิดกม.) เติบโตอย่างรวดเร็ว (ดูตาราง 10)
ตาราง 10 ธุรกิจนอกกฏหมาย 1993-1995
มูลค่าธุรกิจนอกก.ม. รวม 6-8 แสนล้านบาท= 14-19% GDP% (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติปี 1995)
มี 5 สาขา
1. ธุรกิจการค้าผู้หญิง 450,000-540,000 ล้านบาท/ปี
2. การพนัน (หวยใต้ดิน บ่อนการพนัน พนันฟุตบอล) 140,000-260,000 ล้านบาท/ปี
3. การค้ายาเสพติด 29,00-32,000 ล้านบาท/ปี
4. การค้าน้ำมันเถื่อน การค้าผู้หญิงไปญี่ปุ่น การค้าแรงงานพม่า 8,500 ล้านบาท/ปี
5. การค้าอาวุธเถื่อน 6,000-30,000 ล้านบาท/ปี
(ที่มา : ไทยรัฐ 4 ธันวาคม 2539 อ้าง ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
(มูลค่าธุรกิจค้าปลีก/ส่ง ปี 38=676,000 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่ามูลค่าธุรกิจนอกกฏหมายเสียอีก)__
หนี้ต่างประเทศของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (มติชน 17 พ.ย. 40)
ล้านบาท
หนี้ต่างประเทศที่ไม่ได้ประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 409,350
หนี้ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนฯ 923,630
หนี้ทั้งหมดที่กู้จากต่างประเทศ (ทั้งรัฐ+เอกชน) 90,000 ล้าน$
ทุก 1 บาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ $ ทำให้หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น 90,000 บาท
ทุก 55 บาท= 1 $ หนี้ต่างประเทศของไทยจะเพิ่มขึ้น 30 บ./1 $ 2,700,000 ล้านบาท
รวมเงินต้นทุนที่กู้มา 90,000 ล้าน$ (25บ./1$) 2,250,000 ล้านบาท
รวมหนี้ที่ต้องชำระ (เฉพาะเงินต้น) 4,950,000 ล้านบาท
(หากคิดดอกเบี้ยต่ำที่สุด 5% จะเป็นดอกปีละ 247,500 ล้านบาท)
วิธีการแก้ไขวิกฤตการณ์เศรษฐกิจไทย
1. ปัญหาหนี้ต่างประเทศ
• ต้องเจรจากับเจ้าหนี้ให้ยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป เพื่อลูกหนี้จะได้มีเวลาผ่อนชำระ
2. ปัญหาค่าเงินบาทตกต่ำ
• กู้ IMF + อาหรับ + World Bank มาเป็นทุนสำรอง
• รัฐบาลออกพันธบัตรซื้อทองจากประชาชนมาเป็นทุนสำรอง
3. สถาบันการเงินขาดสภาพคล่อง
• กู้อาหรับ + World Bank + Bank ชั้นนำของโลก
• ต้องยอมให้ Bank ชั้นนำเข้ามาถือหุ้น Bank ไทย อย่างต่ำ 10 ปี
4. ปัญหาคนตกงาน
• รัฐบาลต้องกู้เงินจาก World Bank /Bank ชั้นนำมาปล่อยเพื่อสร้างงานในชนบท เช่น ทำ
อุตสาหกรรมเกษตร เกษตรผสมผสาน ธุรกิจชุมชน หัตถกรรม
• ส่งเสริมการท่องเที่ยว, (มีมาตราการเรื่องความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว) information, การซื้อ
ขายสินค้า/บริการที่เป็นธรรม
• ธุรกินเอกชนต้องยอมให้ต่างชาติมาถือหุ้นมากขึ้น เพื่อจะได้มีทุนหมุนเวียน
• คนไทยต้องประหยัด งดฟุ่มเฟือย
5. การพัฒนาประเทศ ควรเลิกเอาเงินหรือกำไรเป็นตัวตั้งหรือเกณฑ์วัดความเจริญ แต่ควรเอา GDH
= GROSS DOMESTIC HAPPINESS เป็นเกณฑ์ GDH ควรประกอบด้วย
1) การมีความเอื้ออาทรต่อกัน
2) การมีครอบครัวอบอุ่น
3) การมีชุมชนเข้มแข็ง
4) การมีวัฒนธรรม
5) การทีสิ่งแวดล้อมที่ดี
6) การมีอยู่เศรษฐกิจพอเพียง
(ศ. นพ. ประเวศ วะสี มติชน GDH สำคัญกว่า GDP 14 ม.ค. 41)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น